ทักษะการบริหารในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารคณะพยาบาลศาสตร์สังกัดสถาบันอุดมศึกษาเอกชนในประเทศไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบทักษะการบริหารในศตวรรษที่ 21 2) ทดสอบความสอดคล้องขององค์ประกอบ และ 3) เพื่อยืนยันความถูกต้อง เหมาะสม เป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ขององค์ประกอบทักษะการบริหารในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารคณะพยาบาลศาสตร์สังกัดสถาบันอุดมศึกษาเอกชนในประเทศไทย เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยมี 3 กลุ่ม ได้แก่ 1) กลุ่มผู้เชี่ยวชาญจากการระบุคุณสมบัติเพื่อให้ข้อมูลเชิงคุณภาพเลือก ด้วยแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง 2) กลุ่มผู้ให้ข้อมูลเชิงปริมาณเพื่อศึกษาองค์ประกอบทักษะการบริหารในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารคณะพยาบาลศาสตร์ เป็นผู้ที่ปฏิบัติงานในคณะพยาบาลศาสตร์ สังกัดสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย 22 สถาบัน จำนวน 500 คน ใช้วิธีการสุ่มแบบชั้นภูมิ และ 3) ผู้ทรงคุณวุฒิจากการระบุคุณสมบัติเพื่อยืนยันองค์ประกอบทักษะผู้บริหารในศตวรรษที่ 21 ของคณะพยาบาลศาสตร์สังกัดสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทยว่า มีความความถูกต้อง ความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ จำนวน 7 คนในการประเมินอิงผู้เชี่ยวชาญ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเป็นสถิติพรรณนาและสถิติการวิเคราะห์องค์ประกอบ เครื่องมือการวิจัยเป็นแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง แบบสอบถามแบบประเมินค่า 5 ระดับ และ แบบตรวจสอบรายการ เพื่อยืนยันองค์ประกอบ ผลการวิจัย พบว่า 1) องค์ประกอบทักษะการบริหารในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารคณะพยาบาลศาสตร์สังกัดสถาบันอุดมศึกษาเอกชนในประเทศไทยมี 4 องค์ประกอบหลัก ได้แก่ (1) ทักษะด้านวิชาการ (2) ทักษะด้านนวัตกรรม (3) ทักษะอารมณ์และสังคม และ (4) ทักษะด้านเทคโนโลยีดิจิทัล 2) ผลการทดสอบความสอดคล้องขององค์ประกอบทักษะการบริหารในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารคณะพยาบาลศาสตร์สังกัดสถาบันอุดมศึกษาเอกชนในประเทศไทย พบว่า มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ดี และ 3) ผลจากการประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญ พบว่า องค์ประกอบทักษะการบริหารในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารคณะพยาบาลศาสตร์สังกัดสถาบันอุดมศึกษาเอกชนในประเทศไทยมีความความถูกต้อง เป็นประโยชน์ ความเป็นไปได้ และความเหมาะสมในระดับดีถึงดีมาก
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงพิมพ์กับวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นข้อคิดเห็น และความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิจยวิชาการ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่ง ส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อการกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวิจยวิชาการก่อนเท่านั้น
References
กมลรัตน์ เทอร์เนอร์, ดวงเนตร ธรรมกุล, มาสริน ศุกลปักษ์และรัชนี ศุจิจันทรรัตน์. (2559). คุณภาพชีวิตการทำงานและปัจจัยที่เกี่ยวข้องของอาจารย์พยาบาลเครือข่ายภาคกลาง 1 สถาบันพระบรมราชชนก. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข, 25(3), 184-198.
กรรณิการ์ เรดมอนด์. (2559). ตัวบ่งชี้ทักษะภาวะผู้นำในศตวรรษที่ 21 สำหรับผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. (ดุษฎีนิพนธ์ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.). (2562). นโยบายและยุทธศาสตร์การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2563-2570. เข้าถึงได้จากhttps: //www.mhesi.go.th/index.php/ stg-policy/930-2563-2570.html
กฤษดา แสวงดี. (2550). สถานการณ์การทำงานของพยาบาลวิชาชีพในประเทศไทยในสิ่งแวดล้อม. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข, 2(1), 40-46.
คนึงนิตย์ กิจวิธี. (2561). การศึกษาคุณลักษณะของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.
ชวนคิด มะเสนะ. (2559) การพัฒนาทรัพยากรบุคคลทางการศึกษาในทศวรรษหน้า. วารสารบริหารการศึกษาบัวบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, 16(1), 14-28.
ณรงค์ อยู่ถนอม. (2554). “นโยบายการบริหารงานด้านการสนับสนุนการศึกษา” หลักการบริหารสถาบันอุดมศึกษา. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
บัลลังก์ โรหิตเสถียร. (2560) แถลงสรุปผลงานเตรียมขับเคลื่อนตามแผนยุทธศาสตร์การศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้ 20 ปี. เข้าถึงได้จาก http://www.moe.go.th/websm
ปริศนา ใจบุญ และคณะ. (2554). การออกจากวิชาชีพการพยาบาล. ศรีนครินทรเวชสาร, 26(3), 12-20.
ปิญากรณ์ ชุตังกร และสุจิตรา เหลืองอมรเลิศ. (2556). การสำรวจสถานการณ์ผู้นำทางการพยาบาลแห่งชาติ. วารสารสภาการพยาบาล, 28 (1), 5-18.
พูลพงศ์ สุขสว่าง. (2556). โมเดลสมการโครงสร้าง. กรุงเทพฯ: วัฒนาพานิช.
แพรวดาว สนองผัน. (2557). ทักษะของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 3. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 37(4), 42-50.
วิจิตร ศรีสุพรรณ. (2555). ข้อเสนอเชิงนโยบายในการแก้ปัญหาการขาดแคลนพยาบาลวิชาชีพในประเทศไทย.วารสารสภาการพยาบาล, 27(1), 5-12.
สภาการพยาบาล. (2553). พระราชบัญญัติวิชาชีพการพยาบาลและผดุงครรภ์ พ.ศ. 2528 และแก้ไขเพิ่มเติม. กรุงเทพฯ: ศิริยอดการพิมพ์.
สมศรี เณรจาที. (2560). รูปแบบการบริหารสถานศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนให้มีคุณลักษณะพึงประสงค์ในศตวรรษที่ 21. วารสารบริหารการศึกษา มศว, 14(27), 10-20.
สมหวัง ว่องไวไพศาล. (2558). การบริหารโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานครในศตวรรษที่ 21. (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ และสำนักงาน คณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม.(2563). อุดมศึกษาไทยกับการพัฒนาผลงานวิจัยและนวัตกรรม. เข้าถึงได้จาก https://www.nxpo.or.th
Carol A Wong, Greta G Cummings, Lisa Ducharme. (2007). The relationship between nursing leadership and patient outcome: a systematic review. The Journal of Nursing Management, 21(5), 709-724.
Comrey, AL., & Lee, HB. (1992). A first course in factor analysis. (2nd ed.). Hillsdale: Lawrence Erlbaum Associates.
Diamantopoulos, A. and Siguaw, D. (2006). Formative Versus Reflective Indicators in Organizational Measure Development: A Comparison and Empirical Illustration. British Journal of Management, 17(4), 263-282.
Kaplan, D. (2000). Structural Equation model: foundation and extensions. London: Sage Publication.
Kim, J. Y. & Mueller, C. W. (1978). Introduction to factor analysis what it is and how to do it. United states of America: Sage Publication Inc.
Tabachnick, B.G. and Fidell, L.S. (2001). Using Multivariate Statistics. (4th Edition). Boston: Allyn and Bacon.
Wong, C, Cummings, G.G. and Ducharme, L. (2007). The relationship between nursing leadership and patient outcome: a systematic review. J Nurse Manage; 15: 508-21.