การพัฒนาและการตรวจสอบคุณภาพของมาตรวัดบุคลิกภาพในการทำงานของพนักงานใหม่
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและตรวจสอบคุณภาพของมาตรวัดบุคลิกภาพในการทำงานของพนักงานใหม่ ผู้วิจัยพัฒนามาตรวัดบุคลิกภาพในการทำงานของพนักงานด้วยการสร้างข้อคำถาม 28 ข้อจากนิยามของบุคลิกภาพในการทำงานตามโมเดลการปรับตัวในการทำงานของ David B. Hershenson ซึ่งประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ ได้แก่ อัตมโนทัศน์แห่งตนในฐานะคนทำงาน แรงจูงใจในการทำงาน และจริยธรรมในการทำงาน ผลการวิจัย พบว่า ผลการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหา โดยผู้เชี่ยวชาญ 5 ท่าน ของข้อคำถาม 28 ข้อด้วยการวิเคราะห์ค่าดัชนี IOC พบว่าข้อคำถามผ่านเกณฑ์ค่าดัชนี IOC จำนวน 28 ข้อ (ค่า IOC ระหว่าง .80 ถึง 1) ผลการวิเคราะห์ค่า CITC พบว่า ข้อคำถามองค์ประกอบอัตมโนทัศน์แห่งตนในฐานะคนทำงาน ผ่านการคัดเลือก 5 ข้อจาก 8 ข้อ (ค่า CITC ระหว่าง .470-.683) ข้อคำถามองค์ประกอบแรงจูงใจในการทำงาน ผ่านการคัดเลือก 7 ข้อจาก 9 ข้อ (ค่า CITC ระหว่าง .759 - .847) และข้อคำถามองค์ประกอบจริยธรรมในการทำงานผ่านการคัดเลือก 6 ข้อจาก 11 ข้อ (ค่า CITC ระหว่าง .40 - .60) ผลการวิเคราะห์ความเที่ยง พบว่า องค์ประกอบอัตมโนทัศน์ในการทำงาน แรงจูงใจในการทำงาน และจริยธรรมในการทำงาน มีค่าแอลฟาเท่ากับ .83, .94 และ .80 ตามลำดับ และพบว่าโมเดลการวัดบุคลิกภาพในการทำงานสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (c2= .09, df = 1, p = .76816) มีค่า RMSEA เท่ากับ .000 ค่า CFI เท่ากับ 1.00 ค่า GFI เท่ากับ 1.00 และค่า SRMR เท่ากับ .025
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงพิมพ์กับวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นข้อคิดเห็น และความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิจยวิชาการ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่ง ส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อการกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวิจยวิชาการก่อนเท่านั้น
References
ประสพชัย พสุนนท์. (2558). ความเที่ยงตรงของแบบสอบถามสำหรับงานวิจัยทางสังคม ศาสตร์. วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 10(มกราคม-ธันวาคม), 375-396.
รุ่งโรจน์ สงสระบุญ. (2561). แบบจำลองสมการโครงสร้างเพื่อการทำนาย. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร, 38(1), 185-205.
สุภมาส อังศุโชติ และคณะ. (2554). สถิติวิเคราะห์สำหรับการวิจัยทางสังคมศาสตร์และพฤติกรรมศาสตร์: เทคนิคการใช้โปรแกรม LISREL. กรุงเทพฯ: เจริญดีมั่นคงการพิมพ์.
Hershenson, D. B. (1996). Work adjustment: A neglected area in career counseling. Journal of Counseling & Development, 74(5), 442-446.
Ladhari, R. (2010). Developing e-service quality scales: A literature review. Journal of Retailing and Consumer Services, 17(6), 464-477.
Smith, L. D. (2005). A clarification and examination of aspects of Hershenson's theory of work adjustment with college students. Memphis: The University of Memphis.
Strauser, D. R. et al, C. (2020). Work Personality, Core Self-evaluation and Perceived Career Barriers in Young Adult Central Nervous System Cancer Survivors. J Occup Rehabil, 31(1), 119-128.
Strauser, D. R., and Keim, J. (2002). Developmental Work Personality Scale:An Initial Analysis. Rehabilitation Counseling Bulletin, 45(2), 105-113.