การพัฒนาทักษะการอ่านคำพื้นฐานภาษาไทย โดยใช้บทเรียนการ์ตูนร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD สำหรับนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4

Main Article Content

จุฑามาศ ศรีใจ
อ้อมธจิต แป้นศรี

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาประสิทธิภาพของบทเรียนการ์ตูนร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD 2) เปรียบเทียบทักษะการอ่านคำพื้นฐานภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้บทเรียนการ์ตูนร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่มีต่อการใช้บทเรียนการ์ตูนร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD เป็นการวิจัยเชิงทดลองแบบ One-Group Pretest-posttest Design กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนชั้นประถมปีที่ 4 โรงเรียนบ้านเปา อำเภอนาน้อย จังหวัดน่าน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาน่าน เขต 1 จำนวน 15 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) บทเรียนการ์ตูน 2) แผนการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย 3) แบบทดสอบทักษะการอ่านคำพื้นฐานภาษาไทย 4) แบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์หาค่าประสิทธิภาพของกระบวนการ (E1) และประสิทธิภาพผลลัพธ์ (E2) และการทดสอบค่าที ที่ไม่เป็นอิสระต่อกัน ผลการวิจัย พบว่า 1) ประสิทธิภาพของบทเรียนการ์ตูนร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านคำพื้นฐานภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีประสิทธิภาพ 89.33/92.38 สูงกว่าเกณฑ์ 80/80 2) ทักษะการอ่านคำพื้นฐานภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 หลังการจัดการเรียนรู้สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่มีต่อการใช้บทเรียนการ์ตูนร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD มีค่าเฉลี่ย 4.64 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.50 มีค่าความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

How to Cite
ศรีใจ จ., & แป้นศรี อ. . (2021). การพัฒนาทักษะการอ่านคำพื้นฐานภาษาไทย โดยใช้บทเรียนการ์ตูนร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD สำหรับนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. วารสารวิจยวิชาการ, 5(1), 243–256. https://doi.org/10.14456/jra.2022.19
บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. (พิมพ์ครั้งที่3). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุม สหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

จรีลักษณ์ จิรวิบูลย์. (2546). คู่มือครูและผู้ปกครองสำหรับเด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้-การอ่าน. กรุงเทพฯ: องค์การค้าของคุรุสภา.

ทิศนา แขมมณี. (2547). ศาสตร์การสอน องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นภดล จันทร์เพ็ญ. (2542). การใช้ภาษาไทย. กรุงเทพฯ: ต้นอ้อ.

นภเนตร ธรรมบวร. (2544). การพัฒนากระบวนการคิดในเด็กปฐมวัย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

บุษบา ชูคำ. (2550). ผลของการใช้บทเรียนการ์ตูนคณิตศาสตร์แบบ E-Book เรื่องโจทย์ปัญหาสมการเชิงเส้น ตัวแปรเดียวที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความพึงพอใจในวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. (สารนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการมัธยมศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

บุษบา ญาณสมเด็จ. (2549). เปรียบเทียบผลการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแบบกลุ่มและการสอนซ่อมเสริมที่มีต่อเจตคติในการเรียนวิชาภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนหอพระ จังหวัดเชียงใหม่. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาการศึกษาและการแนะแนว). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ปิยธิดา สังฆะโณ. (2550). การพัฒนาบทเรียนสําเร็จรูปการตูน เรื่อง สํานวน สุภาษิต และคําพังเพยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปที่ 1 โรงเรียนมหาวชิราวุธ จ.สงขลา. (สารนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการมัธยมศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ผดุง อารยะวิญญู. (2550). การวิจัยเพื่อพัฒนาโรงเรียนต้นแบบในการจัดการเรียนรวมระหว่างเด็กปกติกับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ. (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

วิมลรัตน์ สุนทรโรจน์. (2545). เอกสารประกอบการเรียนการสอนวิชาพัฒนาการเรียนการสอน. (พิมพ์ครั้งที่ 3). มหาสารคาม: ภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ศันสนีย์ ฉัตรคุปต์. (2544). ความบกพร่องในการเรียนรู้หรือแอลดี: ปัญหาการเรียนรู้ที่แก้ไขได้. กรุงเทพฯ: องค์การค้าคุรุสภา.

สุนันทา ฝันนิมิตร. (2543). ผลของการใช้หนังสือการ์ตูนภาพยกระดับประกอบการอ่านบทร้อยกรองภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

สุวิทย์ มูลคํา และอรทัย มูลคํา. (2545). 21 วิธีจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนากระบวนการคิด. กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.

หนึ่งฤทัย ชูแก้ว. (2556). ผลของการจัดการเรียนรู้โดยใช้บทเรียนการ์ตูนร่วมกับเทคนิค STAD เรื่อง คู่อันดับกราฟ ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์และความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

อรอุมา ไชยโยธา. (2547). การพัฒนาชุดการเรียนคณิตศาสตร์ด้วยตนเองแบบสืบสวนสอบสวนที่ใช้การ์ตูนประกอบ เรื่อง ระบบจำนวนเต็ม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. (สารนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการมัธยมศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.