บทบรรณาธิการ
Main Article Content
บทคัดย่อ
วารสารวิจยวิชาการ วิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ฉบับนี้เป็นปีที่ 4 ฉบับที่ 3 กองบรรณาธิการได้พิจารณาบทความโดยเสนอบทความต่อคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิกลั่นกรอง (Peer Review) พิจารณาตรวจแก้ไขเพื่อความสมบูรณ์ของบทความก่อนการตีพิมพ์ ตั้งแต่กระบวนการคัดเลือกและการกลั่นกรองบทความให้เกิดความความสมบูรณ์ และเกิดคุณภาพสุงสุด ก่อนที่จะมีการตีพิมพ์และเผยแพร่ ทั้งนี้เพราะบทความวิจัย บทความวิชาการที่อยู่ในวารสารฯ นั้นต่างก็มีข้อค้นพบ ข้อเสนอแนะ ที่จะกลายเป็นนวัตกรรม รวมถึงอาจจะส่งผลกระทบ (Impact) ต่อชุมชน สังคมและประเทศชาติ โดยในฉบับนี้เน้นการนำเสนอบทความวิจัย บทความวิจัยอันประกอบด้วย บทความวิจัย 20 บท บทความวิชาการ 5 บท และบทวิจารณ์หนังสือ จำนวน 1 บท ซึ่งทางกองบรรณาธิการได้มีการคัดเลือกมานำเสนอเพื่อให้สอดคล้องกับบริบทเชิงสถานการณ์ ดังนี้
ด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) สิ่งที่ทุกคนทุกฝ่ายจะต้องร่วมด้วยช่วยกันก็คือการยับยั้งการแพร่กระจายของโรคร้ายข้างต้น และสิ่งที่เป็นห่วงก็คือแนวหน้าของการปฏิบัติการในการเผชิญกับสถานการณ์ดังกล่าว ทั้งทีมแพทย์ พยาบาล บุคลากรในทางสาธารณสุข และผู้ที่เกี่ยวข้องที่จะกลายเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงที่จะได้รับเชื้อ วารสารวิจยวิชาการฉบับนี้จึงมีบทความวิชาการที่มีความสัมพันธ์และสอดคล้องกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น เป็นต้นว่า บทความวิชาการเรื่องแนวทางการบริหารจัดการความปลอดภัยของบุคลากรพยาบาลในหอผู้ป่วยหนักของโรงพยาบาลรัฐแห่งหนึ่งในเขตกรุงเทพมหานคร โดย สันต์ฤทัย ธาราภิรมย์รักษ์ หรือจะเป็นเรื่อง สมรรถนะการพยาบาลข้ามวัฒนธรรมของพยาบาลวิชาชีพโดยมารศรี ศิริสวัสดิ์, วาโร เพ็งสวัสดิ์, วัลนิกา ฉลากบาง และเอกลักษณ์ เพียสา ที่ศึกษาเพื่อค้นหาแนวทางในการที่จะบริการทุกคน ทุกเพศวัย และทุกชนชาติพันธุ์ให้ได้รับความพึงพอใจสูงสุด ขณะเดียวกันยังมีบทความที่ให้แนวคิดสำหรับผู้ที่กำลังเผชิญกับสภาวะวิกฤตหรือความเครียดทั้งจากสถานการณ์ที่เกิดขึ้นและภาวะสังคมกับบุคคลรอบข้าง เรื่อง ฆราวาสธรรม: การป้องกันการฆ่าตัวตายที่มีสาเหตุเกิดจากปัญหาด้านความสัมพันธ์ โดยพระครูพิฑูรนคราภิรักษ์ (อนุชาติ นรินฺโท) และพระมหาสุเมฆ สมาหิโต และบทความวิชาการเรื่องบทบาทของสตรีไทยในยุคไทยแลนด์ 4.0 โดยอัญธิษฐา อักษรศรี และ
วันชัย แสงสุวรรณ ให้ทุกท่านได้ศึกษาเพื่อก่อให้เกิดความเข้าใจได้ลึกซึ่งขึ้น
ขณะเดียวกันในวารสารวิจยวิชาการฉบับนี้ยังมีบทความวิชาการที่เกี่ยวพันและเกี่ยวเนื่องในเรื่องของบริบทเชิงชุมชนและสังคม ทั้งในเรื่องการพัฒนาพิพิธภัณฑ์ชุมชนด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ในจังหวัดลำปาง โดยพระครูสิริธรรมบัณฑิต, บุษกร วัฒนบุตร, ณฤณีย์ ศรีสุข และอนุกูล ศิริพันธ์ บทความวิชาการเรื่องการส่งเสริมการพัฒนาอาชีพตามภูมิปัญญาท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วนตำบล วังสำโรง อำเภอตะพานหิน จังหวัดพิจิตร โดยพระยุทธนา นิติสาโร (บุญมี), สมคิด พุ่มทุเรียน และวิทยา ชินบุตร บทความวิชาการเรื่องภูมิปัญญาพุทธบูรณาการ: องค์ความรู้ วิถีปฏิบัติ และการเสริมสร้างคุณค่าทางสังคมในอาเซียน โดยพระครูพิพิธจารุธรรม, สุนทร สุขทรัพย์ทวีผล และเจริญ มณีจักร และบทความวิชากการเรื่องการพัฒนาการจัดทำและขึ้นทะเบียนที่ราชพัสดุของกองบริหารที่ราชพัสดุกรุงเทพมหานคร กรมธนารักษ์: คมสัน ศฤงคารเพิ่มพูน และจิรวัฒน์ เมธาสุทธิรัตน์ ที่จะมาเติมเต็มและสะท้อนวิธีคิด วิธีการบริหารจัดการ ทั้งในระดับการมีส่วนร่วมในระบบฐานรากทางความคิดหรือชุมชน ไปจนถึงการบริหารจัดการที่จะต้องอาศัยกลไกการขับเคลื่อนผ่านระบบ ระเบียบและขั้นตอนของทางภาครัฐ
ส่วนในประเด็นที่เกี่ยวกับการบริหารการศึกษานั้น วารสารวิจยวิชาการเล่มนี้ยังได้บรรจุบทความวิชาการได้อย่างหลากหลายอรรถรส ทั้งในเรื่องแนวทางการบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง อำเภอบ้านไร่ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุทัยธานี เขต 2 โดยจรรยา ทีปาลา, แนวทางการบริหารงานงบประมาณของสถานศึกษาอำเภอลานสัก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุทัยธานี เขต 2 โดยสิริพร โยศรีธา, การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างทักษะการบริหารกับการบริหารงานของผู้สถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 4 โดยมานะศักดิ์ พรมอ่อนและพิมลพรรณ เพชรสมบัติ, การศึกษาภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครู และบุคลากรทางการศึกษา สังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดนครสวรรค์ โดยโกวิท บุญด้วง, กฤษณะ ดาราเรือง และสมศักดิ์ สุภิรักษ์, การศึกษารูปแบบพุทธบูรณาการการพัฒนาคุณภาพชีวิตในการทำงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ โดยกัลยา ทองนุช, วรกฤต เถื่อนช้าง, วิรัช จงอยู่สุข และทนง ทศไกร, การศึกษาการบริหารระบบการเปลี่ยนผ่านนักเรียนพิการเข้าสู่สถานศึกษาที่ส่งผลต่อความพร้อมของนักเรียนพิการ ในศูนย์การศึกษาพิเศษ เครือข่าย 7 สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ โดยวัชรพงศ์ ปรากฎ, ทศพล ธีฆะพร และสิทธิพร เขาอุ่น, การศึกษาการบริหารจัดการความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ปทุมธานี เขต 2 โดยเศรษฐพล บัวงาม และพิมลพรรณ เพชรสมบัติ, การศึกษาการบริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา กลุ่ม 1 กรุงเทพมหานคร โดยพระกิตติ เมฆโปธิ และการศึกษาแนวทางการบริหารงานแนะแนวในโรงเรียนขยายโอกาส สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 2 โดยปนัดดา สิงห์โต ซึ่งต่างก็เป็นสิ่งที่สะท้อนให้เห็นถึงบริบทเชิงปัญหาที่นำมาซึ่งการศึกษา ค้นคว้า วิจัย เพื่อแสวงหาคำตอบหรือทางออกให้กับผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งระบบ ทั้งในเชิงนโยบายและเชิงปฏิบัติที่ส่วนงานหรือผู้ที่สนใจสามารถที่จะนำไปสู่การประยุกต์ใช้เพื่อเป็นทางเลือกในเชิงพื้นที่หรือเชิงสถานการณ์ที่ใกล้เคียงกัน
ในวารสารวิจยวิชาการฉบับนี้ยังได้มีการนำเสนอบทความวิชาการที่เกี่ยวกับปัญหาการใช้มาตรการพิเศษแทนการดำเนินคดีในการกระทำผิดซ้ำคดียาเสพติด กรณีศึกษาเฉพาะในศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดปทุมธานี โดยจุฑามาศ เพชรเปล่งสี และอาจารี มีอินทร์ เกิดมีสิทธิ์ การศึกษารูปแบบการป้องกันอาชญากรรมร้านทองในเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา โดยเกียรติขจร พีเกาะ การศึกษากระบวนการพิจารณาคำร้องและการระงับข้อพิพาททางเลือกเกี่ยวกับการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมระหว่างเพศ ตามพระราชบัญญัติความเท่าเทียมระหว่างเพศ พ.ศ. 2558 โดยพิมลพร อินทนุพัฒน์ และสิริพันธ์ พลรบการศึกษาขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานข้าราชการตำรวจชั้นประทวน กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 34 จังหวัดตาก: สมชาย ยอดปรางค์, พระเทพปริยัติเมธี และสยาม ดำปรีดา และการศึกษาการมีส่วนร่วมในการป้องกันน้ำท่วมของข้าราชการตำรวจโรงเรียนนายร้อยตำรวจ โดยกาญจนา แก้วกังวาน ซึ่งถือเป็นอีกหนึ่งในการศึกษาเพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในทางสังคม ทั้งนี้เพื่อที่จะทำให้สังคมนี้เกิดความสงบสุขและสันติสุข ผ่านการบริหารตัดการทั้งในส่วนของผู้ปฏิบัติหรือผู้ที่เกี่ยวข้อง กระบวนการและขั้นตอนในการบริหารจัดการที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน รวมถึงผลที่จะเกิดขึ้นตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายตามที่ได้กำหนดไว้ด้วย
นอกจากนั้นวารสารวิจยวิชาการฉบับนี้ยังได้มีการนำเสนอบทความวิชาการที่เกี่ยวกับการศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการบริหารจัดการที่ดีของคณะสงฆ์ อำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ โดยวิสุทธินันท์ นิลพัฒน์, สมคิด พุ่มทุเรียน และพระราชรัตนเวที (ประเสริฐ โชติธมฺโม) การศึกษาการประยุกต์ใช้หลักพุทธธรรมกับการบริหารจัดการความขัดแย้งในองค์กร โดยเจริญชัย กุลวัฒนาพร และการศึกษาการสร้างเสริมศักยภาพเลขานุการเจ้าคณะตำบล โดยพระครูพิสุทธิปัญญาภิวัฒน์ (นพณัฐ กิตฺติปญฺโญ) และพระมหาสุเมฆ สมาหิโต ซึ่งถือว่าเป็นการศึกษาที่มีรากฐานที่จะนำไปสู่การขับเคลื่อนพัฒนาหรือการปรับปรุงแก้ไขในรูปแบบวิถีพุทธวิถีไทย โดยเฉพาะในเรื่องของการบริหารจัดการองค์กร การบริหารจัดการความขัดแย้งในองค์กร ถือเป็นเรื่องปกติที่สามารถที่จะเกิดขึ้นได้ในทุก ๆ องค์กร และเป็นเรื่องที่ผู้บริหารหรือผู้นำ รวมถึงคนในองค์กรนั้น ๆ จะต้องร่วมมือกันป้องกันและแก้ไขปัญหาข้างต้นนี้ ซึ่งคำตอบส่วนหนึ่งก็มีปรากฏให้ผู้ที่ต้องการศึกษา ค้นคว้า ได้เก็บเกี่ยวความรู้ในเรื่องข้างต้นได้ในวารสารวิจิยวิชาการฉบับนี้
Article Details
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงพิมพ์กับวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นข้อคิดเห็น และความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิจยวิชาการ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่ง ส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อการกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวิจยวิชาการก่อนเท่านั้น