ความสัมพันธ์ของวัฒนธรรมทางการเมืองแบบมีส่วนร่วมของประชาชนในพื้นที่จังหวัดเลยตามหลักอปริหานิยธรรม

Main Article Content

ธงชัย สิงอุดม
จำนงค์ อดิวัฒนสิทธิ์
สุรพล สุยะพรหม

บทคัดย่อ

บทความวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของวัฒนธรรมทางการเมืองแบบมีส่วนร่วมของประชาชนในพื้นที่จังหวัดเลยตามหลักอปริหานิยธรรม เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยการวิเคราะห์ สังเคราะห์แนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง จำนวน 15 เรื่อง เพื่อพัฒนากรอบแนวคิดในการวิจัย และการแจกแบบสอบถามที่มีค่าความเชื่อมั่น .978 กับกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 450 คน จากประชากรทั้งสิ้น 619,872 คน สุ่มกลุ่มตัวอย่างด้วยการเลือกแบบเจาะจง สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาและการตีความ ผลการวิจัย พบว่า โดยภาพรวมมีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับสูงมาก (r= .871**) มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และเมื่อพิจารณาเป็นรายคู่ พบว่า หลักอปริหานิยธรรมกับด้านการออกเสียงเลือกตั้ง ด้านการสื่อสารทางการเมือง ด้านจิตสำนึกทางการเมือง และด้านการเป็นตัวแทนกลุ่มหรือพรรคการเมือง มีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับสูงมาก ในขณะเดียวกันหลักอปริหานิยธรรมกับด้านการเป็นอาสาสมัครทางการเมือง ด้านการเป็นกลุ่มสังเกตการณ์ทางการเมือง และด้านการเคลื่อนไหวทางการเมืองกลับมีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับสูง

Article Details

How to Cite
สิงอุดม ธ., อดิวัฒนสิทธิ์ จ. ., & สุยะพรหม ส. . (2022). ความสัมพันธ์ของวัฒนธรรมทางการเมืองแบบมีส่วนร่วมของประชาชนในพื้นที่จังหวัดเลยตามหลักอปริหานิยธรรม. วารสารวิจยวิชาการ, 5(4), 159–170. https://doi.org/10.14456/jra.2022.92
บท
บทความวิจัย

References

กัมลาศ เยาวะนิจ. (2558). วัฒนธรรมไทยกับการมีส่วนร่วมทางการเมืองในระดับท้องถิ่น. วารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 10(2), 26-30.

ชรินทร ประสมสุขและธีระ กุลสวัสดิ์. (2561). การมีส่วนร่วมทางการเมืองของเกษตรกรในเขตพื้นที่อำเภอเขาคิชฌกูฏ จังหวัดจันทบุรี. วารสารการเมือง การบริหาร และกฎหมาย, 10(3), 319-334.

ชาญชัย ฮวดศรี. (2558). รูปแบบการส่งเสริมวัฒนธรรมทางการเมืองเชิงพุทธของผู้นำชุมชนจังหวัดขอนแก่น. (รายงานการวิจัย). สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่น.

นิติธร กล่ำคุ้ม. (2561). วัฒนธรรมทางการเมืองแบบประชาธิปไตยของนักศึกษาระดับปริญญาตรีมหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตศาลายา. วารสารเทคโนโลยีภาคใต้, 11(1), 125-130.

บุศรา โพธิสุข. (2559). การมีส่วนร่วมทางการเมืองท้องถิ่นของประชาชน: ศึกษาเฉพาะกรณี ตำบลช้างเผือก อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. พิฆเนศวร์สาร, 12(1), 151-164.

เปรมศักดิ์ แก้วมรกฎ. (2561). วัฒนธรรมการมีส่วนร่วมทางการเมืองของวัยรุ่นในสังคมพหุวัฒนธรรม: กรณีศึกษา อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยธนบุรี, 12(ฉบับพิเศษ), 217-225.

พงษ์เมธี ไชยศรีหา. (2561). แนวทางการพัฒนาวัฒนธรรมทางการเมืองประชาธิปไตยของประชาชนในเขตเทศบาลเมืองชุมแพ จังหวัดขอนแก่น. วารสารสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 5(2), 105-118.

พรอัมรินทร์ พรหมเกิด. (2557). วัฒนธรรมทางการเมืองกับการพัฒนาประชาธิปไตยในเขตชนบทอีสาน : กรณีศึกษาประชาชนในเขตหมู่บ้านคำบง และหมู่บ้านสะอาด ตำบลสะอาด อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น. วารสารมนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 31(3), 63.

พิชิต รัชตพิบุลภพ. (2559). การมีส่วนร่วมทางการเมืองของทหาร. วารสารสถาบันพระปกเกล้า, 14(1), 100-120.

พีระพงศ์ สุจริตพันธ์และคณะ. (2561). วัฒนธรรมทางการเมืองแบบประชาธิปไตยของประชาชนในอำเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี, 12(1), 219-220.

เพ็ญนภา เว็บบ์. (2561). การมีส่วนร่วมทางการเมืองในระดับท้องถิ่นของผู้สูงอายุ จังหวัดนครนายก. วารสารวิชาการ บัณฑิตวิทยาลัยสวนดุสิต, 14(3), 91-107.

โพธิ์คิน ขวาอุ่นหล้าและปัทมา จรูญโรจน์ ณ อยุธยา. (2563). การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในจังหวัดบึงกาฬ. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยปทุมธานี, 12(2), 354-367.

ภูสิทธ์ ขันติกุล. (2553). รูปแบบการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร. (รายงานการวิจัย). คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

วัลลภ รัฐฉัตรานนท์. (2561). ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีผลต่อวัฒนธรรมทางการเมืองแบบประชาธิปไตยของนิสิตนักศึกษาในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. วารสารการบริหารปกครอง, 7(1), 501-521.

ศิริชัย เพชรรักษ์. (2555). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการตรวจสอบการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนตำบลในประเทศไทย. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 2(2), 108-117.

สากล พรหมสถิตย์และนพดล ธีระวงศ์ภิญโญ. (2563). การมีส่วนร่วมของประชาชนในทางการเมือง”, งานประชุมวิชาการรัฐประศาสนศาสตร์ระดับชาติ ครั้งที่ 7/2561 “รัฐประศาสนศาสตร์ไทย 4.0: ประชารัฐ นวัตกรรม และความท้าทาย”. เข้าถึงได้จาก http://blog.bru.ac.th › uploads › bp-attachments

สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง. (2562). ข้อมูลสถิติการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2562. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง.

อำนวย สุขขี. (2562). การพัฒนาการมีส่วนร่วมของประชาชนบนวิกฤตความขัดแย้งทางการเมืองประเทศไทย ระหว่างปี พ. ศ. ๒๕๔๙-๒๕๕๗. (ดุษฎีนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยปทุมธานี.