บทวิจารณ์หนังสือ: คำสอน 3 ศาสนา

Main Article Content

พระอธิการเฉลิม กนฺตสาโร

บทคัดย่อ

ศาสนาที่ปรากฏบนโลกนี้ทุกศาสนามีคุณค่าทางด้านจิตใจอันถือว่าสูงกว่าคุณค่าทางวัตถุ นอกจากเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจของมนุษย์ ศาสนาเป็นบ่อเกิดแห่งความสามัคคีในหมู่มวลมนุษยชาติทั้งปวง ก่อเกิดเป็นวัฒนธรรมขนบธรรมเนียมประเพณีแห่งคุณความดีด้านจริยธรรม ด้านศีลธรรม และด้านคุณธรรม ที่สำคัญคือ บ่งบอกความแตกต่างของมนุษย์และสัตว์ได้อย่างชัดเจน แม้แต่ในเรื่องของระเบียบการประพฤติ ทุกศาสนาจะมีการถ่ายทอด และจารึกคำสอนในลักษณะที่คล้ายคลึงกัน เช่น ตำรา คัมภีร์ และหนังสือ ซึ่งล้วนเป็นพระโอวาทของพระศาสดาในแต่ละศาสนาที่เผยแผ่สู่มวลมนุษย์โลกในปฏิบัติในรูปแบบเดียวกัน และคำสอนในแต่ละศาสนาก็มีความคล้ายคลึงกันคือ ให้มวลมนุษย์มีความรักความเมตตาต่อกัน พึ่งพาอาศัยกัน ไม่เบียดเบียนกัน ละเว้นการทำชั่วและทำแต่ความดีตามหลักคำสอนของแต่ละศาสนา บทวิจารณ์หนังสือนี้ จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา หลักคำสอนของศาสนาพุทธ ศาสนาคริสต์ และศาสนาอิสลามได้ถูกต้อง รวมถึงเพื่อศึกษาเปรียบ เทียบความแตกต่างของหลักคำสอนของศาสนาพุทธ ศาสนาคริสต์ และศาสนาอิสลามได้อย่างถ่องแท้ และเพื่อวิเคราะห์นำหลักคำสอนของศาสนาพุทธ ศาสนาคริสต์ และศาสนาอิสลามไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างมีประสิทธิผล ดังนั้น การศึกษาคำสอน 3 ศาสนา จึงเป็นการวิเคราะห์หลักคำสอนของศาสนาที่แตกต่างกัน โดยมีปัจจัยเกื้อหนุนในเรื่องของสังคมพหุวัฒนธรรม อันเป็นแนวทางการปฏิบัติตนของมวลมนุษย์โลก ภายใต้สังคมที่มีความสงบสุขและเป็นไปในทิศทางเดียวกัน

Article Details

How to Cite
พระอธิการเฉลิม กนฺตสาโร. (2022). บทวิจารณ์หนังสือ: คำสอน 3 ศาสนา. วารสารวิจยวิชาการ, 5(3), 311–322. https://doi.org/10.14456/jra.2022.78
บท
บทวิจารณ์หนังสือ

References

กำธร เพียเอีย. (2562). การศึกษาเปรียบเทียบจริยศาสตร์ในศาสนาสากล. วารสารวิชาการแสงอีสาน, 16(2), 363-371.

พระอนันตชัย อภินนฺโท. (2560). ความทุกข์ในอริยสัจ 4. วารสารพุทธจิตวิทยา, 2(2), 45-58.

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกฉบับภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

วาริด เจริญราษฎร์. (2564). การแปรศัพท์และเสียงในภาษาไทยถิ่นยะลาหมู่บ้านตังกาเด็ง: การแสดงนัยของการสัมผัสภาษาถิ่น. วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี, 4(1), 35-50.

เสฐียร พันธรังษี. (2521). ศาสนาโบราณ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.