แนวทางการบริหารแบบมีส่วนร่วมในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 10

Main Article Content

อรอนงค์ แจ่มจำรัส
ชัยอนันต์ มั่นคง

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารแบบมีส่วนร่วมในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 10 และ 2) ศึกษาแนวทางการบริหารแบบมีส่วนร่วมในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 10 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ครูผู้สอนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 10 จำนวน 285 คน และผู้ให้ข้อมูลในการสัมภาษณ์ คือ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์เนื้อหา ได้แก่ ค่าความถี่ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 1) สภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารแบบมีส่วนร่วมในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 10 ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2) แนวทางการบริหารแบบมีส่วนร่วมในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 10 พบว่า ด้านการมีส่วนร่วมในการวางแผน และการตั้งเป้าหมาย มีค่าดัชนีความต้องการจำเป็นสูงที่สุด โดยมีแนวทางดังต่อไปนี้ คือ ผู้บริหารควรมีความพร้อมให้คำปรึกษา ยอมรับฟังความคิดเห็น ของผู้ใต้บังคับบัญชาเสมอ ผู้ใต้บังคับบัญชาควรมีส่วนร่วมในการปรับปรุง พัฒนาเป้าหมายของสถานศึกษา ผู้บริหารและผู้ใต้บังคับบัญชาควรร่วมกันกำหนดเป้าหมายในการดำเนินงานของสถานศึกษาไปในทิศทางทิศทางเดียวกัน เพื่อขจัดความขัดแย้ง  ผู้ใต้บังคับบัญชาควรมีส่วนร่วมในการวางแผนงาน การกำหนดวัตถุประสงค์ การกำหนดเป้าหมาย กลยุทธ์ ของสถานศึกษา

Article Details

How to Cite
แจ่มจำรัส อ., & มั่นคง ช. . (2022). แนวทางการบริหารแบบมีส่วนร่วมในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 10. วารสารวิจยวิชาการ, 5(3), 205–214. https://doi.org/10.14456/jra.2022.69
บท
บทความวิจัย

References

กัญญาพัชร พงษ์ดี, ไพรภ รัตนชูวงศ์, สุชาติ ลี้ตระกูล, ประเวศ เวชชะ. (2559). กลยุทธ์การบริหารแบบมีส่วนร่วมของไตรภาคีในการยกระดับคุณภาพผู้เรียนไปโรงเรียนพื้นที่สูงภาคเหนือตอนบน. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, 10(1), 162-179.

ทับทิม แสงอินทร์. (2559). การบริหารแบบมีส่วนร่วมของโรงเรียนสรวงสุทธาวิทยา จังหวัดสุพรรณบุรี. (การค้นคว้าอิสระศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ฤทัยรัตน์ ปัญญาสิมและดวงใจ ชนะสิทธิ์. (2560). การบริหารรวมที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 9(1), 229-313.

โศภิดา คล้ายหนองสรวง. (2558). การบริหารแบบมีส่วนร่วมทีส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นทีการศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 3. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยบูรพา.

สันติ บุญภิรมย์. (2552). นวัตกรรมการบริหารการศึกษา. กรุงเทพฯ: บุ๊ค พอยท์.

สิทธิชัย อุตทาสา และพิมลพรรณ เพชรสมบัติ. (2563). การมีส่วนร่วมของครูในการบริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 4. วารสาร มจร พุทธปัญญาปริทรรศน์, 5(3), 30-42.

Cohen, J. M and Uphoff, T. N. (1977). Rural development participation: concepts and measures for project design, implementation and evaluation. New York: Cornell University.

Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.