การจัดการการท่องเที่ยวแบบมีส่วนร่วมชุมชนไทหล่มในเขตเทศบาลเมืองหล่มสักอำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์

Main Article Content

พัชรมณฑ์ พร้อมเพียรพันธ์
สยาม ดำปรีดา

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างหลักอปริหานิยธรรม 7 กับการจัดการการท่องเที่ยวแบบมีส่วนร่วมของชุมชนไทหล่ม และ 2) นำเสนอแนวทางการมีส่วนร่วมของชุมชนไทหล่มกับการจัดการการท่องเที่ยว เทศบาลเมืองหล่มสัก อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ เป็นการวิจัยแบบผสานวิธีโดยการแจกแบบสอบถามที่มีความเชื่อมั่น .737 กับกลุ่มตัวอย่างที่ได้จากการสุ่มแบบแบ่งชั้น จำนวน 387 คน จากประชากรจำนวนทั้งสิ้น 11,817 คน สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญที่ได้จากการเลือกแบบเจาะจง จำนวน 17 รูป/คน และใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนา ผลวิจัยพบว่า 1) ความสัมพันธ์ระหว่างหลักอปริหานิยธรรม 7 กับการจัดการการท่องเที่ยวแบบมีส่วนร่วมของชุมชนไทหล่ม พบว่า ค่าความสัมพันธ์เชิงบวกอยู่ในระดับต่ำ และ 2) แนวทางการมีส่วนร่วมของชุมชนไทหล่ม ประกอบด้วย 1) สิ่งดึงดูดใจ ทำให้เกิดความสนใจ ทั้งสถานที่ทางวัฒนธรรม และสังคม การแต่งกายแบบดั้งเดิมที่ชวนท่องเที่ยวทางธรรมชาติ มนุษย์สร้างขึ้น เช่นการมีถนนคนเดินในทุกวันเสาร์เพื่อเป็นการเพื่อรายได้ของชุมชน 2) การเข้าถึง รวดเร็วในการเดินทาง 3) สิ่งอำนวยความสะดวก ระบบสาธารณูปโภคในแหล่งท่องเที่ยวควรให้มีจำนวนเพียงพอ เช่น ที่พักแรม ร้านอาหาร และสถานบริการอื่น ๆ ระบบไฟฟ้า ประปา การสื่อสาร ป้อมตำรวจ ดูแลความปลอดภัย 4) ที่พัก ด้านที่พักแรมให้มีจำนวนเพียงพอ การบริการมีความเหมาะสมต่อสถานที่  พักไม่อยู่ไกลจากแหล่งท่องเที่ยว เดินทางมาได้ง่ายและมีความปลอดภัย เช่น โรงแรม รีสอร์ท และ 5) กิจกรรม จัดให้มีกิจกรรมนันทนาการนับเป็นองค์ประกอบที่สำคัญ มีการทำกิจกรรมทางวัฒนธรรม ทำให้เกิดความทรงจำของนักท่องเที่ยว ซึ่งก่อให้เกิดรายได้ของชุมชนถือเป็นการเพื่อรายได้องชุมชน

Article Details

How to Cite
พร้อมเพียรพันธ์ พ., & ดำปรีดา ส. . (2022). การจัดการการท่องเที่ยวแบบมีส่วนร่วมชุมชนไทหล่มในเขตเทศบาลเมืองหล่มสักอำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ . วารสารวิจยวิชาการ, 5(3), 215–224. https://doi.org/10.14456/jra.2022.70
บท
บทความวิจัย

References

กรกช ตราชู และคณะ. (2560). การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์บ้านด่านเกวียนอำเภอ โชคชัย จังหวัดนครราชสีมา. วารสารรัชต์ภาคย์, 11(24), 162-177.

กรมการท่องเที่ยว. (2561). แผนยุทธศาสตร์พัฒนาการท่องเที่ยว พ.ศ.2561-2564 ของกรมการท่องเที่ยว. กรุงเทพฯ: วีไอพี ก๊อปปี้ปริ้น.

นพพร จันทรนำชู. (2560). รูปแบบและเส้นทางการท่องเที่ยวเพื่อการเรียนรู้เชิงสร้างสรรค์ใน จังหวัดกาญจนบุรี. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 15(1), 51-64.

นราดี บัวขวัญ. (2556). รูปแบบการจัดการตลาดน้ำเพื่อการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม กรณีศึกษา ตลาดน้ำ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา. (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการสิ่งแวดล้อม). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

นิลรัตน์ กลิ่นจันทร์ และคณะ. (2555). กระบวนการจัดการพุทธสถานเพื่อการท่องเที่ยวของวัดในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. (รายงานการวิจัย). พระนครศรีอยุธยา: คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ปฐม หงส์สุวรรณ และคณะ. (2560). การจัดการหมู่บ้านต่อภาคอีสานเพื่อพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในจังหวัดขอนแก่น และจังหวัดมหาสารคาม. (รายงานการวิจัย). สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติและสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

พระราชบัญญัตินโยบายการท่องเที่ยวแห่งชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2562. (2562, 19 พฤษภาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 136 ตอนที่ 67 ก, หน้า 160.

พระสาธิต สุดเทศและคณะ. (2562). การมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการท่องเที่ยวในตำบลท่าฬ่อ อำเภอเมืองพิจิตร จังหวัดพิจิตร. วารสารวิจยวิชาการ, 2(3), 99-112.

มิวเซียมไทยแลนด์. (2564). ประวัติความเป็นมาเมืองหล่มศักดิ์. เข้าถึงได้จาก https://www.museumthailand.com/th/museum/Lomsak-Museum.