การบูรณาการเพื่อพัฒนานักเรียนให้มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์อยู่อย่างพอเพียงอย่างยั่งยืน

Main Article Content

จิระวัฒน์ โรจนศิลป์

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอแนวทางการบูรณาการ การพัฒนานักเรียนให้มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์อยู่อย่างพอเพียงอย่างยั่งยืน พบว่า การพัฒนานักเรียนให้มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์อยู่อย่างพอเพียงนั้นต้องเริ่มต้นจากการสร้างนโยบายการบริหารสถานศึกษาของผู้บริหาร โดยการสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่ปฏิบัติตามแนวทางของหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ด้านครูหรือบุคลากรทางการศึกษาดำเนินตามนโยบายศึกษาค้นคว้าหาความรู้ในด้านการพัฒนาหลักสูตรบูรณาการจัดการเรียนการสอนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ปลูกฝังแนวคิดการถอดบทเรียน 2 3 4 และ 3 ศาสตร์เพื่อให้เกิดเป็นคลัสเตอร์ความพอเพียงภายในโรงเรียนจากโรงเรียนสู่ครอบครัว  นักเรียนนำหลักการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในครอบครัวส่งผลให้เกิดเป็นวิถีของครอบครัวที่ปฏิบัติตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เกิดเป็นคลัสเตอร์ครอบครัวพอเพียง จากครอบครัวสู่ชุมชนสมาชิกในชุมชนเปิดรับและให้ความสำคัญกับการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเกิดเป็นคลัสเตอร์ ความพอเพียงในชุมชน เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน และเมื่อนำหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาเข้าช่วยในการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนเพื่อการรู้จักการดำเนินชีวิตให้เกิดความพอดี เป็นแนวทางของการแก้ทุกข์ที่เรียกว่า “อริยมรรคมีองค์ 8” โดยมุ่งเน้นให้มีความสุขกายและสุขใจเพื่อนักเรียนจะได้มีทั้งความรู้และคุณธรรมพร้อมที่จะเติบโตเป็นพลเมืองที่ดีของสังคมสืบไป

Article Details

How to Cite
โรจนศิลป์ จ. (2022). การบูรณาการเพื่อพัฒนานักเรียนให้มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์อยู่อย่างพอเพียงอย่างยั่งยืน. วารสารวิจยวิชาการ, 5(4), 309–324. https://doi.org/10.14456/jra.2022.103
บท
บทความวิชาการ

References

ณพัฐอร เฮงสมบูรณ์ และณัฏฐภรณ์ หลาวทอง. (2557). การนำเสนอแนวทางการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียนจากการวิเคราะห์แนวปฏิบัติดี. OJED, 9(2), 350-364.

ปรียานุช พิบูลสราวุธ. (2551). เศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษา. เข้าถึงได้จากhttps://www.bodin.ac.th/e_eco/last_eco.pdf

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ศักดิ์สกล จันแสน และทีปพิพัฒน์ สันตะวัน. (2558). แนวทางการดำเนินงานด้านการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนในกลุ่มโรงเรียนท่าตะโก 1 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์เขต 3. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติและระดับนานาชาติเครือข่ายบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ ครั้งที่ 15 (น.1341-1352). นครสวรรค์: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากำแพงเพชร. (2564). แนวทางการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษาทำอย่างไร. เข้าถึงได้จากhttp://www.secondary41.go.th/porpeang/waySchPP.htm

สำนักงานวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2553). แนวทางการพัฒนาการวัดและประเมินผลคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. (อัดสำเนา).