แนวทางการบริหารงานวิชาการตามหลักสัปปุริสธรรม 7 ของผู้บริหารโรงเรียน ขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตร เขต 1
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการบริหารงานวิชาการ และ 2) เสนอแนวทางการบริหารงานวิชาการตามหลักสัปปุริสธรรม 7 ของผู้บริหารโรงเรียนขนาดเล็กสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตร เขต 1 ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสานวิธี ประชากร คือ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูวิชาการ จำนวนทั้งหมด 164 คน และผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 9 รูป/คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถามที่มีค่าความเชื่อมั่น .95 และแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง สถิติที่ใช้ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า 1) สภาพการบริหารงานวิชาการต่ำสุดในแต่ละด้าน คือ ด้านการบริหารจัดการมีการนิเทศ กำกับ ติดตามผลการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา ด้านการจัดการเรียนรู้มีการวางแผนการจัดทำกิจกรรมการเรียนรู้ ด้านการพัฒนาสื่อการเรียนรู้มีการศึกษาค้นคว้าวิจัยเพื่อผลิตสื่อการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียน ด้านการวัดประเมินผลมีระเบียบการวัดผลและประเมินผลการเรียนโดยเปิดโอกาสให้ผู้ที่เกี่ยวข้องมีส่วนร่วม ด้านการนิเทศการศึกษามีการจัดระบบการนิเทศภายในสถานศึกษาอย่างเป็นระบบ และด้านระบบประกันคุณภาพภายในมีการประชุมสัมมนาเพื่อสร้างความตระหนักในเรื่องการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา และมาตรฐานการศึกษา 2) แนวทางการบริหารงานวิชาการตามหลักสัปปุริสธรรม 7 ด้านการบริหารจัดการหลักสูตร พบว่า 2.1) หลักธัมมัญญุตา ผู้บริหารควรรู้หลักเกณฑ์ แนวทางปฏิบัติ วิธีการขั้นตอนในขอบข่ายงานวิชาการ 2.2) หลักอัตถัญญุตา ผู้บริหารควรมีการวางแผนการทำงาน การนิเทศ กำกับ ติดตามผลการพัฒนาหลักสูตร กำหนดเป้าหมายวัตถุประสงค์ในการดำเนินการ 2.3) หลักอัตตัญญุตา ผู้บริหารควรรู้จุดเด่น จุดด้อย ความรู้ ความสามารถของตนเอง 2.4) หลักมัตตัญญุตา ผู้บริหารควรวางแผนการใช้งบประมาณ ให้พอดีกับทรัพยากรที่มีอยู่ 2.5) หลักกาลัญญุตา ผู้บริหารควรวางแผนการนิเทศอย่างเป็นระบบ ในเวลาที่เหมาะสมกับงาน 2.6) หลักปริสัญญุตา ผู้บริหารควรแนะนำให้บุคลากรรู้จักบุคคล ชุมชน ที่เป็นเครือข่ายทางวิชาการ 2.7) หลักปุคคลัญญุตา ผู้บริหารควรรู้จัก นิสัย ความสามารถและความแตกต่างของบุคคล
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงพิมพ์กับวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นข้อคิดเห็น และความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิจยวิชาการ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่ง ส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อการกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวิจยวิชาการก่อนเท่านั้น
References
กมลวรรณ รอดจ่าย. (2552). การวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพโรงเรียนขนาดเล็ก. (วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา). คณะครุศาสตร์: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2542). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
กลุ่มนิเทศติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา พิจิตร เขต 1. (2563). การจัดกลุ่มคุณภาพของโรงเรียนจากคะแนนค่าเฉลี่ยของผลการทดสอบการศึกษาระดับชาติ หรือ (O-NET) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2/2562. หนังสือที่ ศธ 04099/ว1785, วันที่ 15 มิถุนายน 2563. (อัดสำเนา).
จารุณี อิ่มวงษ์ และ ทีปพิพัฒน์ สันตะวัน (2555). แนวทางการดำเนินงานวิชาการโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 2. วารสารวิชาการเครือข่ายบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ, 2(2), 63-74.
ตรีสุคนธ์ คูนาเอก และประสาท เนืองเฉลิม (2562). แนวทางพัฒนาการบริหารงานวิชาการในโรงเรียนขนาดเล็กสังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 24. วารสารมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด, 10(1), 474-489.
ปริชาติ ชมชื่น. (2555). รูปแบบการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมของชุมชนที่มีประสิทธิผลในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.
พัทธนันท์ หรรษาภิรมย์โชค และ จิราภรณ์ กาแก้ว (2557). แนวทางการพัฒนาคุณภาพโรงเรียนขนาดเล็กในชุมชน. วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา (สาขามนุษยศาสตร์และสัมคมศาสตร์), 6(12): 95-108.
ภิญโญ สาธาร. (2552). หลักการบริหารโรงเรียน. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ศิรินภา เมรัตน์ โสภณ เพ็ชรพวง และบรรจง เจริญสุข (2561). การศึกษาแนวทางการพัฒนาการบริหารวิชาการในโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชุมพร เขต 1. วารสารนาคบุตรปริทรรศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช, 11(1), 141-153.
อารีย์ ธรรมโคร่ง (2559). ทัศนคติและพฤติกรรมของผู้เรียนต่อการจัดการเรียนรู้เชิงรุกโดยการบูรณาการเชิงเนื้อหาผ่านสื่อการเรียนการสอนสมัยใหม่. วารสารวิชาการ คณะมนุษยศาสตร์และสัมคมศาสตร์, 12(1), 123-146.