การเสริมสร้างการมีส่วนร่วมของผู้สูงอายุในการถ่ายทอดภูมิปัญญาท้องถิ่น สู่เยาวชนของตำบลแม่ปืม อำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา

Main Article Content

พระธวัชชัย อานนฺโท (ใจประการ)
พระครูโสภณปริยัติสุธี
สมยศ ปัญญามาก

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการมีส่วนร่วมของผู้สูงอายุของผู้สูงอายุในการถ่ายทอดภูมิปัญญาท้องถิ่น 2) ศึกษารูปแบบการมีส่วนร่วมของผู้สูงอายุในการถ่ายทอดภูมิปัญญาท้องถิ่น และ 3) นำเสนอแนวทางการเสริมสร้างการมีส่วนร่วมของผู้สูงอายุในการถ่ายทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นสู่เยาวชนของตำบลแม่ปืม อำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มเป้าหมาย คือ ประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ตำบลแม่ปืม 18 หมู่บ้าน จำนวน 7,619 คน โดยใช้การเลือกแบบเฉพาะเจาะจง ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 40 รูป/คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสัมภาษณ์แบบไม่มีโครงสร้าง ผลการวิจัย พบว่า 1) การมีส่วนร่วมของผู้สูงอายุในการถ่ายทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นสู่เยาวชน พบว่า ภูมิปัญญาท้องถิ่น เป็นสิ่งที่เรียนรู้ และสืบทอดกันในครอบครัวมาหลายชั่วอายุคน เป็นการสืบทอดเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมของครอบครัว ซึ่งทางวัดร่องคือ และเทศบาลแม่ปืม ได้ร่วมกันก่อตั้งโรงเรียนผู้สูงอายุวัดร่อง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นสู่เยาวชนและผู้สนใจศึกษา เพื่อเป็นการอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นไม่ให้สูญหายไปจากท้องถิ่น 2) รูปแบบในการถ่ายทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นของผู้สูงอายุ พบว่า ผู้สูงอายุหรือปราชญ์ชาวบ้านได้ใช้รูปแบบในการถ่ายทอดที่หลากหลาย ได้แก่ การเรียนรู้จากครู การเรียนรู้จากพี่ การเรียนรู้จากเพื่อน การเรียนรู้จากการฝึกปฏิบัติ การเรียนรู้ด้วยตนเองจากสื่อ การเรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้ การศึกษาจากเอกสาร การแข่งขัน และการประกวดภูมิปัญญาท้องถิ่น และ 3) แนวทางการเสริมสร้างการมีส่วนร่วมของผู้สูงอายุในการถ่ายทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นสู่เยาวชนของตำบลแม่ปืม ตามหลักไตรสิขาจึงเป็นแนวทางสำคัญในกระบวนการถ่ายทอดองค์ความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นของผู้สูงอายุสู่เยาวชน ซึ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้สูงอายุหรือปราชญ์ชาวบ้านต้องประยุกต์ใช้หลักไตรสิขา คือ ศีล สมาธิและปัญญา ในกระบวนการถ่ายทอดองค์ความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อมิให้องค์ความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นเลือนหายไปตามกาลเวลา หลักไตรสิกขาจึงเป็นหลักธรรมสำหรับการเสริมสร้างการมีส่วนร่วมได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Article Details

How to Cite
พระธวัชชัย อานนฺโท (ใจประการ), พระครูโสภณปริยัติสุธี, & ปัญญามาก ส. . (2022). การเสริมสร้างการมีส่วนร่วมของผู้สูงอายุในการถ่ายทอดภูมิปัญญาท้องถิ่น สู่เยาวชนของตำบลแม่ปืม อำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา. วารสารวิจยวิชาการ, 5(3), 35–48. https://doi.org/10.14456/jra.2022.56
บท
บทความวิจัย

References

กวี วงศ์พุฒ. (2547). ภาวะผู้นำ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

จรัญดา จันทร์แจ่ม และคณะ. (2557). แนวทางการเสริมสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนในการถ่ายทอดภูมิปัญญาผ้าจกสู่เยาวชนของชุมชน ชาวไท-ยวน ตำบลคูบัว อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal, 7(3), 159-174.

เดชวิทย์ นิลวรรณ และทิพย์พธู กฤษสุนทร. (2557). กระบวนการและกลยุทธ์การถ่ายทอดภูมิปัญญาท้องถิ่น กรณีศึกษาเทศบาลตำบลฟ้าฮ่าม อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.): มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.

ทะนงศักดิ์ คุ้มไข่น้ำ. (2540). หลักการพัฒนาชุมชน. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

นพรัตน์ สัจจะวิสัย. (2558). การจัดการความรู้เกี่ยวกับภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านหัตถกรรมของเทศบาลเมืองต้นเปา อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่. (วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

นริศรา วัฒนสิน. (2557). การถ่ายทอดภูมิปัญญาท้องถิ่น: กรณีศึกษาการทอผ้าเกาะยอ จ.สงขลา และการทอผ้านาหมื่นศรี จ.ตรัง. (วิทยานิพนธ์การศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษานอกระบบเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2553). จะพัฒนาคนกันได้อย่างไร. กรุงเทพฯ: มูลนิธิพุทธธรรม.

ไพพรรณ เกียรติโชติชัย. (2551). กิจกรรมการศึกษาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: ศรีอนันต์การพิมพ์.

มาลี จันทร์วัฒนรังกูล. (2548). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ศักดิ์โสภาการพิมพ์.

ยุวัฒน์ วุฒิเมธี. (2546). หลักการพัฒนาชุมชนและการพัฒนาชนบท. กรุงเทพฯ: ไทยอนุเคราะห์ไทย.

อคิน รพีพัฒน์. (2547). การมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนาชนบทในสภาพสังคมและวัฒนธรรมไทย. กรุงเทพฯ: ศักดิ์โสภณการพิมพ์.

อภิชาติ แสงอัมพร. (2559). เอกสารประกอบการสอนรายวิชารัฐธรรมนูญและสถาบันการเมือง. สุรินทร์: มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์.

อุษณีย์ เสือดี. (2549). การศึกษาการถ่ายทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นการทำกระเบื้องดินเผาในจังหวัดสงขลา. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาศิลปศึกษา). คณะครุศาสตร์: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.