พรหมวิหาร 4 ในฐานะการเจริญภาวนาในคัมภีร์วิสุทธิมรรค
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาพรหมวิหาร 4 ที่ปรากฏในคัมภีร์พระพุทธศาสนา 2) ศึกษาพรหมวิหาร 4 ในคัมภีร์วิสุทธิมรรค และ 3) เพื่อเสนอแนวทางการปฏิบัติพรหมวิหาร 4 ในฐานะเป็นการเจริญภาวนาในคัมภีร์วิสุทธิมรรค ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเอกสาร โดยศึกษาข้อมูลชั้นปฐมภูมิได้แก่พระไตรปิฎกและคัมภีร์วิสุทธิมรรค และข้อมูลชั้นทุติยภูมิจากเอกสาร ตำรา และงานวิจัย ผลการวิจัย พบว่า 1) พรหมวิหาร 4 ที่ปรากฏในคัมภีร์พระพุทธศาสนา คือ พระพุทธเจ้าเสวยชาติเป็นพระโพธิสัตว์เจริญพรหมวิหาร โดยมีจิตประกอบด้วยเมตตาอันไพบูลย์ หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีความพยาบาท ต่อทุกคน ไม่มีขอบเขต แผ่ไปทุกสถานที่ทั่วโลก มีจิตประกอบด้วยกรุณา ฯลฯ มีจิตประกอบด้วยมุทิตา ฯลฯ มีจิตประกอบด้วยอุเบกขา 2) พรหมวิหาร 4 ในคัมภีร์วิสุทธิมรรค คือ ธรรมอันประเสริฐปราศจากโทษและเป็นหลักวิธีภาวนาที่ทำให้จิตสงบได้ เมตตาภาวนา คือ การพัฒนาจิตด้วยการแผ่ความรักให้ผู้อื่น กรุณาภาวนา คือ การพัฒนาจิตด้วยการแผ่ความสงสารให้ผู้ประสบความทุกข์ มุทิตาภาวนา คือ การพัฒนาจิตด้วยการแผ่ความยินดีกับผู้อื่น อุเบกขาภาวนา คือ การพัฒนาจิตด้วยการแผ่ความวางเฉยต่อความทุกข์ความสุขของผู้อื่น และ 3) แนวทางการปฏิบัติพรหมวิหาร 4 ในฐานะเป็นการเจริญภาวนาในคัมภีร์วิสุทธิมรรค คือ การแผ่จิตประกอบด้วยความเมตตา ความกรุณา ความมุทิตาให้ผู้อื่น และเจริญอุเบกขาภาวนาโดยละความสุขความทุกข์ของบุคคลที่เจริญพรหมวิหารมาก่อนแล้ว แผ่จิตประกอบด้วยอุเบกขาให้ผู้อื่น ภาวนาจนจิตเกิดสีมาสัมเภท (เสมอภาค) คือ มีเมตตา กรุณา มุทิตาและอุเบกขาต่อตนเอง คนที่รัก คนกลาง ๆ และคนคู่เวร เสมอภาคเสมือนเป็นบุคคลเดียวกัน อันถือเป็นนิมิตการภาวนา จิตมีสมาธิแนบแน่น นิวรณ์ 5 ถูกข่มไว้ พรหมวิหารภาวนาทำให้จิตบรรลุอัปปนาสมาธิ (ความสงบที่ไม่มีขอบเขตไม่มีประมาณ)
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงพิมพ์กับวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นข้อคิดเห็น และความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิจยวิชาการ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่ง ส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อการกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวิจยวิชาการก่อนเท่านั้น
References
ขันทอง วิชาเดช. (2561). การแผ่เมตตาในสังคมไทยตามคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท. วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 27(55), 23-39.
พระธรรมรักขิต. (2543). เมตตาภาวนา. กรุงเทพฯ: ธรรมมะอินเทรนด์.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2559). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. (พิมพ์ครั้งที่ 34). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระราชวรมุนี (ประยูร ธมฺมจิตฺโต). (2541). คุณธรรมสำหรับนักบริหาร. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: มูลนิธิพุทธรรม.
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
สมเด็จพุฒาจารย์ (อาจ อาสภมหาเถร). (2547). คัมภีร์วิสุทธิมรรค. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: บริษัทประยูรวงศ์พริ้นท์ติ้ง จำกัด.