พฤติกรรมการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร การมีส่วนร่วม และความรับผิดชอบต่อสังคมในการป้องกันโรคโควิด-19 ของประชาชน ในอำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์

Main Article Content

สิทธิพร เขาอุ่น
รวงทอง ถาพันธ์
นันทิกา บุญอาจ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาพฤติกรรมการรับรู้ข้อมูลข่าวสารในการป้องกันโรคโควิด-19 ของประชาชนในอำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ และ 2) ศึกษาระดับการมีส่วนร่วม และความรับผิดชอบต่อสังคมในการป้องกันโรคโควิด-19 ของประชาชนในอำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ของประชาชนในอำเภอเมืองนครสวรรค์ เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ กลุ่มตัวอย่าง คือ ประชาชนที่อาศัยในเทศบาลนครนครสวรรค์ เทศบาลตำบลหนองเบน อบต.หนองกรด และ อบต.วัดไทรย์ จำนวน 350 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมีลักษณะเป็นแบบตรวจสอบรายการและมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับมีค่าความตรงเชิงเนื้อหาอยู่ระหว่าง 0.60 -1.00 และมีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ .897 สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า 1) พฤติกรรมการรับรู้ข้อมูลข่าวสารของประชาชนในการป้องกันโรคโควิด-19 ทั้งหมด 6 ด้าน ส่วนใหญ่มี ดังนี้ 1.1) ด้านการรับรู้ สื่อสังคมออนไลน์ ร้อยละ 35.44, 1.2) ด้านเหตุผลที่เลือก ความสะดวกรวดเร็ว ร้อยละ 24.17, 1.3) ด้านความถี่ รับข้อมูลข่าวสารผ่าน Facebook ทุกวัน ร้อยละ 38.25, 1.4) ด้านเนื้อหา แหล่งกำเนิดของโรคมาจากมณฑลอู่ฮั่น ประเทศจีน ร้อยละ 22.37, 1.5) ด้านการป้องกัน ใส่หน้ากากอนามัยทุกครั้งเมื่ออยู่นอกบ้าน ร้อยละ 22.89 และ 1.6) ด้านแหล่งข้อมูล ติดตามสถานการณ์จาก ศบค. ร้อยละ 29.11, และ 2) ด้านระดับพฤติกรรมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันโรคโควิด-19 ในอำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ ภาพรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยที่ 4.24

Article Details

How to Cite
เขาอุ่น ส., ถาพันธ์ ร., & บุญอาจ น. (2022). พฤติกรรมการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร การมีส่วนร่วม และความรับผิดชอบต่อสังคมในการป้องกันโรคโควิด-19 ของประชาชน ในอำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์. วารสารวิจยวิชาการ, 5(4), 147–158. https://doi.org/10.14456/jra.2022.91
บท
บทความวิจัย

References

กรมควบคุมโรค. (2564). รวมแนวทางการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 สำหรับบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข. เข้าถึงได้จาก https://ddc. moph.go.th/uploads/publish/1150920210610033910.pdf.

กรุงเทพธุรกิจ. (2563). อัพเดทสถานการณ์ “โควิด” หรือไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ 2019 วันที่ 18 เมษายน 2563 ได้ตลอดทั้งวัน. เข้าถึงได้จาก https://www.bangkokbiznews.com/ news/detail/876720

จันทิมา นวะมะวัฒน์, และคณะ. (2564). การมีส่วนร่วมของอาสาสมัครสาธารณสุขและชุมชนในการป้องกันและเฝ้าระวังโรคติดเชื้อไวรัสโควิด 19 โดยใช้ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์. (รายงานการวิจัย). สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.): วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สวรรค์ประชารักษ์.

จารุวรรณ กิตตินราภรณ์. (2564). การใช้สื่อกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมปกติใหม่ด้านสุขภาพในช่วงการระบาดของไวรัสโคโรน่า (Covid-19): กรณีศึกษาจังหวัดปทุมธานี. วารสารนิเทศศาสตรปริทัศน์, 25(1), 15-34.

ไทยพีบีเอส. (2563). สรุปแถลงการณ์ขององค์การอนามัยโลก (WHO) ทำไมต้องประกาศให้ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019-nCoV เป็นภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศ?. เข้าถึงได้จาก https://www.facebook.com/ThaiPBSFan/posts/10163327197920085/.

ไทยรัฐออนไลน์. (2564). นครสวรรค์ เล็งตั้ง รพ.สนาม 400 เตียงรับมือ หลังเจอติดโควิดเพิ่ม 3 ราย. เข้าถึงได้จาก https://www.thairath.co.th/news/local/central/2067884

ธานี กล่อมใจ, จรรยา แก้วใจบุญ และ ทักษิกา ชัชวรัตน์. (2563). ความรู้และพฤติกรรมของประชาชนเรื่องการป้องกันตนเองจากการติดเชื้อไวรัสโคโรนา สายพันธุ์ใหม่ 2019. วารสารการพยาบาล การสาธารณสุขและการศึกษา, 21(2), 29-38.

บีบีซีไทย. (2563). โควิด-19: สธ. ประกาศการระบาดระลอกใหม่ในไทย ผู้ติดเชื้อจากกรณีสมุทรสาครเกือบ 700 รายใน 3 วัน. เข้าถึงได้จาก https://www.bbc.com/thai/ thailand-55383363.

ประกิจ อาษา และคณะ. (2563). ระดับการรับรู้ข่าวสารและพฤติกรรมการแบ่งปันข่าวสารบนสื่อออนไลน์เกี่ยวเนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ของผู้รับสาร 4 ช่วงวัย. วารสารนิเทศสยามปริทัศน์, 19(2), 126-143.

พรรณวดี ชัยกิจ และสุมนทิพย์ จิตสว่าง. (2564). การแพร่กระจายของข่าวปลอมเกี่ยวกับการแพร่ระบาดของโควิด-19 และมาตรการป้องกันของไทย. วารสารรัชต์ภาคย์ มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 15(40), 15-32.

วรยุทธ นาคอ้าย, กมลนัทธ์ ม่วงยิ้ม และเดชา วรรณพาหุล. (2563). กระบวนการมีส่วนร่วมในการป้องกันโรคโควิด19 กรณีศึกษาผู้สูงอายุพฤฒิพลังชุมชนหนองตะโก. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธนบุรี, 14(3), 20-30.

สานิตย์ หนูนิล. (2564). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการดำเนินงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรในช่วงวิกฤตการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019: กรณีศึกษาองค์กรภาคอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. วารสารวิทยาการจัดการ, 8(1), 17-38.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครสวรรค์. (2563). ตัวเลขผู้ติดเชื้อ COVID-1927/8/63 นครสวรรค์. เข้าถึงได้จาก https://www.nsn.moph.go.th/news/news_all.php.

สุพัตรา รุ่งรัตน์, ซูลฟีกอร์ มาโซ และยุทธนา กาเด็ม. (2563). การศึกษาผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมจากสถานการณ์โควิด-19 ของประชาชนในเขต เทศบาลเมืองยะลา จังหวัดยะลา. (รายงานการวิจัย). มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา: คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์.

Geldsetzer, P. (2020). Knowledge and Perceptions of COVID-19 Among the General Public in the United States and the United Kingdom: A Cross-sectional Online Survey. Annals of internal medicine, 173(2), 157-160.

Krejcie, R.V. & Morgan, D.W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.

Lee J.J., et al. (2020). Associations between COVID-19 Misinformation Exposure and Belief with COVID-19 Knowledge and Preventive Behaviors: Cross-Sectional Online Study. Journal Medical International Research, 22(11), e22205.

Teng et al. (2020). Corporate Social Responsibility in Public Health During the COVID-19 Pandemic: Quarantine Hotel in China. Frontiers in Public Health, (9), 620930.

WHO. (2020). Social Stigma associated with COVID-19. Retrieved from https://www.who.int/docs/default-source/coronaviruse/covid19-stigma-guide.pdf.

Yang, Y. et al. (2020). Promoting Public Engagement during the COVID-19 Crisis: How Effective Is the Wuhan Local Government’s Information Release? Int. J. Environ. Res. Public Health 2021, 18(1), 118.