การส่งเสริมความปรองดองสมานฉันท์ระหว่างภาครัฐและประชาชนในพื้นที่เทศบาลเมืองน่าน จังหวัดน่าน
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการส่งเสริมความปรองดองสมานฉันท์ระหว่างภาครัฐ และประชาชนในพื้นที่เทศบาลเมืองน่าน 2) เปรียบเทียบระดับการส่งเสริมความปรองดองสมานฉันท์ระหว่างภาครัฐ และประชาชนในพื้นที่เทศบาลเมืองน่าน และ 3) ประยุกต์ใช้หลักสาราณียธรรมในการส่งเสริมความปรองดองสมานฉันท์ระหว่างภาครัฐ และประชาชนในพื้นที่เทศบาลเมืองน่าน เป็นการวิจัยผสานวิธี ได้แก่ การวิจัยเชิงปริมาณ ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ ประชาชนในเขตพื้นที่เทศบาลเมืองน่าน จำนวน 14,344 คน ในจำนวน 25 ชุมชน คำนวณหาขนาดกลุ่มตัวอย่างจากสูตรของทาโร่ ยามาเน่ ได้ประชากรกลุ่มตัวอย่างจำนวน 389 คน และการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวนทั้งสิ้น 10 รูป/คน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์เชิงลึก ผลการวิจัย พบว่า 1) ระดับการส่งเสริมความปรองดองสมานฉันท์ระหว่างภาครัฐ และประชาชนในพื้นที่เทศบาลเมืองน่าน พบว่า อยู่ในระดับมาก ผลรวมค่าเฉลี่ย = 3.92 และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านการจัดการระบบการเรียนรู้ ค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับพึงพอใจมาก ผลรวมค่าเฉลี่ย = 3.86 ด้านการพัฒนาผู้นำชุมชน ค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับพึงพอใจมาก ผลรวมค่าเฉลี่ย = 3.95 และด้านการกระตุ้นให้เกิดการรวมตัวของผู้แทน ค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับพึงพอใจมาก ผลรวมค่าเฉลี่ย = 3.94 2) ผลการเปรียบเทียบระดับความคิดเห็นของประชากรกลุ่มตัวอย่างที่มีผลต่อการส่งเสริมความปรองดองสมานฉันท์ระหว่างภาครัฐและประชาชนในพื้นที่เทศบาลเมืองน่าน พบว่า ประชาชนที่มีเพศ อายุ การศึกษา และอาชีพที่แตกต่างกัน มีระดับการส่งเสริมความปรองดองสมานฉันท์ระหว่างภาครัฐ และประชาชนในพื้นที่เทศบาลเมืองน่าน ไม่แตกต่างกัน จึงปฏิเสธสมมติฐานที่ตั้งไว้ทั้ง 4 ปัจจัย และ 3) การประยุกต์ใช้หลักสาราณียธรรมในการส่งเสริมความปรองดองสมานฉันท์ระหว่างภาครัฐ และประชาชนในพื้นที่เทศบาลเมืองน่าน ได้แก่ หลักสาราณียธรรม ประกอบด้วย เมตตากายกรรม เมตตาวจีกรรม เมตตามโนกรรม สาธารณโภคิตา สีลสามัญญตา และทิฏฐิสามัญญตา
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงพิมพ์กับวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นข้อคิดเห็น และความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิจยวิชาการ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่ง ส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อการกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวิจยวิชาการก่อนเท่านั้น
References
กัลยา วานิชย์บัญชา. (2561). การใช้ SPSS for Window ในการวิเคราะห์ข้อมูล. (พิมพ์ครั้งที่ 31). กรุงเทพฯ: สามลดา.
จีรศักดิ์ โยมะบุตร. (2557). การสร้างปรองดองสมานฉันท์ หลังรัฐประหาร 22 พฤษภาคม 2557 ในพื้นที่จัดหวัดขอนแก่น. วารสารการเมืองการปกครอง, 9(1), 138-153.
เทศบาลเมืองน่าน (2564). ข้อมูลพื้นฐาน. เข้าถึงได้จาก http://www.nancity.go.th
นิมิต พลเยี่ยม. (2561). การใช้หลักธรรมทางพุทธศาสนาเพื่อบรรเทาความขัดแย้งและเพื่อสร้างความปรองดองของพระไพศาล วิสาโล. (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการเมือง). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
บวร วิเศษสุนทร. (2550). ความคิดเห็นของประชาชนต่อการนำหลักธรรมาภิบาลมาใช้ในองค์การบริหารส่วนตำบลในอำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย. (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
ประเวศ อินทองปาน. (2559). ความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อการปฏิบัติงานตามหลักสาราณียธรรมของเทศบาลตำบลท่าขนอน อำเภอคีรีรัฐนิคม จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 3(1), 108-118.
พระครูกัลยาณกิจจานุกิจ กลฺยาโณ (ปทุมมา). (2558). การนำหลักสาราณียธรรม 6 มาใช้ในการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองไผ่ อำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม. วารสารมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด, 3(1), 120-135.
พระครูนนทวีรวัฒน์ วีรธมฺโม (มีนุสรณ์). (2553). การบริหารงานเทศบาลตำบลตามหลักสาราณียธรรม 6 : กรณีศึกษาเทศบาลตำบลปลายบาง อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี. (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารจัดการคณะสงฆ์). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระครูพิบูลย์ธรรมสถิต ฐิตสุโข (ยังบุญส่ง). (2561). การนำหลักสาราณียธรรม 6 ไปใช้ในการปฏิบัติงานของบุคลากรเทศบาลตำบลร่อนพิบูลย์ อำเภอร่อนพิบูลย์ จังหวัดนครศรีธรรมราช. (วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์การปกครอง). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.
พระมหาเอกมร ฐิตปญฺโญ (คงตางาม). (2553). ความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อการบริหารงานตามหลักสาราณียธรรม ขององค์การบริหารส่วนตำบล ในอำเภอดอนมดแดง จังหวัดอุบลราชธานี. (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระสมุห์เกรียงไกร มหาปุญโญ. (2556). ความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อภาวะผู้นำแบบการปกครองประชาธิปไตย ตามทัศนะพระพุทธศาสนาในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลท่าข้าม อำเภอหาดใหญ่จังหวัดสงขลา. (การค้นคว้าอิสระรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการภาครัฐและเอกชน). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.
สุเทพ เอี่ยมคง. (2550). แนวทางการสร้างความปรองดองตามรัฐธรรมนูญฉบับใหม่. เข้าถึงได้จาก https://www.parliament.go.th › ewt › ewt_dl_link
สุวิมล ติรกานันท์. (2549). การเลือกใช้สถิติในงานวิจัยทางสังคมศาสตร์: แนวทางสู่การปฏิบัติ. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อาจพล วงศ์บุษราคัม. (2553). การบริหารงานของกรมชลประทานตามหลักธรรมาภิบาล. (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
อาภรณ์รัตน์ เลิศไผ่รอด. (2554). ความพึงพอใจของประชาชนต่อการบริการสาธารณะตามหลักสาราณียธรรมขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองกรด จังหวัดนครสวรรค์. (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
Colleen, M. (2010). A Moral Theory of Political Reconciliation. England: Cambridge University Press.