การพัฒนาสถานศึกษาสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนในเครือเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน ความเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ 2) ศึกษาแนวทางการพัฒนาความเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนในเครือเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ผู้บริหาร ครูและบุคลากรโรงเรียนในเครือเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ จำนวน 297 คน สถิติที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า 1) สภาพปัจจุบัน ความเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนในเครือเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ อยู่ในระดับมาก จำแนกเป็นรายด้าน พบว่า ด้านการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมาได้แก่ ด้านการจัดการความรู้ ด้านรูปแบบความคิด ด้านการมีวิสัยทัศน์ร่วมกัน ด้านการเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีม ด้านการแก้ปัญหาอย่างมีระบบ และด้านการปรับเปลี่ยนองค์กร ตามลำดับ และ 2) แนวทางการพัฒนาความเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนในเครือเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ พบว่ามี 7 ด้าน ได้แก่ 2.1) ด้านการมีวิสัยทัศน์ร่วมกัน ผู้บริหารควรสร้างบรรยากาศกระตุ้นให้บุคลากรเกิดการพัฒนาวิสัยทัศน์ของตนเองให้สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของโรงเรียน 2.2) ด้านการปรับเปลี่ยนองค์กร ส่งเสริมให้บุคลากรทุกคนมีส่วนร่วมในการกำหนดการเปลี่ยนแปลงกลยุทธ์ในองค์กร 2.3) ด้านรูปแบบความคิด ส่งเสริมให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันที่หลากหลาย และรับฟังแนวความคิดใหม่ ๆ อันเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาองค์กรต่อไป 2.4) ด้านการจัดการความรู้ องค์กรต้องมีการจัดการข้อมูลสารสนเทศอย่างเป็นระบบ 2.5) ด้านการเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีม ส่งเสริมให้บุคลากรทุกคนมีส่วนร่วมในการสนทนาและอภิปรายในเชิงสร้างสรรค์ นำไปสู่การหาข้อสรุปเพื่อนำไปเป็นแนวปฏิบัติร่วมกัน 2.6) ด้านการแก้ปัญหาอย่างมีระบบ องค์กรจะต้องมีการจัดระบบการติดต่อสื่อสารทั้งภายในและภายนอกองค์กรเพื่อติดตามงานที่มีประสิทธิภาพ และ 2.7) ด้านการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี องค์กรจะต้องมีระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่ทันสมัยและทันกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลง และผู้บริหารมีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีในการปฏิบัติงานและการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพและเพียงพอ
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงพิมพ์กับวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นข้อคิดเห็น และความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิจยวิชาการ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่ง ส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อการกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวิจยวิชาการก่อนเท่านั้น
References
โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ. (2562). รายงานสรุปผลประเมินคุณภาพการศึกษาโรงเรียนใน เครือเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ. (อัดสำเนา).
โสภณ งามสวย. (2559). การพัฒนาแนวทางความเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 24. (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณทิต). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ปฏิมา ถนิมกาญจน์, พรทิพย์ รอดพ้น และสุกานดา กลิ่นขจร. (2563). องค์การแห่งการเรียนรู้ บรรยากาศองค์การ ส่งผลต่อพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การภาคอุตสาหกรรมธุรกิจบริการของแหล่งท่องเที่ยวอารยธรรมอีสานใต้. นครราชสีมา: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน
ปริพนธ์ จำเริญพัฒน์. (2560). แนวทางการพัฒนาสู่ความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของสำนักงานพาณิชย์จังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสาร มจร สังคมศาสตรปริทรรศน์, 6(2), 751-766.
ภาวิดา ธาราศรีสุทธิและคณะ. (2559). การศึกษาอิสระ Independent Studies. กรุงเทพฯ: มิตรภาพการพิมพ์และสติวดิโอ.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560-2564). เข้าถึงได้จาก https://kbphpp. nationalhealth.or.th/bitstream/handle/123456789/7704/Economic%20Development%20Plan.pdf?sequence=1&isAllowed=y
สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. (2558). พจนานุกรมศัพท์ศึกษาศาสตร์ร่วมสมัย ฉบับราชบัณฑิตยสภา. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคลเจี้ยฮั้ว.
Casey, D. (1996). Managing Learning Organizations. Buckingham: Open University Press.
David A. G. (2002). General Management: Processes and Action Text and Case. London: McGraw-Hill.
Marquardt, M. J. (2002). Building the learning organization: mastering the 5 elements for corporate learning. Palo Alto, C.A.: Davies-Black.
Senge, P. M. (1990). The fifth discipline: The art and practice of the learning organization. London: Century Press.