คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของครูในยุคดิจิทัลตามแนวทางพระพุทธศาสนา

Main Article Content

พระปลัดสามารถ จนฺทสาโร (สิงห์รักษ์)
วัฒนะ กัลยาณ์พัฒนกุล
วรกฤต เถื่อนช้าง

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาคุณลักษณะของครูตามแนวทางพระพุทธศาสนา 2) ศึกษาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของครูในยุคดิจิทัล และ 3) นำเสนอแนวทางการประยุกต์ใช้หลักพุทธธรรมเพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของครูในยุคดิจิทัล เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยศึกษาข้อมูลจากพระไตรปิฎก เอกสารวิชาการทางพระพุทธศาสนาและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ผลการวิจัย พบว่า 1) คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของครูตามหลักพระพุทธศาสนา ต้องมีหลักธรรมธรรมเทศกธรรม 5 ประการ ได้แก่ (1) อนุบุพพิกถา สอนให้มีขั้นตอนถูกลำดับ (2) ปริยายทัสสาวี จับจุดสำคัญมาขยายให้เข้าใจเหตุผล (3) อนุทยตา ตั้งจิตเมตตาสอนด้วยความปรารถนาดี (4) อนามิสันดร ไม่มีจิตเพ่งเล็งมุ่งเห็นแก่อามิส และ (5) อนุปหัจจ์ วางจิตตรงไม่กระทบตนและผู้อื่น 2) คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของครูในยุคดิจิทัล คือ ความมีจรรยาบรรณวิชาครูเป็นสิ่งสำคัญในการจำแนกอาชีพว่าเป็นวิชาชีพ อาชีพที่เป็น “วิชาชีพ” นั้นกำหนดให้มีองค์กรรองรับและกำหนดมาตรฐานของความประพฤติของผู้อยู่ในวงการวิชาชีพซึ่งเรียกว่า “จรรยาบรรณ“ และ 3)แนวทางการประยุกต์ใช้หลักพุทธธรรมเพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของครูในยุคดิจิทัล ได้แก่ ส่งเสริมให้ครูผู้สอนนำหลักเมตตา ความรัก ความปรารถนาดี หลักกรุณา ความสงสาร ปรารถนาจะช่วยให้พ้นจากความทุกข์และปัญหาอุปสรรคนานาประการ หลักมุทิตา ความพลอยยินดีด้วยการสนับสนุนและส่งเสริม การให้ความชื่นชมและการให้ของรางวัลในโอกาสที่ทำดีหรือประสบความสำเร็จอย่างใดอย่างหนึ่ง มีการนำหลักอุเบกขามาใช้ในการตัดสินตอนที่ผู้เรียนหรือลูกศิษย์มีปัญหากันและตัดสินด้วยความบริสุทธิ์ยุติธรรม

Article Details

How to Cite
พระปลัดสามารถ จนฺทสาโร (สิงห์รักษ์), กัลยาณ์พัฒนกุล ว. ., & เถื่อนช้าง ว. . (2022). คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของครูในยุคดิจิทัลตามแนวทางพระพุทธศาสนา. วารสารวิจยวิชาการ, 5(4), 35–44. https://doi.org/10.14456/jra.2022.82
บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. กรุงเทพฯ: บริษัท พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.

บรรยวัสถ์ ฝางคำ. (2555). พุทธวิธีการสอน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พรรณอร อุชุภาพ. (2561). การศึกษาและวิชาชีพครู. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พระสมุห์นริศ นรินฺโท (แซ่น้า). (2561). การพัฒนาครูเพื่อคุณภาพของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21. (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพุทธบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

รักษิต สุทธิพงษ์. (2560). กระบวนทัศน์ใหม่ทางการศึกษากับการพัฒนาครูไทยในยุคดิจิทัล. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 19(2), 344-355.

วิไลลักษณ์ ลังกา. (2559). โครงการอนาคตของคุณลักษณะครูไทยในทศวรรษหน้า. (รายงานการวิจัย). คณะศึกษาศาสตร์: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สำนักเลขาธิการการสภาการศึกษา. (2562). ครูไทยยุคใหม่สนใจดิจิทัล. กรุงเทพฯ: บริษัท พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.

อภิภา ปรัชญพฤทธิ์. (2561). การพัฒนารูปแบบการผลิตครูเพื่อรองรับการศึกษายุค 4.0. (รายงานการวิจัย). คณะครุศาสตร์: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.