แนวทางการดำเนินงานวิชาการยุคปกติวิถีใหม่ของโรงเรียนเอกชนจังหวัดนครสวรรค์ สังกัดสำนักคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการดำเนินงานวิชาการ สร้างแนวทางและประเมินแนวทางการดำเนินงานงานวิชาการยุคปกติวิถีใหม่ของโรงเรียนเอกชนจังหวัดนครสวรรค์ จากกลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้อำนวยการโรงเรียน หัวหน้าฝ่ายวิชาการ และครู จำนวน 306 คน เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา โดยใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามสภาพการดำเนินงานวิชาการยุคปกติวิถีใหม่ของโรงเรียนเอกชน เป็นมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับของลิเคิร์ท ซึ่งมีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.99 จัดประชุมสนทนากลุ่มผู้เชี่ยวชาญจำนวน 7 คน เครื่องมือเป็นร่างแนวทางและแบบบันทึกการสนทนากลุ่ม และแบบประเมินแนวทางเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับของลิเคิร์ท สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า 1) สภาพการดำเนินงานงานวิชาการยุคปกติวิถีใหม่ของโรงเรียนเอกชน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (=3.83, S.D.=0.10) ด้านที่มีค่าเฉลี่ยของสภาพการดำเนินงานสูงสุด คือ ด้านการวัดและประเมินผลทางการศึกษา อยู่ในระดับมาก (=4.31, S.D.=0.19) และด้านที่มีค่าเฉลี่ยของสภาพการดำเนินงานต่ำสุด คือ ด้านการนิเทศเพื่อการศึกษา อยู่ในระดับปานกลาง (=3.37, S.D.=0.26) 2) แนวทางการดำเนินงานงานวิชาการยุคปกติวิถีใหม่ของโรงเรียนเอกชนทั้ง 6 ด้าน คือ ผู้อำนวยการกำหนดนโยบายและสร้างความตระหนักให้แก่คณะครูเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนรูปแบบออนไลน์ที่มุ่งเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ จัดทำเครื่องมือการวัดและประเมินผลทางการศึกษาในช่วงการจัดการเรียนการสอนยุคปกติวิถีใหม่ จัดอบรมให้ความรู้เรื่องการสร้างและพัฒนาสื่อเทคโนโลยีเพื่อนำไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนรูปแบบใหม่ 3) การประเมินแนวทางการดำเนินงานงานวิชาการยุคปกติวิถีใหม่ของโรงเรียนเอกชน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (=4.27, S.D.=0.07) ผลการประเมินด้านความถูกต้อง อยู่ในระดับมาก (=4.15, S.D.=0.21) ด้านความเหมาะสม อยู่ในระดับมาก (=4.37, S.D.=0.07) ด้านความเป็นไปได้ อยู่ในระดับมาก (=4.12, S.D.=0.05) และด้านความเป็นประโยชน์ อยู่ในระดับมาก (=4.42, S.D.=0.07)
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงพิมพ์กับวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นข้อคิดเห็น และความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิจยวิชาการ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่ง ส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อการกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวิจยวิชาการก่อนเท่านั้น
References
แก่นนคร พูนกลาง. (2559). ความสัมพันธ์ระหว่างการดำเนินงานงานวิชาการกับการจัดสภาพแวดล้อมางการเรียนของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 1. (สารนิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการดำเนินงานการศึกษา). คณะศึกษาศาสตร์: มหาวิทยาลัยบูรพา.
ฐิติวัสส์ สุขป้อม. (2563). ครูกับเทคโนโลยีการสอนในศตวรรษที่ 21. วารสารบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม, 15(2), 1-17.
พิชิต ฤทธิ์จรูญ. (2557). หลักการวัดและประเมินผลการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: เฮาส์ ออฟ เคอร์ มิสท์.
พุทธชาด แสนอุบล. (2561). สภาพปัญหาและแนวทางการปรับปรุงการนิเทศภายในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 20. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). คณะศึกษาศาสตร์: มหาวิทยาลัยบูรพา.
ยืน ภู่วรรณ. (2563). ชีวิตวิถีใหม่และความฉลาดทางดิจิทัล. เข้าถึงได้จาก https://learningdq-dc.ku.ac.th.
วัฒนา โรจน์เจริญชัย. (2553). การบริหารงานวิชาการโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของสถานศึกษาในกลุ่มเครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษาเบญจมิตร อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). คณะศึกษาศาสตร์: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
วิทยา วาโย และคณะ. (2563). การเรียนการสอนแบบออนไลน์ภายใต้สถานการณ์แพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 : แนวคิดและการประยุกต์ใช้การจัดการเรียนการสอน. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9: วารสารส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม, 14(34), 97-106.
ศศิธร บัวทอง. (2560). การวัดและประเมินผลทางการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. Veridian E-Journal Silpakorn University ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 10(2), 1,856-1,867.
ศุภวรรณ สุธัมมา. (2564). แนวทางการบริหารงานวิชาการในโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 2. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาการบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.
สารินทร์ เอี่ยมครอง. (2561). แนวทางการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาในจังหวัดชัยนาท สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 5. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.
สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครสวรรค์. (2564). แผนพัฒนาการศึกษา (พ.ศ. 2563-2565) จังหวัดนครสวรรค์ ฉบับทบทวน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2564. เข้าถึงได้จากhttp://www.nswpeo.go.th.
สุวิมล มธุรส. (2564). การจัดการศึกษาในระบบออนไลน์ในยุค New Normal Covid-19. วารสารรัชต์ภาคย์, 15(40), 35-36.
อติพร เกิดเรือง. (2550). การส่งเสริมการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 เพื่อรองรับสังคมไทยในยุคดิจิทัล. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง, 6(1), 173-183.