แนวทางการพัฒนาการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นตามหลักไตรสิกขา ในโรงเรียนขยายโอกาส สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 1
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบสภาพการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน และหาแนวทางการพัฒนาการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นตามหลักไตรสิกขาในโรงเรียนขยายโอกาส สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 1 ใช้วิธีวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา ครูหัวหน้างานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน และครูประจำชั้น รวมทั้งสิ้น 162 คน และผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 9 รูป/คน โดยเครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่าและแบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ความถี่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test, F-test และสังเคราะห์เนื้อหา งานวิจัย พบว่า 1) ระดับความคิดเห็นที่มีต่อสภาพการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (= 4.43, S.D. = 0.54) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล รองลงมา คือ ด้านการคัดกรอง และต่ำสุด คือ ด้านการส่งต่อ 2) ระดับความคิดเห็นที่มีต่อการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน จำแนกตามตำแหน่งหน้าที่ พบว่า ผู้บริหารและครูที่มีตำแหน่งหน้าที่ต่างกันมีความคิดเห็นต่อการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนแตกต่างกัน เมื่อจำแนกตามประสบการณ์การทำงาน พบว่า ผู้บริหารและครูที่มีประสบการณ์การทำงานต่างกันมีความคิดเห็นต่อการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนไม่แตกต่างกัน และ 3) แนวทางการพัฒนาการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นตามหลักไตรสิกขาในโรงเรียนขยายโอกาส สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 1 พบว่า ผู้บริหารควรแต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณาเกณฑ์การคัดกรองให้ชัดเจน มีการติดต่อประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในรูปแบบต่าง ๆ ด้วยความเป็นมิตร ส่งเสริมให้มีการสำรวจความต้องการของนักเรียนทุกคน และควรประชุมครูและผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อร่วมกันกำหนดหลักเกณฑ์และแนวทางการส่งต่อให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงพิมพ์กับวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นข้อคิดเห็น และความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิจยวิชาการ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่ง ส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อการกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวิจยวิชาการก่อนเท่านั้น
References
กมลวรรณ หยวกทอง. (2560). ปัญหาการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนขยายโอกาสสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 1. (งานนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). คณะศึกษาศาสตร์: มหาวิทยาลัยบูรพา.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
คมสันต์ ทะลายรัมย์. (2560). ปัญหาและแนวทางแก้ปัญหาการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนมัธยมศึกษาในอำเภอเขาคิชฌกูฏ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 17. (งานนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). คณะศึกษาศาสตร์: มหาวิทยาลัยบูรพา.
ณัฏฐ์ดนัย รุ่งกลิ่นขจรกุล. (2549). แนวทางการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา อำเภอด่านช้าง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 3. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.
ณัฐพรรณ แสงน้ำผึ้ง. (2562). แนวทางการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนขยายโอกาส สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 2. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.
นิสรา สิมพรักษ์. (2560). สภาพการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดระยอง. (งานนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). คณะศึกษาศาสตร์: มหาวิทยาลัยบูรพา.
นุชรีย์ ผึ้งคุ้ม. (2560). ปัญหาและแนวทางการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนสอยดาววิทยา จังหวัดจันทบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 17. (งานนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). คณะศึกษาศาสตร์: มหาวิทยาลัยบูรพา.
สมพร เล็กจินดา. (2561). การจัดการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนที่ส่งผลต่อการดำเนินงานการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 1. (2563) ข้อมูลพื้นฐานโรงเรียน สังกัด สพป.นครสวรรค์ เขต1. เข้าถึงได้จาก https//data.bopp-obec.info/emis/school. php?Area_ CODE=6001
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี. (2560) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560-2564). กรุงเทพฯ: สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรกระทรวงเกษตรและสหกรณ์.
สุภัสสร สุริยะ. (2562). การดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนขยายโอกาส สังกัดกรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยสยาม.
สุมานพ ศิวารัตน์. (2561). การพัฒนาคุณภาพชีวิตด้วยไตรสิกขา. เข้าถึงได้จาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/ndsijournal/article/view/78848
อัจฉรา สอนโว. (2560). ประสิทธิผลการบริหารระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนตามหลักสังคหวัตถุ 4 ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 25. (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
อัจฉราภรณ์ ปรางโท้. (2561). แนวทางการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยนาท. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.