แนวทางการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษายุคดิจิทัล ตามหลักสัปปุริสธรรม 7 ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากำแพงเพชร

Main Article Content

วีรภัทร ภักดีพงษ์
อานนท์ เมธีวรฉัตร
วินัย ทองมั่น

บทคัดย่อ

บทความวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษายุคดิจิทัล 2) เปรียบเทียบการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษายุคดิจิทัลของโรงเรียนโดยจำแนกตามขนาดโรงเรียน และ 3) หาแนวทางการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษาในยุคดิจิทัล ตามหลักสัปปุริสธรรม 7 ของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากำแพงเพชร ใช้ระเบียบวิธีแบบผสานวิธี การวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารสถานศึกษา ข้าราชการครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากำแพงเพชร จำนวน 305 คน จากประชากร จำนวน 32 โรงเรียน รวม 1,710 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ใช้แบบสอบถามชนิดประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย การแจกแจงความถี่  ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิตและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบการทดสอบสมมติฐานโดยการทดสอบค่า t-test และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 9 รูป/คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 1) สภาพการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษายุคดิจิทัลโดยภาพรวมมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ทุกด้านมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก 2) ผลการเปรียบเทียบการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษายุคดิจิทัลของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากำแพงเพชรโดยจำแนกตามขนาดโรงเรียนโดยภาพรวมไม่แตกต่างกัน โดยมีค่า sig. = 0.12 สูงกว่านัยสำคัญทางสถิติซึ่งกำหนดไว้ที่ระดับ 0.05 จึงปฏิเสธสมมติฐานที่ตั้งไว้ 3) แนวทางการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษาในยุคดิจิทัล ตามหลักสัปปุริสธรรม 7 ของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากำแพงเพชร ได้แก่ (1) ด้านการพัฒนาหลักสูตรของสถานศึกษา (2) ด้านการจัดการเรียนการสอนในสถานศึกษา (3) ด้านการวัดผล ประเมินผล และดำเนินการเทียบโอนผลการเรียน (4) ด้านการนิเทศการศึกษา (5) ด้านการพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในและมาตรฐานการศึกษา (6) ด้านการพัฒนาและใช้สื่อเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา


ผลการวิจัยพบว่า


1) สภาพการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษายุคดิจิทัลของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากำแพงเพชรโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( =4.27, S.D.=0.71) เมื่อพิจารณารายด้านพบว่าทุกด้านมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก โดยด้านการการพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในและมาตรฐานการศึกษามีค่าเฉลี่ยสูงสุด ( =4.31, S.D.=0.74) รองลงมาได้แก่ ด้านการพัฒนาหลักสูตรของสถานศึกษา ( =4.30, S.D.=0.74) ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดได้แก่ ด้านการพัฒนาและใช้สื่อเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ( =4.19, S.D.=0.68)


 2) ผลการเปรียบเทียบการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษายุคดิจิทัลของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากำแพงเพชรโดยจำแนกตามขนาดโรงเรียนโดยภาพรวมไม่แตกต่างกัน โดยมีค่า sig. = 0.12 สูงกว่านัยสำคัญทางสถิติซึ่งกำหนดไว้ที่ระดับ 0.05 จึงปฏิเสธสมมติฐานที่ตั้งไว้


3) แนวทางการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษาในยุคดิจิทัล ตามหลักสัปปุริสธรรม 7 ของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากำแพงเพชร ได้แก่ (1) ด้านการพัฒนาหลักสูตรของสถานศึกษา (ธัมมัญญุตาและอัตถัญญุตา,ปริสัญญุตา, ปุคคลัญญุตา) (2) ด้านการจัดการเรียนการสอนในสถานศึกษา (ธัมมัญญุตา, อัตถัญญุตา, กาลัญญุตา) (3) ด้านการวัดผล ประเมินผล และดำเนินการเทียบโอนผลการเรียน (อัตตัญญุตา, ปริสัญญุตา, มัตตัญญุตา) (4) ด้านการนิเทศการศึกษา (อัตตัญญุตา,ปริสัญญุตา, กาลัญญุตา) (5) ด้านการพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในและมาตรฐานการศึกษา (มัตตัญญุตา, อัตถัญญุตา)  (6) ด้านการพัฒนาและใช้สื่อเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา  (อัตตัญญุตา, ปุคคลัญญุตา, ปริสัญญุตา, มัตตัญญุตา)

Article Details

How to Cite
ภักดีพงษ์ ว. ., เมธีวรฉัตร อ. ., & ทองมั่น ว. . (2022). แนวทางการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษายุคดิจิทัล ตามหลักสัปปุริสธรรม 7 ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากำแพงเพชร. วารสารวิจยวิชาการ, 5(4), 241–254. https://doi.org/10.14456/jra.2022.98
บท
บทความวิจัย

References

เกียรติศักดิ์ ลำพองชาติ. (2563). ทักษะการทำงานในโลกดิจิทัล. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการครุสภา.

ทิพย์สิริ กาญจนวาสี และศิริชัย กาญจนวาสี. (2561). วิธีวิทยาการวิจัย. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัดพิมพ์ทันใจ.

พระราชวุธ ปญฺญาวชิโรและคณะ. (2562). การบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัลตามหลักสัปปุริสธรรม 7 โรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษาจังหวัดขอนแก่น. (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพุทธบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระอนันต์ ธมฺมวิริโย (นามทอง) และคณะ. (2564). การบริหารงานวิชาการในยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 1. Journal of Modern Learning Development, 6(1), 264-276.

สารินทร์ เอี่ยมครอง. (2561). แนวทางการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาในจังหวัดชัยนาท สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 5. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิตสาขาวิชาการบริหารการศึกษา). นครสวรรค์: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.

สำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ. (2561). ยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2561-2580 (ฉบับประกาศราชกิจจานุเบกษา). กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

อติพงษ์ สุขนาคและคณะ. (2556). การพัฒนารูปแบบการวางแผนการบริหารงานวิชาการโรงเรียนบ้านทุ่งกราด สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 3. วารสารการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา, 7(2), 97.

อภิญญา รัตนโกเมศ. (2552). การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุดรธานี เขต 3. วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 32(4), 180-192.

อัจฉริยาพร ศักดิ์บุตร. (2556). ความสัมพันธ์ระหว่างสมรรถนะกับการบริหารงานวิชาการของผู้บริหาร โรงเรียนตามความคิดเห็นของครูและบุคลากรทางการศึกษา สังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). โครงการบัณฑิตศึกษา: มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี.