แนวทางการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของพระสอนศีลธรรม ในการพัฒนาเบญจศีล เบญจธรรม ของนักเรียนประถมศึกษาในสถานศึกษา อำเภอบึงนาราง จังหวัดพิจิตร
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของพระสอนศีลธรรม 2) เสนอแนวทางการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของพระสอนศีลธรรมในการพัฒนาเบญจศีล เบญจธรรมของนักเรียนประถมศึกษาในสถานศึกษา อำเภอบึงนาราง จังหวัดพิจิตร ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ กับผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 16 รูป/คน การสนทนากลุ่มเฉพาะกับผู้เชี่ยวชาญจำนวน 7 รูป/คน โดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 1) สภาพการมีส่วนร่วมของพระสอนศีลธรรม ในการพัฒนาเบญจศีล เบญจธรรม ของนักเรียนประถมศึกษาในสถานศึกษา อำเภอบึงนาราง จังหวัดพิจิตร ประกอบด้วย 1.1) สภาพการมีส่วนร่วมในการเป็นผู้นำด้านศีลและเป็นแบบอย่างทางความประพฤติดี 1.2) สภาพการมีส่วนร่วมในการเป็นผู้อบรมสั่งสอนเยาวชนให้รักษาศีล 1.3) สภาพการมีส่วนในการกระตุ้นเตือนให้เยาวชนตระหนักถึงความสำคัญของการประพฤติตามหลักเบญจศีล เบญจธรรม 1.4) สภาพการมีส่วนร่วมในการสอนให้เยาวชนเข้าใจถึงรายละเอียดของคุณธรรม 1.5) สภาพการมีส่วนร่วมในการส่งเสริมให้เยาวชนมีจิตสำนึกต่อสังคมด้วยการเป็นผู้ปลูกจิตสำนึกให้คำนึงถึงประโยชน์ของสังคม และ 2) แนวทางทางการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของพระสอนศีลธรรม ประกอบด้วย 2.1) ผู้บริหารควรส่งเสริมการนำหลักคุณธรรมมาใช้ในการดำเนินชีวิต ธรรมที่เป็นคุณความดีงาม สิ่งที่มีคุณค่ามีประโยชน์ 2.2) ผู้บริหารควรส่งเสริมสุขภาพจิตเด็กที่ดี ให้เกลียดชั่ว กลัวบาป 2.3) ผู้บริหารควรส่งเสริมให้มีทักษะในการทำงานร่วมกัน มีความสามัคคี 2.4) ผู้บริหารควรส่งเสริมอบรมสั่งสอนของเด็กคุณและโทษของครอบครัวที่แตกแยก และ 2.5) ผู้บริหารควรส่งเสริมความสำคัญกับการส่งเสริมศีลธรรม ตามกติกา กฎเกณฑ์ของสังคม ที่วางไว้เพื่อให้เกิดความเป็นระเบียบ
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงพิมพ์กับวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นข้อคิดเห็น และความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิจยวิชาการ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่ง ส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อการกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวิจยวิชาการก่อนเท่านั้น
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2561). แนวทางการดำเนินงานโรงเรียนวิถีพุทธ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุสังฆภัณฑ์.
กีรติ ศรีวิเชียร. (2562). การจัดจริยศึกษาในโรงเรียน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์การศาสนา.
จิตรา วสุวานิช. (2562). จิตวิทยาการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
จุฑามาศ สนิทดี. (2560). การมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการศึกษาโรงเรียนอนุบาลเทิงสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเชียงราย เขต 4. (การศึกษาอิสระครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.
ชัยพร วิชชาวุธและธีรพร อุวรรณโณ. (2560). แนวคิดและพัฒนาการใหม่ในการปลูกฝังจริยธรรม ใน ความรู้คู่คุณธรรมรวมบทความเกี่ยวกับคุณธรรมจริยธรรมและการศึกษา. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ถวิล อรัญเวศ. (2560). นักบริหารมืออาชีพ: ในยุคเขตพื้นที่การศึกษา. วารสารการศึกษา, 4(2), 17-19.
นิตยา มั่นชำนาญ. (2557). ภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาเขาสมิง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตราด. (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยบูรพา.
บรรเทา กิตติศักดิ์. (2560). จริยธรรมทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สุวีริยาสาส์น.
พระครูปลัดกวีวัฒน์ (ธีรวิทย์ ฉนฺทวิชฺโช). (2561). การบริหารจัดการโครงการพระสอนศีลธรรมในโรงเรียนแบบ 8R Model. (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการการศึกษา). วิทยาลัยครุศาสตร์: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
พระครูสมุห์ธวัชชัย สุมุตฺโต (ม่วงไหมทอง). (2564). การมีส่วนร่วมของพระสอนศีลธรรมในการจัดการเรียนการสอนในโรงเรียนมัธยมบ้านน้ำพุ อำเภอคีรีมาศ จังหวัดสุโขทัย. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติครั้งที่ 7 “วิถีพุทธ วิถีชุมชน รากฐานชีวทัศน์เชิงสังคมล้านนาในสังคมวิถีใหม่”. (น. 1061-1073). ลำพูน: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระครูอุทัยปัญญาคุณ (ปัญญา สุะมฺโม). (2559). การมีส่วนร่วมของพระสงฆ์ในการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมแก่นักเรียนในสถานศึกษาตำบลหนองแก จังหวัดอุทัยธานี. (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). (2561). พุทธวิธีในการสอน. กรุงเทพฯ: มูลนิธิพุทธธรรม.
พระฟูตระกูล พุทฺธรกฺขิโต และคณะ. (2555). บทบาทของครูพระสอนศีลธรรมในโรงเรียน สังกัดศูนย์ครูพระสอนศีลธรรมในโรงเรียน วิทยาลัยศาสนศาสตร์เฉลิมพระเกียรติกาฬสินธุ์. โครงการครูพระสอนศีลธรรมในโรงเรียน: มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.
พระราชวรมุนี (ป.อ. ปยุตฺโต). (2561). พระพุทธศาสนากับสังคมไทย. กรุงเทพฯ: เจริญวิทย์การพิมพ์.
พระหงษ์ทอง กตธมฺโม (ชารีพร). (2558). ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อครูพระสอนศีลธรรมในโรงเรียนสังกัดมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด. วารสารมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด, 4(1), 265-276.
พัชรินทร์ จูแวน. (2549). การมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการศึกษาของโรงเรียนบ้านบ่อหลวง อำเภอฮอดจังหวัดเชียงใหม่. (การค้นคว้าอิสระศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
สุพัตรา มัชบรรดิษ. (2559). การมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการบริหารการศึกษาตามหลักสาราณียธรรม 6 ของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านเนินศาลา อำเภอโกรกพระ จังหวัดนครสวรรค์. (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.