แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการตามหลักอิทธิบาท 4 ของผู้บริหารโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 1

Main Article Content

อภิสิทธิ์ วงษ์ประดิษฐ
อานนท์ เมธีวรฉัตร
วินัย ทองมั่น

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 1 และ 2) เสนอแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการตามหลักอิทธิบาท 4 ของผู้บริหารโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์เขต 1 ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสานวิธี โดยการวิจัยเชิงปริมาณ และเชิงคุณภาพ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า และแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหาร และครูวิชาการ โรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 1 ทำการสุ่มอย่างง่าย โดยใช้โรงเรียนเป็นหน่วยสุ่ม ได้จำนวน 148 คน จาก 74 โรงเรียน ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 9 รูป/คน สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า 1) สภาพภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 1 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{X}  = 4.44, S.D. = 0.42) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีระดับสูงสุด คือ ด้านการสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ รองลงมา คือ ด้านการบริหารหลักสูตรและการสอน รองลงมา คือ ด้านการนิเทศการสอน และด้านที่มีระดับต่ำสุด คือ ด้านการกำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมาย และ 2) แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการตามหลักอิทธิบาท 4 ของผู้บริหารโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์เขต 1 โดยเรียงลำดับจากค่าเฉลี่ยมากไปหาน้อยได้ดังนี้ 2.1) ผู้บริหารควรวางแผนสนับสนุน ตรวจสอบ และปรับปรุงพัฒนาการสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ 2.2) ผู้บริหารควรวางแผนส่งเสริมคณะครูพัฒนาตนเอง ประเมิน และปรับปรุงหลักสูตรและการสอน 2.3) ผู้บริหารควรวางแผนดำเนินการนิเทศที่หลากหลาย ติดตาม และปรับปรุงการนิเทศการสอน 2.4) ผู้บริหารควรศึกษานโยบายและร่วมกันวางแผน อำนวยความสะดวก ตรวจสอบสะท้อนผล และปรับปรุงพัฒนาการกำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมาย

Article Details

How to Cite
วงษ์ประดิษฐ อ., เมธีวรฉัตร อ. ., & ทองมั่น ว. (2022). แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการตามหลักอิทธิบาท 4 ของผู้บริหารโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 1. วารสารวิจยวิชาการ, 5(4), 197–210. https://doi.org/10.14456/jra.2022.95
บท
บทความวิจัย

References

กลุ่มนิเทศติดตามและประเมินผลฯ สพป.นครสวรรค์ เขต 1. (2563). ผลการประเมินการประกันคุณภาพนอก โดยสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) หรือ สมศ. รอบ 4 ปีการศึกษา 2563. เข้าถึงได้จาก https://thaiqa.net/ login/login.php?id=MsTe576aAMg

กัญญลักษณ์ จันทรวิบูลย์. (2560). แนวทางส่งเสริมการบริหารงานวิชาการตามหลักอิทธิบาท 4 สำหรับโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ นนทบุรี. (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ฉัตรชัย จันทา. (2563). การศึกษาภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในจังหวัดนครพนม. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

ซันคิม ลอร์. (2561). ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนที่ส่งผลต่อประสิทธิผลงานวิชาการของโรงเรียนมัธยมศึกษาในกรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

ดาราวรรณ ศรีกาญจนา. (2562). รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการตามหลักพุทธธรรมสำหรับผู้บริหารสถานศึกษามัธยมศึกษา สังกัด กรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพุทธบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ทิพย์สิริ กาญจนวาสี และศิริชัย กาญจนนวาสี. (2564). วิธีวิทยาการวิจัย. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: พิมพ์ทันใจ.

เธียรพัฒน์ ชุปวา. (2559). แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารวิทยาลัยอาชีวศึกษาเอกชนในกรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาบริหารการศึกษา). คณะครุศาสตร์: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

บวร ปุยะติ. (2561). การบูรณาการหลักอิทธิบาท 4 ในการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 4. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

บุญชม ศรีสะอาด. (2554). การวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: สรีวิยาสาสน์.

บุญพา พรหมณะ. (2559). ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 1. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช.

ปราโมศ อิสโร. (2554). ภาวะผู้นำที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่ผ่านการประเมินและรับรองคุณภาพจากสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) ในรอบที่สองมีผลการประเมินในระดับดีและดีมาก. (ดุษฎีนิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาภาวะผู้นำทางการบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยทักษิณ.

พระมหาชินกฤต จิรวํโส (รูปสะอาด). (2561). การประยุกต์ใช้หลักอิทธิบาท 4 ในการจัดการเรียนการสอนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านตูม ตำบลบ้านจันทน์ อำเภอบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี. (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระมหาบรรจง ติสรโณ (ศรีสุข). (2560). ศึกษาการประยุกต์ใช้หลักอิทธิบาทธรรม 4 ในการจัดการเรียนการสอนของโรงเรียนปริยัติคุณรสวิทยา อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์. (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระวัชรินทร์ ชินวโร (ยิ้มย่อง). (2555). การบริหารงานวิชาการตามหลักอิทธิบาท 4 ของโรงเรียนสังกัดเทศบาลนครนครศรีธรรมราช. (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พัชราภรณ์ จันทพล. (2559). ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนในอำเภอองครักษ์สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครนายก. (งานนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). คณะศึกษาศาสตร์: มหาวิทยาลัยบูรพา

พิพัฒน์พงษ์ วิเศษ. (2563). ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

ยุพิน ขุนทอง. (2560). การบริหารงานวิชาการสู่ความเป็นเลิศตามหลักอิทธิบาท 4 ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 25. (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 1. (2563). จำนวนโรงเรียนจำแนกตามขนาดโรงเรียน ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563. เข้าถึงได้จาก https:// www.nsw1.go.th/index.php

สำนักงานสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดอุดรธานี. (2564). ขนาดโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การประถมศึกษา. เข้าถึงได้จาก https://www.udonpeo.go.th /web/? page_id =3325

สุนิสา ชาวประชา. (2564) ผลวิจัยชี้ ผอ.โรงเรียนขาดความเป็นผู้นำทางวิชาการ. เข้าถึงได้จาก https://www.kroobannok.com/88827.

Blasé, J. and Blasé, R. (2002). Empowering Teachers: What Successful Principals Do. Thousand Oaks California: Corwin.

Krejcie, R. V., & Morgan, D.W. (1970). Determining Sample Size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 608.