คุณลักษณะของครูสอนภาษาจีนตามความคิดเห็นของนักเรียนในโรงเรียนขนาดใหญ่ ก จังหวัดนนทบุรี

Main Article Content

หน้า หยาง
วัลลภา เฉลิมวงศาเวช

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาคุณลักษณะของครูสอนภาษาจีนตามความคิดเห็นของนักเรียนในโรงเรียนขนาดใหญ่ ก จังหวัดนนทบุรี และ 2) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณลักษณะของครูสอนภาษาจีนตามความคิดเห็นของนักเรียนในโรงเรียนขนาดใหญ่ ก จังหวัดนนทบุรี เป็นการวิจัยเชิงปริมาณมีกลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6 ที่ได้รับการเรียนวิชาภาษาจีนในโรงเรียนขนาดใหญ่ ก จังหวัดนนทบุรี จำนวน 114 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ One-Way ANOVA และ Multiple Regression Analysis ผลการวิจัย พบว่า 1) คุณลักษณะของครูสอนภาษาจีนตามความคิดเห็นของนักเรียนในโรงเรียนขนาดใหญ่ ก จังหวัดนนทบุรีในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{X} = 4.15) และ 2) ปัจจัยที่มีผลต่อคุณลักษณะของครูสอนภาษาจีนตามความคิดเห็นของนักเรียนในโรงเรียนขนาดใหญ่ ก จังหวัดนนทบุรี ประกอบด้วย ปัจจัยส่วนบุคคลด้านเพศ และระดับการศึกษาที่แตกต่างกันมีผลต่อคุณลักษณะของครูสอนภาษาจีน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และปัจจัยด้านมาตรฐานของครูสอนภาษาจีน ประกอบด้วย ด้านการเรียนการสอนภาษาจีนขั้นพื้นฐาน ด้านวิธีการสอนภาษาจีน ด้านการจัดการเรียนการสอนและการจัดการชั้นเรียน ด้านวัฒนธรรมจีนและการสื่อสารข้ามวัฒนธรรม และด้านจรรยาบรรณวิชาชีพและการพัฒนาวิชาชีพมีผลต่อคุณลักษณะของครูสอนภาษาจีนตามความคิดเห็นของนักเรียนในโรงเรียนขนาดใหญ่ ก จังหวัดนนทบุรีอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยมีอำนาจพยากรณ์ร้อยละ 73.40 (R2 = 0.734)

Article Details

How to Cite
หยาง ห. ., & เฉลิมวงศาเวช ว. . (2022). คุณลักษณะของครูสอนภาษาจีนตามความคิดเห็นของนักเรียนในโรงเรียนขนาดใหญ่ ก จังหวัดนนทบุรี. วารสารวิจยวิชาการ, 5(4), 111–122. https://doi.org/10.14456/jra.2022.88
บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2559). พัฒนาระบบการจัดการเรียนการสอนภาษาจีนในประเทศไทย: กรณีศึกษามหาวิทยาลัยปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน ในการสอนภาษาจีนให้แก่ชาวต่างชาติ. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ.

จารุกร จรดล, ภารดี อนันต์นาวี และเจริญวิชญ์ สมพงษ์ธรรม. (2558). สภาพปัญหาและแนวทางการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนวิชาภาษาจีนของโรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดนนทบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 3. วารสารพยาบาลทหารบก, 16(3), 95-104.

นภาลักษณ์ ตั้งอรุณศิลป์. (2559). การสร้างชุดกิจกรรมการเรียนวิชาภาษาจีนขั้นพื้นฐานเพื่อพัฒนาการจำอักษรจีนโดยใช้เทคนิคมอร์ฟฟิ่งร่วมกับการเรียนแบบร่วมมือ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน). คณะศึกษาศาสตร์: มหาวิทยาลัยบูรพา.

นวพร ศรีสุข และยุวารี ยันปรีชาเศรษฐ. (2563). การพัฒนาตัวบ่งชี้สมรรถนะครูสอนภาษาจีน ระดับมัธยมศึกษา. Silpakorn Educational Research Journal, 12(2), 360-375.

จันทร์เพ็ญ ทองดี, กมลทิพย์ ศรีหาเศษ และสุวิมล ติรกานันท์. (2564). การวิเคราะห์องค์ประกอบคุณลักษณะของครูที่ดีในทัศนะของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2. วารสารสถาบันวิจัยญาณสังวร, 12(1), 1-12.

นำโชค บุตรน้ำเพ็ชร. (2562). การพัฒนาวิชาชีพครูสอนภาษาจีนในประเทศไทยตามกรอบมาตรฐานครูสอนภาษาจีนระดับสากลของฮั่นปั้น. Walailak Journal of Social Sciences, 12(2), 298-320.

เยาวลักษณ์ วิสุทธิ์สิริ. (2564). คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของครูภาษาจีนในมุมมองของนักศึกษามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตสุราษฎร์ธานี. วารสารมนุษยศาสตร์ และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, 12(1), 200-211.

สำนักงานจังหวัดนนทบุรี. (2561). ข้อมูลการจัดการศึกษา. นนทบุรี: สำนักงานจังหวัดนนทบุรีกลุ่มงานยุทธศาสตร์และข้อมูลเพื่อการพัฒนาจังหวัด.

สุวรรณ เลียงหิรัญถาวร. (2556). การจัดการเรียนการสอนภาษาจีนในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายของโรงเรียนในจังหวัดเชียงใหม่ : รายงานผลการวิจัย มหาวิทยาลัยแม่โจ้. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยแม่โจ้

หวางเหิง และฟางฟาง. (2561). ความพึงพอใจของนักศึกษาสาขาวิชาภาษาจีน ชั้นปีที่ 3 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคามที่มีต่อการจัดการเรียนการสอน ณ สาธารณรัฐประชาชนจีน. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 14(1), 117-132.

Best, J.W. (1986). Research in Education. (5th ed.). New Jersey: Prentice Hall, Inc.

Rui, H. (2561). การศึกษาเกี่ยวกับบทบาทของครูผู้สอนภาษาจีนในห้องเรียน: กรณีศึกษาโรงเรียนแถบปริมณฑล. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ.

Zhen, L. (2560). คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของครูสอนภาษาจีนตามความคิดเห็นของผู้บริหารและครูโรงเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัดปทุมธานี. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.