องค์ประกอบและกระบวนการของพิธีกรรมของเรือเหนือในชุมชนคีรีวง อำเภอลานสกา จังหวัดนครศรีธรรมราช
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบและกระบวนการของพิธีกรรมของเรือเหนือในชุมชนคีรีวง เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพกับกลุ่มเรือเหนือคีรีวง ข้อมูลได้จากการสัมภาษณ์เชิงโครงสร้างและการเปิดเวทีชุมชน โดยวิธีการสังเกตแบบมีส่วนร่วม การจัดกระบวนการสนทนากลุ่มผู้นำในชุมชน เจ้าหน้าที่ภาครัฐและผู้นำศาสนา คัดเลือกแบบเจาะจง รวมทั้งสิ้นจำนวน 38 คน เพื่อนำมาข้อมูลมาวิเคราะห์เชื่อมโยงประเด็น สังเคราะห์เรียบเรียงและนำเสนอผลเชิงเรื่องเล่าของชุมชน ผลการวิจัยพบว่า องค์ประกอบและกระบวนการของพิธีกรรมมีประธานของพิธีคือ ตาซ้อง ชำนะ มีผู้ประกอบพิธีและผู้ร่วมพิธีได้แก่ ปราชญ์ชาวบ้าน ผู้นำชุมชน ตัวแทนจากภาครัฐ ภาคเอกชนและภาคประชาชนใช้สถานที่ของวัดคีรีวง และคลองท่าดีเพื่อประกอบพิธีกรรม
ในวันพระใหญ่ หลังพิธีทางสงฆ์และการกวนข้าวทิพย์เสร็จ นำอุปกรณ์ภายใน พืชผักผลไม้และเครื่องครัวใส่ในเรือเหนือ ประธานในพิธี ผู้ประกอบพิธีและผู้ร่วมพิธีร่วมกันผูกสายสิญจน์และผ้าสามสีที่หัวเรือเหนือเพื่อสักการะแม่ย่านาง ประธานในพิธีนำน้ำในลำคลองมาชโลมให้ทั่วเรือเหนือ นำเรือเหนือลงในคลองและล่องไปตามสายน้ำและรับประทานอาหารร่วมกัน เมื่อเสร็จสิ้นนำเรือเหนือเก็บรักษาไว้ในวัดคีรีวงตามเดิม
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงพิมพ์กับวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นข้อคิดเห็น และความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิจยวิชาการ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่ง ส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อการกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวิจยวิชาการก่อนเท่านั้น
References
กาญจนา แก้วเทพ. (2533). การทำงานเพื่อพัฒนาแนววัฒนธรรมชุมชน. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
เดโช แขน้ำแก้ว และเชษฐา มุหะหมัด. (2564). เรือเหนือคีรีวง: ปฐมเหตุและการเปลี่ยนแปลงในปัจจุบัน. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 8(9), 227-237.
ตรงกมล สนามเขต และนิตยา กาบจันทร์. (2565). แนวทางการเสริมสร้างทุนชุมชนให้เข้มแข็งสู่การกำหนดปัจจัยแห่งความสำเร็จ จังหวัดอุตรดิตถ์. วารสารวิจยวิชาการ, 5(1), 129-144.
ประณิดา หมื่นรักษ์. (2563). ความเชื่อและพิธีกรรมการแช่ว่านยา กรณีศึกษา วัดเขาอ้อ หมู่ที่ 3 ตำบลมะกอกเหนือ อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง. (สารนิพนธ์ศิลปศาสตร์บัณฑิต). นครศรีธรรมราช: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช.
พงศธร คัณฑมนัส, ศุภกฤษ เมธีโภคพงษ์ และหนูม้วน ร่มแก้ว. (2557). พิธีกรรมความเชื่อในการฟ้อนผีมดผีเม็งแบบล้านนา. วารสารวิชาการเครือข่ายบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ, 4(7), 65-74.
สุพัตรา คงขำ, เครือวัลย์ คงขำ, สุภะรัฐ ยอดระบำ และอรุณวรรณ ชูสังกิจ. (2564). การศึกษาผ้าบาติก เพื่อเสริมสร้างอัตลักษณ์ท้องถิ่นของจังหวัดนครศรีธรรมราช กรณีศึกษา: กลุ่มผ้าบาติกสำเภาทอง ตำบลท้ายสำเภา อำเภอพระพรหม จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารนาคบุตรปริทรรศน์, 13(2), 32-41.