มาตรการทางกฎหมายสิ่งแวดล้อมเกี่ยวกับการบริหารจัดการน้ำภาคอุตสาหกรรมของผู้มีส่วนได้เสียบริเวณลุ่มน้ำมูลตอนล่างจังหวัดอุบลราชธานี

Main Article Content

พรพรรษา คงประยูร

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สำรวจปัญหา 2) ประเมินสภาพปัญหาและผลกระทบ และ 3) เสนอปรับปรุงนโยบาย เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการการสำรวจพื้นที่จำนวน 8 อำเภอ การสัมภาษณ์เชิงลึกกับกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 10 คน แบ่ง 2 กลุ่ม คือ กลุ่มผู้มีส่วนได้เสีย และกลุ่มนักวิชาการ การสนทนากลุ่มแบบเจาะจง จำนวน 8 คน และการจัดเวทีถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับกลุ่มตัวแทนผู้มีส่วนได้เสีย จำนวน 30 คน ผลการวิจัย พบว่า 1) จังหวัดอุบลราชธานีมีระบบบําบัดน้ำเสียจำนวน 2 แห่ง คือ เทศบาลนครอุบลราชธานีและเทศบาลเมืองวารินชําราบเท่านั้น และระบบบำบัดมีการคาดการณ์อัตราการเกิดน้ำเสียที่สูงเกินความเป็นจริง และการแบ่งขอบเขตอำนาจการปกครองไม่ตรงกับลุ่มน้ำ 2) ประชาชนขาดกระบวนการมีส่วนร่วมอย่างแท้จริง ขาดองค์ความรู้ก่อน กระบวนตัดสินใจ การกำหนดแนวทางดำเนินการเกี่ยวกับการบริหารจัดการน้ำและการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติ และการมีธรรมมาภิบาลสิ่งแวดล้อมของภาครัฐ ควรเห็นเป็นรูปธรรมชัดเจนปฏิบัติได้จริงไม่ใช่เป็นเพียงนโยบายแต่ต้องมีความเป็นธรรม โปร่งใส มีกระบวนการในการเปิดเผยข้อมูลสู่สาธารณะและการกำหนดภาระรับผิดชอบของทุกภาคส่วนอย่างจริงจัง 3) ปัญหาการบังคับใช้กฎหมายการบริหารจัดการน้ำภาคอุตสาหกรรม พบว่า พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 ให้อำนาจรัฐในการจัดการน้ำแบบภาพรวมทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องซึ่งไม่ตรงกับแนวทางปฏิบัติส่งผลให้เกิดความล่าช้าในการแก้ปัญหาและพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535 มีการบังคับใช้มาเป็นเวลานานทำให้บทบัญญัติบางประการไม่สอดคล้องกับสภาพการณ์ปัจจุบัน โดยมีการแก้ไขกฎหมายโรงงานเพื่อลดภาระหน้าที่แก่ผู้ประกอบกิจการโรงงานขนาดเล็กจำพวกที่ 1 และโรงงานจำพวกที่ 2 ส่งผลให้เกิดช่องว่างของกฎหมายในการประกอบกิจการโรงงานมีการหลีกเลี่ยงกฎหมายและมีการถ่ายโอนอำนาจไปยังหน่วยงานอื่นที่ยังไม่มีความพร้อมในการบริหารจัดการน้ำดังกล่าวได้


ผลการศึกษาสรุปได้ว่า  1) เขตการปกครองกับการบริหารจัดการน้ำ มีปัญหาจุดรอยต่อของแต่ละเขตการปกครองที่ต้องบริหารจัดการน้ำเสียหรือการทำโครงการในการจัดทำระบบบำบัดน้ำเสีย 2) ระบบบําบัดน้ำเสียจังหวัดอุบลราชธานี มีระบบบำบัดมีการคาดการณ์อัตราการเกิดน้ำเสียที่สูงเกินความเป็นจริง ขาดอุปกรณ์ที่ไม่เพียงพอ 3) สิทธิขั้นพื้นฐานตามรัฐธรรมนูญของประชาชนขาดการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการน้ำอย่างแท้จริง 4) ภาครัฐเป็นผู้ที่มีอำนาจหน้าที่ตามที่กฎหมายให้อำนาจไว้ ดังนั้นในการใช้อำนาจตามกฎหมายสิ่งที่สำคัญคือ เจ้าหน้าที่ผู้ปฎิบัติต้องมีความรู้การบริหารจัดการน้ำอย่างแท้จริงเพราะต้องเป็นผู้แก้ปัญหาให้กับชาวบ้าน ต้องมีธรรมมาภิบาลสิ่งแวดล้อมที่เป็นรูปธรรมชัดเจนปฎิบัติได้ไม่ใช่เป็นเพียงนโยบายแค่ผู้บริหาร 5) ปัญหาตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 และเรื่องร้องเรียนที่อยู่นอกเหนือ อำนาจหน้าที่ตามกฎหมาย 6) พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ.2535 ในส่วนฟ้องเรียกค่าเสียหายในคดีสิ่งแวดล้อม ไม่มีองค์กรกลางที่ให้การช่วยเหลือแก่ชาวบ้าน

Article Details

How to Cite
คงประยูร พ. . (2022). มาตรการทางกฎหมายสิ่งแวดล้อมเกี่ยวกับการบริหารจัดการน้ำภาคอุตสาหกรรมของผู้มีส่วนได้เสียบริเวณลุ่มน้ำมูลตอนล่างจังหวัดอุบลราชธานี. วารสารวิจยวิชาการ, 5(5), 109–126. https://doi.org/10.14456/jra.2022.113
บท
บทความวิจัย

References

ณฐภัทร ถิรางค์กูล. (2554). กฎหมายสิ่งแวดล้อมกับองค์กรภาคธุรกิจ: กรณีศึกษาปัญหาสิ่งแวดล้อมจากภาคธุรกิจท่องเที่ยวกับการมีส่วนร่วมขององค์กรชุมชน. วารสารวิชชา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช, 30(1), 12-14.

ประพันธ์ สร้อยเพ็ชร. (2547). การมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ศูนย์โรงเรียนตำบลแช่ช้าง อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

พระราชบัญญัติทรัพยากรน้ำ พ.ศ. 2561. (2561, 28 ธันวาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 135 ตอนที่ 112 ก, หน้า 46-48.

พระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535. (2535, 16 ตุลาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 109 ตอนที่ 108, หน้า 17-18.

พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ.2535. (2535, 4 เมษายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 109 ตอนที่ 37, หน้า 3-5.

พสิน โยธาจันทร์. (2562). มาตรการทางกฎหมายเพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของโรงงานอุตสาหกรรมในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. วารสารสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 6(2), 357-380.

พิพากษ์ เกียรติกมเลศ. (2561). ปัญหาอำนาจฟ้องและเขตอำนาจศาลคดีสิ่งแวดล้อมของศาลยุติธรรมและศาลปกครอง. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 5(3), 21-27.

ไพรัช ทับทิม. (2563). แนวคิดการทำงานร่วมกันในการจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 7(12), 451-463.

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560. (2560, 6 เมษายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 134 ตอนที่ 40 ก, หน้า 12-13.

ศูนย์ป้องกันวิกฤตน้ำ กรมทรัพยากรน้ำ. (2558). คลังข้อมูลน้ำแห่งชาติ. กรุงเทพฯ: สำนักงานทรัพยากรน้ำภาค 12.

สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 12 อุบลราชธานี. (2564). รายงานข้อมูลสถานการณ์คุณภาพสิ่งแวดล้อมปี 2563. อุบลราชธานี: โรงพิมพ์ยงสวัสดิ์อินเตอร์กรุ๊ป จำกัด

สำนักนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (2564). รายงานสถานการณ์คุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2563-2564. กรุงเทพฯ: บริษัท บีทีเอส เพลส จำกัด.

สุนีย์ มัลลิกะมาลย์. (2542). การบังคับใช้กฎหมายสิ่งแวดล้อม. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.