ประวัติ ประเพณี พิธีกรรมและความเชื่อ การถวายบายศรีเจ้าพ่อพญาแล
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาประวัติและความสำคัญของการถวายบายศรีเจ้าพ่อพญาแล และ 2) ศึกษาประเพณีพิธีกรรมและความเชื่อการถวายบายศรีเจ้าพ่อพญาแล วิธีดำเนินการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์จากประชาชนที่อาศัยอยู่ในเขตเทศบาลเมืองชัยภูมิ จำนวน 380 คน โดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์เชิงเนื้อหาและเทคนิคการสร้างข้อสรุปผลการวิจัย พบว่า 1) ประวัติของการถวายบายศรีเจ้าพ่อพญาแลโดยเมื่อปีพ.ศ. 2369 หลังจากเจ้าพ่อพญาแลถูกประหารชีวิตแล้ว มีชาวบ้านได้ร่วมกันสร้างศาลเพียงตาขึ้น โดยตั้งชื่อศาลว่า “ศาลเจ้าพ่อพญาแล”พอถึงฤดูกาลเดือน 6 วันพุธแรกได้นำเครื่องบวงสรวงสังเวยมาเซ่นไหว้ พร้อมคนเป่าแคนรำถวาย โดยหาร่างทรงเจ้าพ่อ (จ้ำ) นำกล่าวถวายเครื่องเซ่นไหว้ทั้งหมด ความสำคัญของการถวายบายศรีเจ้าพ่อพญาแลคือเป็นการแสดงออกถึงความศรัทธาที่มีต่อเจ้าพ่อพญาแลและเป็นการส่งเสริมความรักความสามัคคีของคนในชุมชนเป็นการอนุรักษ์ประเพณีที่ดีงามให้คงอยู่ และ 2) ประเพณีพิธีกรรมและความเชื่อการถวายบายศรีเจ้าพ่อพญาแลจะมีการอัญเชิญดวงวิญญาณของเจ้าพ่อพญาแลมารับเครื่องสังเวย ขอให้ท่านปกปักรักษาให้อยู่เย็นเป็นสุข พอถึงฤดูกาลทำไร่ ทำนา ขอให้ฝนตกต้องตามฤดูกาลให้พืชพันธุ์ธัญญาหารอุดมสมบูรณ์ ความศักดิ์สิทธิ์ได้แพร่กระจายไปยังผู้ที่เคารพศรัทธาอย่างกว้างขวาง ทำให้ผู้คนศรัทธามากขึ้น เมื่อถึงฤดูกาลเดือน 6 วันพุธแรกก็จะมีการเซ่นไหว้ ต่อมามีการจัดงานสมโภชขึ้น มีการรำผีฟ้า ลำกลอนฉลอง จนเกิดประเพณีบุญเดือน 6 และการถวายบายศรีแด่เจ้าพ่อพญาแลในเทศกาลงานบุญเดือน 6 ต่อเนื่องเป็นประจำทุกปีมาจนถึงปัจจุบัน
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงพิมพ์กับวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นข้อคิดเห็น และความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิจยวิชาการ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่ง ส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อการกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวิจยวิชาการก่อนเท่านั้น
References
กรมการศาสนา. (2552). พิธีกรรมและประเพณี. กรุงเทพฯ: กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม.
ณัฐดนัย แก้วโพนงาม. (2560). ระเบียบวิธีวิจัยทางรัฐศาสตร์. ชัยภูมิ: มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ.
พรหม แสนบัว. (2563). ประวัติพระยาภักดีชุมพล (แล) หรือเจ้าพ่อพญาแล พิธีกรรม ปาฏิหาริย์และอิทธิฤทธิ์เจ้าพ่อพญาแล. ชัยภูมิ: ไทยเสรีการพิมพ์.
มานะชัย วงษ์ประชา. (2556). พาขวัญ พานบายศรี. (วิทยานิพนธ์ศิลปมหาบัณฑิต สาขาวิชาทัศนศิลปศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
สุทธิ เหล่าฤทธิ์. (2545). ประวัติเมืองชัยภูมิ. กรุงเทพฯ: ด่านสุทธาการพิมพ์.
สุรพล พรมกุล.(2554). ระเบียบวิธีวิจัยทางรัฐศาสตร์. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.
อาหมัดอัลซารีย์ มูเก็ม. (2559). ประเพณี พิธีกรรม ความเชื่อ ที่มีความสัมพันธ์ต่อวิถีชีวิตของชนกลุ่มชาติพันธุ์เขมรบน พื้นที่บ้านจารย์ อำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์. (งานวิจัยเฉพาะเรื่องหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต สาขาวิชาบัณฑิตอาสาสมัคร). วิทยาลัยพัฒนศาสตร์ ป๋วย อึ่งภากรณ์: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.