ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำในศตวรรษที่ 21 กับการบริหารคุณภาพองค์กร (TQM) ของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพิจิตร

Main Article Content

กัมปนาท คำอ่อน
นิคม นาคอ้าย

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาภาวะผู้นำในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพิจิตร 2) ศึกษาการบริหารคุณภาพองค์กรของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพิจิตร และ 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษากับการบริหารคุณภาพองค์กรของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพิจิตร การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้รูปแบบการศึกษาเชิงสหสัมพันธ์ ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ สถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพิจิตร จำนวน 30 แห่ง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน จำนวน 56 คน จากการสุ่มแบบชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามแบบมาตรส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (r) ผลการวิจัยพบว่า 1) ภาวะผู้นำในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพิจิตร อยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{X} = 4.49, S.D. = 0.47) 2) การบริหารคุณภาพองค์กร (TQM) ของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพิจิตร อยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{X}  = 4.41, S.D = 0.61) และ 3) ภาวะผู้นำในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษามีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับสูงกับการบริหารคุณภาพองค์กรของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพิจิตร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สันเท่ากับ .873 (r = .873)

Article Details

How to Cite
คำอ่อน ก. ., & นาคอ้าย น. . (2022). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำในศตวรรษที่ 21 กับการบริหารคุณภาพองค์กร (TQM) ของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพิจิตร. วารสารวิจยวิชาการ, 5(4), 133–146. https://doi.org/10.14456/jra.2022.90
บท
บทความวิจัย

References

กรรณิการ์ มีทรัพย์. (2564). การพัฒนาการบริหารคุณภาพทั่วทั้งองค์กรในการบริหารงานองค์การบริหารส่วนตำบลในอำเภอเมืองเพชรบุรี จังหวัดเพชรบุรี. Lawarath Social E-Journal, 3(1), 31.

จารุกิตติ์ คงลี. (2563). สภาพและแนวทางกาบริหารการจัดการคุณภาพโดยรวมของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 1. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.

จินตนา ยนต์ศิริ. (2562). การทำงานเป็นทีมที่ส่งผลต่อการบริหารคุณภาพทั่วทั้งองค์การของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 2. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์.

เจริญ ภูวิจิตร์. (2559). คุณลักษณะของผู้บริหารสถานศึกษาในอาเซียน. เข้าถึงได้จาก: www.nidtep.go.th/webnidtep2015/files/080359_1.pdf.

ชัยยนต์ เพาพาน. (2559). การจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาท้องถิ่นสู่ประชาคมอาเซียน. ในการประชุมวิชาการระดับชาติ ครุศาสตร์ ครั้งที่ 1 หัวข้อ “ทิศทางใหม่ในศตวรรษที่ 21”. (น. 7).กาฬสินธุ์: มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์.

ณัฐชนันท์ ชวนดี. (2556). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารคุณภาพทั่วทั้งองค์กรกับประสิทธิผลการประกันคุณภาพการศึกษาของโรงเรียน ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 7. (การศึกษาค้นคว้าอิสระการศึกษามหาบัณฑิต). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ณิรดา เวชญาลักษณ์. (2563). การประยุกต์ใช้ TQM ในการบริหารการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 2). เชียงใหม่: วนิดาการพิมพ์.

ดาวรุวรรณ ถวิลการ. (2558). ภาวะผู้นำเหนือผู้นำแบบภาวะผู้นำแห่งศตวรรษที่ 21. วารสารบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 11(2), 25-26.

นฤมล จิตรเอื้อ, เฉลิมชัย กิตติศักดิ์นาวิน และนลินณัฐ ดีสวัสดิ์. (2560). บทบาทภาวะผู้นำในการพัฒนาองค์การสู่องค์การแห่งการเรียนรู้. Veridian E-Journal ฉบับภาษาไทย มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 10(2), 1752.

นุชจรี สินทอง. (2564). การพัฒนาการบริหารคุณภาพโดยรวม ของกองบริการศูนย์การทหารราบค่ายธนะรัชต์. วารสารวิทยาการจัดการ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม, 8(1), 195.

ปัทมาวรรณ์ ยิ่งอำนวยชัย. (2559). การศึกษาสภาพปัจจุบันการบริหารจัดการคุณภาพโดยรวมของผู้บริหารโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 29. (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.

พันธ์ยศ เจนหัตถ์คุณ. (2565). บทบาทและความสำคัญของภาวะผู้นำในศตวรรษที่ 21. วารสารนิติ รัฐกิจ และสังคมศาสตร์ สำนักวิชานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย, 6(1), 140.

ภาวดี วิจิตรจันทร์. (2559). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารคุณภาพทั่วทั้งองค์การ (TQM) ของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 3. (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ลลิดานันร์ จิระพิชชานันท์. (2557). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงกับการบริหารคุณภาพทั่วทั้งองค์การของผู้บริหารโรงเรียนเอกชนสองภาษา เขตกรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี.

วิฑูรย์ สิมะโชคดี. (2550). TQM คู่มือพัฒนาองค์กรสู่ความเป็นเลิศ. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: เนชั่นบุ๊คส์.

สมบัติ ผ่องอำไพ. (2556). ความสัมพันธ์ระหว่างสมรรถนะผู้บริหารกับการบริหารคุณภาพโรงเรียนมาตรฐานสากล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1. (วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2557). แนวทางการพัฒนาการศึกษาไทยกับการเตรียมความพร้อมสู่ศตวรรษที่ 21. (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.

สุวัฒน์ โรยดี. (2554). สภาพการดำเนินงานตามแนวคิดการบริหารคุณภาพทั้งองค์กรในโรงเรียนประถมศึกษา อำเภอปากท่อ จังหวัดราชบุรี. (สารนิพนธ์ครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง.

โสภา อำนวยรัตน์, เจิดหล้า สุนทรวิภาต, สุนทร คล้ายอ่ำ และไพโรจน์ ด้วงนคร (2555). การพัฒนารูปแบบการบริหารคุณภาพของวิทยาลัยการอาชีพ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 14(3), 22.

อดิพล เปียทอง. (2559). TQM กับการบริหารสถานศึกษาเอกชน. วารสารวิจัยราชภัฏพระนคร สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 11(1), 250.

อรพินท์ วาณิชย์เจริญ. (2552). ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารคุณภาพทั่วทั้งองค์กรของหัวหน้าผู้ป่วยกับประสิทธิผลของทีมพยาบาล โรงพยาบาลศูนย์และโรงพยาบาลทั่วไป สังกัดกระทรวงสาธารณสุข เขต 6 และ 7. (วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์) บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาสุโขทัยธรรมาธิราช.

Krejcie, R.V., & Morgan, D.W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.