ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครสวรรค์
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการของโรงเรียน 2) ศึกษาระดับการบริหารงานวิชาการของโรงเรียน 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการของโรงเรียน และ 4) สร้างสมการพยากรณ์ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการของโรงเรียน กลุ่มตัวอย่าง ประกอบด้วย ผู้บริหารและครู จำนวน 322 คน การกำหนดขนาดตัวอย่างโดยใช้ตารางเครจซี่และมอร์แกน และการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามปัจจัยด้านภาวะผู้นำของผู้บริหาร ครูผู้สอน ผู้ปกครองและชุมชน งบประมาณ อาคารสถานที่ และสื่อและเทคโนโลยีทางการศึกษา มีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.95, 0.85, 0.92, 0.91, 0.91, 0.95 ตามลำดับ และแบบสอบถามระดับการบริหารวิชาการมีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.99 สถิติใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการของโรงเรียน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.25, S.D. = 0.44) 2) ระดับการบริหารวิชาการของโรงเรียน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.24, S.D. = 0.48) 3) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการมีความสัมพันธ์กันทางบวก โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่าง 0.61-1.00 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ 4) ปัจจัยด้านผู้ปกครองและชุมชน (X3) ด้านภาวะผู้นำของผู้บริหาร (X1) ด้านงบประมาณ (X4) ด้านสื่อและเทคโนโลยี (X6) และด้านครูผู้สอน (X2) ส่งผลต่อการบริหารวิชาการของโรงเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สามารถพยากรณ์การบริหารวิชาการของโรงเรียนได้ร้อยละ 64.00 ดังสมการพยากรณ์ดังนี้
สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบ
Y = 0.37 + 0.17(X3) + 0.18(X1) + 0.23(X4) +0.13(X6) +0.20(X2)
สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐาน
Z = 0.18(Z3) + 0.19(Z1) +0.24(Z4) +0.16(Z6) +0.18(Z2)
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงพิมพ์กับวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นข้อคิดเห็น และความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิจยวิชาการ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่ง ส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อการกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวิจยวิชาการก่อนเท่านั้น
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. กรุงเทพฯ: บริษัทพริกหวานกราฟฟิค จำกัด.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2562). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2562. กรุงเทพฯ: บริษัทพริกหวานกราฟฟิค จำกัด.
ชนกานต์ เอี่ยมสะอาด. (2564). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดพิษณุโลก. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยนเรศวร.
ณัฐธิดา งามตา. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 36 สหวิทยาเขตอิงโขง. (การศึกษาค้นคว้าอิสระการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยพะเยา.
ภัทราภรณ์ คล้ายแก้ว. (2561). แนวทางการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาในจังหวัดชัยนาท สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 5. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครสวรรค์. (2563). รายงานผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติ (O-NET). นครสวรรค์ (อัดสำเนา).
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564). กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.).
สุกัญญา นิ่มพันธุ์. (2563). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 5. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.
อธิวัฒน์ พันธ์รัตน์. (2562). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 5. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.