ความคิดเห็นของครูที่มีต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของผู้บริหารสถานศึกษาเครือข่ายกลุ่มเมืองสมุทรปราการ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 1

Main Article Content

ริมล โพธิ์ชัยรัตน์
ภาวิดา ธาราศรีสุทธิ
ศิริพงษ์ เศาภายน

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบความคิดเห็นของครูที่มีต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของผู้บริหารสถานศึกษาเครือข่ายกลุ่มเมืองสมุทรปราการ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 1 จำแนกตามวุฒิการศึกษา วิทยฐานะ และประสบการณ์การทำงาน เป็นงานวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ครูผู้สอนในโรงเรียนเครือข่ายกลุ่มเมืองสมุทรปราการ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 1 ในปีการศึกษา 2564 จาก 9 โรงเรียน โดยใช้การกำหนดกลุ่มตัวอย่างที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05 จากการเปิดตารางของ Cohen, Manion and Morrison จำนวน 183 คน โดยแบ่งประชากรตามสัดส่วนเพื่อให้ได้กลุ่มตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นแบบสอบถาม มาตราส่วนประมาณค่า ตามมาตรการวัดของลิเคอร์ท กำหนดคะแนนเป็น 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติการทดสอบค่าที และการทดสอบความแปรปรวนทางเดียว ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางคอมพิวเตอร์ เมื่อพบความแตกต่างจึงทดสอบเป็นรายคู่ด้วยวิธีของ Scheffe ผลการวิจัย พบว่า 1) ความคิดเห็นของครูที่มีต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของผู้บริหารสถานศึกษาเครือข่ายกลุ่มเมืองสมุทรปราการ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 1 ด้านความสำเร็จในการปฏิบัติงาน ด้านการยอมรับนับถือและด้านความก้าวหน้าในตำแหน่งหน้าที่การงาน และด้านเงินเดือน ค่าตอบแทนและสวัสดิการ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และ 2) ความคิดเห็นของครูที่มีต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของผู้บริหารสถานศึกษาเครือข่ายกลุ่มเมืองสมุทรปราการ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 1 จำแนกตามวุฒิการศึกษา และวิทยฐานะ พบว่า โดยภาพรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน ส่วนเมื่อจำแนกตามประสบการณ์การทำงาน โดยภาพรวมไม่แตกต่างกัน ส่วนรายด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

How to Cite
Phochairat, R., ธาราศรีสุทธิ ภ. ., & เศาภายน ศ. . (2022). ความคิดเห็นของครูที่มีต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของผู้บริหารสถานศึกษาเครือข่ายกลุ่มเมืองสมุทรปราการ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 1 . วารสารวิจยวิชาการ, 5(5), 205–218. https://doi.org/10.14456/jra.2022.119
บท
บทความวิจัย

References

จุติพร จินาพันธ์. (2560). แรงจูงใจของครูที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18. วารสารศึกษาศาสตร์, 28(2), 267-283.

ฐานะรัตน์ จีนรัตน์. (2561). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูโรงเรียนเอกชน ระดับประถมศึกษาใน สถานศึกษาที่ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบูรณ์ เขต 3. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการการศึกษา). วิทยาลัยครุศาสตร์: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

ณัฐดนัย ไทยฐาวร. (2561). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูโรงเรียนระดับประถมศึกษา จังหวัดสระบุรี. วารสารบัณฑิตศึกษาปริทรรศน์ วิทยาลัยสงฆ์นครสวรรค์, 8(1), 233-246.

ทิศชากร แสนสุริวงค์. (2562). ปัจจัยแรงจูงใจในการทำงานของครูที่ส่งผลต่อประสิทธิผลโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ. วารสารการบริหารการศึกษาและภาวะผู้นำ, 7(26), 116-127.

พิริยะ ผลพิรุฬห์. (2561). 10 ปัญหาครูไทย ผ่านแว่นตา “ครุเศรษฐศาสตร์”. เข้าถึงได้จาก www.knowledgefarm.in.th/interview-piriya/.

ภารดี อนันต์นาวี. (2551). หลักการ แนวคิด ทฤษฎีทางการบริหารการศึกษา. ชลบุรี: สำนักพิมพ์มนตรี.

วราพร เนืองนันท์. (2564). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2 สหวิทยาเขตนวลจันทร์ จังหวัดกรุงเทพมหานคร. Journal of Roi Kaensarn Academi, 6(6), 114-125.

สมเชาว์ เกษประทุม. (2550). เบื้องหลังการปฏิรูปการศึกษา (2007). วิทยาจารย์, 106(12), 45.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. กรุงเทพฯ: บริษัท พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.

สำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน. (2556). เปิด 6 อุปสรรคการทำงานของครูไทย. เข้าถึงได้จาก https://www.isranews.org/component/content/article /18823-เปิด6อุปสรรคการทำงานของครูไทย.html.

สุพรรณิกา รุจิวณิชย์กุล. (2564). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 12. วารสารนาคบุตรปริทรรศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช, 13(1), 30-37.

อรพิน สมจันทร์. (2560). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูในอำเภอบางซ้าย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 2. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยปทุมธานี.

อรสา เพชรนุ้ย. (2560). การศึกษาแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 2. (การค้นคว้าอิสระครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.

อัญชลี สนพลาย. (2564). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรี เขต 1. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). คณะศึกษาศาสตร์: มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.

Cohen, L., Manion, L., & Morrison, K. (2011). Research methods in education. (7th Ed.). New York: Routledge.

Likert, R. (1967). The Method of Constructing and Attitude Scale. New York: Wiley & Son.