ปัจจัยการเสริมสร้างความเข้มแข็งในการกระจายอำนาจกับการเมืองภาคประชาชนของเทศบาลตำบล ในจังหวัดชัยภูมิ

Main Article Content

พิทักษ์พงศ์ กางการ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการเสริมสร้างความเข้มแข็งในการกระจายอำนาจกับการเมืองภาคประชาชนของเทศบาลตำบลในจังหวัดชัยภูมิ และ 2) ศึกษาปัญหาและอุปสรรคการเสริมสร้างความเข้มแข็งในการกระจายอำนาจกับการเมืองภาคประชาชนของเทศบาลตำบลในจังหวัดชัยภูมิ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยศึกษาวิจัยจาก (1) การศึกษาจากเอกสารที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ทราบถึงแนวทางการพัฒนาชุมชน ได้แก่ หนังสือ งานวิจัยต่าง ๆ บทความ วารสาร เอกสาร กฎและข้อบังคับทั้งที่เป็นเอกสารภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ ตลอดจนติดต่อบุคคลที่มีประสบการณ์เกี่ยวกับการพัฒนาชุมชนและท้องถิ่น เพื่อรวบรวมข้อมูลมาอ้างอิงประกอบการศึกษา (2) การศึกษาภาคสนาม โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกกับกลุ่มประชากรที่กำหนดไว้ จำนวน 12 คน และการเข้าไปสังเกตการณ์และมีส่วนร่วมในกระบวนการ นำข้อมูลมาหาค่านัยสำคัญเพื่อสรุปอภิปราย ผลการวิจัย พบว่า 1) ปัจจัยการเสริมสร้างความเข้มแข็งในการกระจายอำนาจกับการเมืองภาคประชาชนของเทศบาลตำบล ในจังหวัดชัยภูมิ ประกอบด้วย 1.1) ปัจจัยผู้นำชุมชนอุทิศตนและมีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี 1.2) ปัจจัยสมาชิกในชุมชนยอมรับบทบาทของกรรมการชุมชน 1.3) ปัจจัยชุมชนมีกระบวนการบริหารงานในชุมชนที่ชัดเจน 1.4) ปัจจัยชุมชนมีศักยภาพในการพึ่งพาตนเองสูง 1.5) ปัจจัยชุมชนได้รับการจัดสรรงบประมาณจากเทศบาล 1.6) ปัจจัยชุมชนมีลักษณะพื้นที่ทางกายภาพที่เอื้ออำนวยต่อการรวมกลุ่ม และ 1.7) ปัจจัยชุมชนกับเทศบาลมีความร่วมมือกันและ 2) ปัญหาอุปสรรคที่มีต่อผลต่อการส่งเสริมความเข้มแข็งของชุมชน คือ 2.1) ยังขาดการสนับสนุนจากหน่วยงานรัฐอื่น ๆ ในพื้นที่ และ 2.2) การกำหนดกรอบในการใช้งบประมาณสำหรับเงินอุดหนุนชุมชนยังมีจำกัด

Article Details

How to Cite
กางการ พ. (2022). ปัจจัยการเสริมสร้างความเข้มแข็งในการกระจายอำนาจกับการเมืองภาคประชาชนของเทศบาลตำบล ในจังหวัดชัยภูมิ. วารสารวิจยวิชาการ, 5(3), 63–74. https://doi.org/10.14456/jra.2022.58
บท
บทความวิจัย

References

กุหลาบ รัตนสัจธรรม และคณะ. (2535). การพัฒนารูปแบบที่เหมาะสมในวิธีดำเนินงานวางแผนพัฒนาคุณภาพชีวิตตามเกณฑ์ความจำเป็นพื้นฐานในระดับหมู่บ้าน. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.

ชลธี เจริญรัฐ. (2547).การเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนและเศรษฐกิจฐานราก ตำบลหนองไฮ อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี. วารสารวิทยาการจัดการปริทัศน์, 7(7), 19-24.

บวรศักดิ์ อุวรรณโณ และคณะ. (2550). ประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

บุณยรงค์ นิลวงศ์. (2548). หัวข้อหลักการบริหารทั่วไป. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สีไทย.

ปรียาภา เมืองนก.(2557). กระบวนการบริหารจัดการชุมชนเมืองที่นาไปสู่ชุมชนเข้มแข็ง:กรณีศึกษาชุมชน หมู่บ้านจัดสรรเขตปริมณฑล. (วิทยานิพนธ์พัฒนาชุมชนมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาชุมชน). คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

พรหมธีระ พรหมสถิต. (2557). บทบาทของธนาคารต้นไม้ต่อการส่งเสริมความเข้มแข็งของชุมชนกรณีศึกษา ธนาคารต้นไม้สาขาบากแดง ตำบลวังตะกอ อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร. (วิทยานิพนธ์พัฒนาชุมชนมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาชุมชน). คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

วิทยา จันทร์แดง และจำนง อดิวัฒนสิทธิ์.(2557). การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการชุมชน เข้มแข็งตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในเขตจังหวัดภาคกลางตอนบน. สักทอง: วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 18(2), 23-40.

วีระชัย ขันรุ่ง. (2553). การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน ในระดับท้องถิ่นเทศบาล ในจังหวัดนนทบุรี. (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยปทุมธานี.

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564). (2559, 30 ธันวาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 133 ตอนที่ 115 ก, หน้า 1.

สุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย. (2558). การมีส่วนร่วมของประชาชนกับหลักประชาธิปไตยในสังคมไทย. (รายงานการอบรมหลักสูตรหลักนิติธรรมเพื่อประชาธิปไตย รุ่นที่ 3). วิทยาลัยรัฐธรรมนูญ: สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ.

อมรรัตน์ มัททวีวงศ์. (2553). แนวทางการจัดการชุมชนหมู่บ้านจัดสรรโครงการ “บ้านฉางเพลส” เพื่อนำไปสู่ชุมชนเข้มแข็ง. (สารนิพนธ์พัฒนาชุมชนมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาชุมชน). คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

Kauzya, J.-M. (2003). Local Governance Capacity-Building for Full-Range Participation: Concepts, Frameworks and Experiences in African Countries. West Hartford, Conn: Uumarian Press.