“ติสตูกับพลังพิเศษแห่งการปลูกต้นไม้”: จากการเรียนรู้จากประสบการณ์ สู่การแปรเปลี่ยนและเยียวยาสังคม

Main Article Content

ศุภชัย โชติทอง
วิชนีย์ สุวรรณสังข์

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้มุ่งนำเสนอกระบวนการเรียนรู้ของตัวละครชื่อ “ติสตู” ในวรรณกรรมเยาวชนภาษาฝรั่งเศสเรื่อง “Tistou, les pouces verts” พบว่า ติสตูไม่สามารถเรียนในห้องเรียนได้เพราะเกิดอาการง่วงนอนทุกครั้งเมื่อบทเรียนเริ่ม คุณพ่อจึงให้เขาเรียนรู้จากสถานที่จริง การอธิบายกระบวนการเรียนรู้ของติสตูในบทความนี้ใช้กรอบทฤษฎีวงจรการเรียนรู้จากประสบการณ์ของ David Kolb ซึ่งเป็นรูปแบบการเรียนรู้ที่บุคคลจะเกิดพัฒนาการอย่างเป็นองค์รวม ผลการศึกษา พบว่า การเรียนรู้ของติสตูมีลักษณะตามขั้นตอนในวงจรการเรียนรู้จากประสบการณ์ของ Kolb กล่าวคือ 1) เปิดรับประสบการณ์จากการไปเรียนรู้ในสถานที่จริงอย่างเต็มที่ 2) สังเกตประสบการณ์อย่างใคร่ครวญ ด้วยการตั้งคำถามและค้นคว้าหาข้อมูลเพื่อทำความเข้าใจ 3) นำประสบการณ์ที่ผ่านการสังเกตอย่างใคร่ครวญมาประมวลเป็นแนวความคิด โดยติสตูใช้วิธีเปรียบเทียบว่า ความสุขและความทุกข์ของผู้อื่นไม่ต่างจากความสุขและความทุกข์ของตัวติสตูเอง จนเกิดเป็นแรงบันดาลใจให้เขาลงมือแก้ปัญหาสังคม 4) นำความเข้าใจเกี่ยวกับปัญหาและความทุกข์ในสังคมที่ประมวลได้มาประกอบใช้กับพลังพิเศษแห่งการปลูกต้นไม้ของตนเองเพื่อวางแผนและลงมือแปรเปลี่ยนเยียวยาสังคม การลงมือแก้ปัญหาทำให้ติสตูเกิดประสบการณ์ในการใช้พลังพิเศษแห่งการปลูกต้นไม้ และนำประสบการณ์ไปปรับปรุงการใช้พลังพิเศษนี้เพื่อแก้ปัญหาครั้งต่อไป เกิดเป็นวงจรการเรียนรู้ต่อเนื่อง บทความนี้จึงเป็นการศึกษาวรรณกรรมเยาวชนร่วมกับทฤษฎีด้านการศึกษาและการเรียนรู้ อีกทั้งยังเป็นการเสนอมุมมองการเสพวรรณกรรมเยาวชนเรื่องนี้ในแง่การเรียนรู้ทักษะการเรียนรู้ของตัวละครที่มีพัฒนาการอย่างเป็นองค์รวม เพื่อเป็นแนวทางส่งเสริมและพัฒนาทักษะการเรียนรู้ของบุคคลผ่านวรรณกรรมได้อีกทางหนึ่ง

Article Details

How to Cite
Chodtong, S., & สุวรรณสังข์ ว. . (2022). “ติสตูกับพลังพิเศษแห่งการปลูกต้นไม้”: จากการเรียนรู้จากประสบการณ์ สู่การแปรเปลี่ยนและเยียวยาสังคม. วารสารวิจยวิชาการ, 5(3), 289–302. https://doi.org/10.14456/jra.2022.76
บท
บทความวิชาการ

References

ทรัพสิริ เสนีวงศ์ ณ อยุธยา, สรัฐ ฤทธิ์รณศักดิ์, ณิศรา ระวียัน และวาสนา จักรแก้ว. (2564). การจัดการเรียนการสอนจากประสบการณ์ตามสภาพจริงตามรูปแบบกิจกรรมประสบการณ์. วารสารธรรมศาสตร์, 40(2), 116-129.

A. Moon, Jennifer. (2006). A Handbook of Reflective and Experiential Learning, Theory and Practice. New York: RoutledgeFalmer.

Druon, M. (1968). Tistou, les Pouces verts. Paris: Hachette Jeunesse.

Kolb, D. A. (2015). Experiential Learning: Experience as the Source of Learning and Development. (2nd edition). New Jersey: Pearson Education.