แนวทางการบริหารงานวิชาการตามหลักฆราวาสธรรม 4 ของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา อำเภอชุมตาบง จังหวัดนครสวรรค์
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพและเปรียบเทียบการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษาและหาแนวทางการบริหารงานวิชาการตามหลักฆราวาสธรรม 4 ของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา อำเภอชุมตาบง จังหวัดนครสวรรค์ ดำเนินการวิจัยแบบผสานวิธี โดยการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แบบสอบถามมีค่าความเชื่อมั่น .93 กลุ่มประชากรที่ใช้ในการวิจัยจำนวน 122 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้วิธีสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง เก็บข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 9 รูป/คน ใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (μ = 4.49, σ = 0.40) พิจารณาจากมากไปน้อย ได้แก่ 1.1) ด้านการเรียนการสอน 1.2) ด้านการวัดผลและประเมินผล 1.3) ด้านหลักสูตร 1.4) ด้านการนิเทศการศึกษา 1.5) ด้านสื่อการเรียนการสอน 2) ระดับความคิดเห็นที่มีต่อการบริหารงานวิชาการ พบว่า ครูและบุคลากรที่มีปัจจัยส่วนบุคคลที่แตกต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษาแตกต่างกัน และ 3) แนวทางการบริหารงานวิชาการตามหลักฆราวาสธรรม 4 ของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา พบว่า 3.1) ผู้บริหารควรกำหนดเป้าหมายในการพัฒนาหลักสูตรให้สอดคล้องกับความต้องการของ ชุมชน วิเคราะห์ข้อมูลตามสภาพจริง 3.2) ผู้บริหารควรส่งเสริมด้านการเรียนการสอน โดยเน้นความแตกต่างระหว่างบุคคลและใช้วิธีที่หลากหลาย 3.3) ผู้บริหารควรส่งเสริมด้านสื่อการเรียนโดยจัดอบรม จัดสรรงบประมาณในการสร้างสื่อการเรียนการสอน รับฟังสภาพปัญหา ความต้องการเกี่ยวกับการใช้สื่อ 3.4) ผู้บริหารกำหนดนโยบายด้านการวัดผลและประเมินผลตามเกณฑ์มาตรฐาน โดยวัดและประเมินผลตามสภาพจริง นำผลการวัดผลและประเมินผลไปใช้ในการพัฒนา 3.5) ผู้บริหารควรนิเทศการศึกษาโดยใช้เครื่องมือที่มีความหลากหลาย นำผลการนิเทศมาใช้ในการพัฒนาครูและบุคลากร
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงพิมพ์กับวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นข้อคิดเห็น และความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิจยวิชาการ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่ง ส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อการกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวิจยวิชาการก่อนเท่านั้น
References
กัญญลักษณ์ จันทรวิบูลย์. (2561). แนวทางส่งเสริมการบริหารงานวิชาการตามหลักอิทธิบาท 4 สำหรับโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ นนทบุรี. (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ณัฏธยาน์ภรณ์ เริ่มยินดี. (2561). การบริหารงานวิชาการตามหลักมรรค 8 ของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุโขทัย เขต 2. (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ไทพนา ป้อมหิน. (2562). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 1. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). คณะครุศาสตร์: มหาวิทยาลัยนครพนม.
ปิยะนาถ ไชยวุฒ. (2562). การศึกษาสภาพและแนวทางการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดในภาคเหนือ. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม.
พระเมธีวราภรณ์ (สุทัศน์). (2555). เบญจศีลเบญจธรรม: อุดมชีวิตของมนุษย์. (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ต้นบุญ.
พระสมชาย เตชปญฺโญ (เตชะ). (2560). การบริหารงานวิชาการตามหลักฆราวาสธรรม 4 ของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ยุพิน ขุนทอง. (2561). การบริหารงานวิชาการสู่ความเป็นเลิศตามหลักอิทธิบาท 4 ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 25. (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ศตวุฒิ ศิริภักดิ์. (2560). แนวทางการบริหารโรงเรียนประถมศึกษาแบบมีส่วนร่วมกับชุมชน ตามหลักสังคหวัตถุ 4 เขตคลองสามวา กรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
อนงค์นาฏ จันทร์เต็ม. (2561). การศึกษาแนวทางการพัฒนาการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารตามหลักวุฒิธรรม 4 โรงเรียนขนาดกลางสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 2. (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.