สังคมไทยป่วยด้วยโควิดแก้ไข้ด้วยสามจิตกับหนึ่งทัศน์
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์ปัจจุบันของสังคมไทยที่กำลังป่วยด้วยวิกฤตการณ์ไวรัสโควิด-19 แต่สามารถแก้ไขด้วยสามจิต ได้แก่ จิตสำนึก จิตสาธารณะ และจิตอาสา และหนึ่งทัศน์ ได้แก่ นำมาบูรณาการกับโลกทัศน์ พบว่า สังคมไทยในปัจจุบันเกิดวิกฤตการณ์ด้วยไวรัสโควิด-19 โดยกระทรวงสาธารณสุขได้ออกประกาศในราชกิจจานุเบกษา มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2563 กำหนดให้โรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 เป็นโรคติดต่ออันตราย ลำดับที่ 14 ตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558 เพื่อประโยชน์ในการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดต่ออันตราย ซึ่งการแพร่ระบาดอย่างรวดเร็วและมีพิษที่ร้ายแรงทำให้ประชาชนเกิดความวิตกกังวลไปทั่วประเทศเศรษฐกิจทรุดลง แม้รัฐบาลจะใช้มาตรการแก้ไขปัญหาและกู้เงินมาเยียวยาให้แก่ผู้ที่ได้รับผลกระทบทั่วประเทศในรอบแรก ซึ่งดูเหมือนสถานการณ์จะดีขึ้น แต่แล้วในเดือนมกราคม 2564 วิกฤตในรอบสองมีการแพร่ระบาดหนักกว่าในรอบแรก ทำให้เกิดประเด็นปัญหาหลัก ๆ คือ ปัญหาทางกาย ได้แก่ การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 และปัญหาทางจิต ได้แก่ ความเครียด ผู้เขียนจึงได้เสนอการนำสามจิตกับหนึ่งทัศน์มาช่วยแก้ไขปัญหา เพราะอาการป่วยเริ่มที่จิตของคนแล้วลุกลามไปสู่สังคม ดังนั้น การแก้ไขก็ควรแก้ที่ต้นเหตุ คือ จิต เริ่มที่จิตสำนึก จิตสาธารณะ และจิตอาสา นำมาบูรณาการกับโลกทัศน์ เพราะถ้าคนมีจิตสำนึกก็จะทำให้รู้ผิดชอบชั่วดี ว่าอะไรควร อะไรไม่ควร รู้จักรับผิดชอบตนเองและสังคมได้ ถ้ามีจิตสาธารณะ ก็จะทำให้คิดถึงคนอื่นและสังคม ถ้ามีจิตอาสา ก็จะทำให้ได้บุคคลที่สมัครใจมาช่วยสังคมและประเทศชาติโดยไม่หวังสิ่งตอบแทน และเมื่อนำมาบูรณาการกับโลกทัศน์ ก็จะทำให้มองเห็นโลกนี้ตามสภาวะของความเป็นจริง
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงพิมพ์กับวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นข้อคิดเห็น และความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิจยวิชาการ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่ง ส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อการกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวิจยวิชาการก่อนเท่านั้น
References
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2565). รายงานสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ฉบับที่ 731 วันที่ 7 มกราคม 2565. เข้าถึงได้จาก/https://ddc.moph.go.th/ viralpneumonia/file/situation/situation-no731-070165.pdf.
กรมสุขภาพจิต. (2561). เร่งสร้างจิตสำนึกที่ดีให้ลูกท่ามกลางสังคมป่วย. เข้าถึงได้จาก/https://www.dmh.go.th/news-dmh/view.asp?id=27607
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
กระทรวงสาธารณสุข. (2564). ยุทธศาสตรการจัดการการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ระลอกใหม่. กรุงเทพฯ: บริษัท รับพิมพ์ จำกัด.
กาญจนา แก้วเทพ. (2557). ศาสตร์แห่งสื่อและวัฒนธรรมศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัดภาพพิมพ์.
กีรติกานต์ บุญฤทธิ์ และคณะ. (2551). โลกทัศน์ในรวมบทกวีนิพนธ์ม้าก้านกล้วย. วารสารวิชาการคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 4(2), 7-34.
ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์. (2552). สอนเด็กให้มีจิตสาธารณะ. พิษณุโลก: วี พริ้น.
ดุษฎี ไชยชนะ. (2550). ความสำนึกของคน. กรุงเทพฯ: วี พรินท์.
พรศักดิ์ ผ่องแผ้ว. (2531). ข่าวสารทางการเมืองของคนไทย. กรุงเทพฯ: เจ้าพระยาการพิมพ์.
พระนพบุรี มหาวรรณ์. (2549). ภาพสะท้อนโลกทัศน์ชาวล้านนาในนวนิยายของ มาลา คำจันทร์. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาไทย). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
พระไพศาล วิสาโล. (2544). วิถีสังคมไทย ชุดที่ 4 ประชาสังคมและวัฒนธรรมชุมชน. กรุงเทพฯ: เรือนแก้วการพิมพ์.
พระไพศาล วิสาโล. (2559). เครือข่ายจิตอาสา คู่มือจิตอาสาโครงการจิตอาสาเพื่อในหลวง. กรุงเทพฯ: สหธรรมมิก.
มัลลิกา มัติโก. (2541). จิตสำนึกทางสังคมของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการมัธยมศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหิดล.
ราชบัณฑิตยสถาน. (2546). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน. กรุงเทพฯ: บริษัทนามมีบุ๊คพับลิเคชั่นส์ จำกัด.
ศีรพัชร์ ฌานเชาว์วรรธน์ และมิ่ง ตันดา เตง. (2557). โลกทัศน์ของคนพม่าจากภาษิต. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร.
ศิริกร โพธิจักร.(2564). เครียด ซึมเศร้า หมดไฟ ปัญหาทางใจยุคโควิดระบาด. เข้าถึงได้จาก/ https://www.dmh.go.th/news/view.asp?id=2409
สัญญา สัญญาวิวัฒน์. (2549). จิตสำนึกเพื่อส่วนรวมเชิงพุทธ. ในการประชุมวิชาการประจำปีของเครือข่ายสถาบันอุดมศึกษา เขตภาคกลางเพื่อพัฒนาบัณฑิตอุดมคติไทย (น.41-45). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
สุนทรี จูงวงศ์สุข. (2548). การใช้กระบวนการสิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อเสริมสร้างลักษณะนิสัยจิตสาธารณะของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยเชียงใหม่. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนสังคมศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
สุพจน์ ทรายแก้ว. (2546). จิตสำนึกสาธารณะการก่อรูปและกระบวนการเสริมสร้าง . วารสารเพชรบุรีวิทยาลงกรณ์, 4(1), 45-47.
สุภาพร ทศพะรินทร์. (2556). ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมจิตอาสาของผู้สูงอายุในชมรมผู้สูงอายุจังหวัดนนทบุรี. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการแนะแนว). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
หฤทัย อาจเปรุ. (2544). ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลภาวะผู้นำรูปแบบการดำเนินชีวิตและความ สามารถในการเรียนรู้ด้วยตนเองกับการมีจิตสำนึกสาธารณะของนักศึกษาพยาบาลเขตกรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต). บัณฑิตวิทยาลัย: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อัญชลี ยิ่งรักษ์พันธ์. (2550). ผลการใช้สถานการณ์จำลองกับเทคนิคการประเมินจากสภาพจริงเพื่อพัฒนาจิตสาธารณะของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการวัดผลการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
Raj, M. (1996). Consciousness, Encyclopedia Dictionary of Psychology and Education. New Del hi: Anmol.