วัดเจดีย์ (ไอ้ไข่): คติชน การพัฒนาและการประกอบสร้างในฐานะ “พื้นที่ศักดิ์สิทธิ์”

Main Article Content

ธวเดช ภาจิตรภิรมย์
ชาญชัย จิวจินดา

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์คติชนเรื่องเล่าเกี่ยวกับไอ้ไข่ และ 2) วิเคราะห์การพัฒนาและการประกอบสร้างในฐานะ “พื้นที่ศักดิ์สิทธิ์  เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยวิธีการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 15 คน ประกอบด้วย กลุ่มพระสงฆ์และเจ้าหน้าที่วัดเจดีย์ไอ้ไข่ กลุ่มชาวบ้านในพื้นที่ กลุ่มพ่อค้าแม่ค้า กลุ่มนักท่องเที่ยว และกลุ่มผู้ที่เข้ามาขอพรบนบานและแก้บนภายในวัดเจดีย์ไอ้ไข่ ทำการกำหนดข้อความสั้น ๆ เพื่อใช้เป็นมโนทัศน์หรือหัวข้อสรุปแนวคิดที่สะท้อนความหมายสำคัญ ทั้งที่ปรากฏชัดแจ้งและแฝงอยู่ในข้อมูลส่วนย่อยนั้น แล้วจึงนำหัวข้อสรุปแนวคิดที่มีความหมายคล้ายคลึงหรือแตกต่างกัน มาจัดเป็นกลุ่มหัวข้อสรุปแนวคิดต่าง ๆ กลายเป็นหน่วยความหมายของข้อมูลที่มีขนาดใหญ่และมีระดับความเป็นธรรมมากขึ้น เป็นการนำข้อมูลจากการสัมภาษณ์มาตรวจสอบข้อมูลแบบสามเส้า ผลการวิจัย พบว่า 1) ทางคติชนวิทยา พบว่า ผู้คนได้ให้ความหมายวัดเจดีย์ไอ้ไข่ เป็นตำนาน เรื่องเล่า ความเชื่อ เป็นพื้นที่ที่ใช้ในการปฏิบัติธรรม การประกอบพิธีกรรมทางศาสนา การทำบุญให้ทาน และขอพรบนบานศาลกล่าวของหายอยากได้คืน จะเห็นได้จากตำนานของไอ้ไข่ และผ่านบทเพลง และ 2) ด้านการพัฒนาและการประกอบสร้างวัดเจดีย์ไอ้ไข่ให้กลายเป็นพื้นที่ท่องเที่ยวและพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ โดยการผลิตซ้ำตำนาน เรื่องเล่า ความเชื่อ พิธีกรรม รูปเคารพบูชา และการสร้างภาพแทนรูปเคารพของคนที่แสวงหาที่พึ่งทางใจเป็นสัญลักษณ์ที่สื่อความหมายและเป็นการสื่อสาร ระหว่างคนกับสิ่งที่เหนือธรรมชาติ การประกอบสร้างขึ้นมาใหม่ และการผลิตซ้ำ วัดเจดีย์ไอ้ไข่ได้ถูกพัฒนาขึ้นกลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยว และศรัทธาของผู้คนในพื้นที่และต่างพื้นที่ ก่อให้เกิดการสร้างมูลค่าเพิ่มและเป็นแหล่งสร้างรายได้ให้กับคนในชุมชน

Article Details

How to Cite
ภาจิตรภิรมย์ ธ. ., & จิวจินดา ช. . (2022). วัดเจดีย์ (ไอ้ไข่): คติชน การพัฒนาและการประกอบสร้างในฐานะ “พื้นที่ศักดิ์สิทธิ์” . วารสารวิจยวิชาการ, 5(5), 93–108. https://doi.org/10.14456/jra.2022.112
บท
บทความวิจัย

References

กาญจนา แก้วเทพ. (2538). กลุ่มทฤษฎีว่าด้วยเนื้อหาสาระและควาหมาย. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมมาธิราช.

นิมิตรชัย ชูปู, เก็ตถวา บุญปราการและปัญญา เทพสิงห์. (2559). การประกอบสร้างพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์และพิธีกรรมของวัดเขียนบางแก้ว อำเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง. ใน การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 23 (น. 69-89). สงขลา: มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

ปริตตา เฉลิมเผ่า ก่ออนันตกูล. (2546). การศึกษากระบวนการสร้างพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์. เชียงใหม่: สถาบันไทยคดีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ยุวัฒน์ วุฒิเมธี. (2526). หลักการพัฒนาชุมชนและการพัฒนาชนบท. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์อนุเคราะห์ไทย.

สัญญา สัญญาวิวัฒน์. (2545). ทฤษฎีสังคมวิทยา. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สิทธิพงษ์ บุญทอง เก็ตถวา บุญปราการ และปัญญา เทพสิงห์ . (2561). วัดเจดีย์ไอ้ไข่: พื้นที่ของการ นิยามความหมาย. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนามนุษย์และสังคม). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

สุวิทย์ มาประสงค์. (2559). วัดพะโคะกับการสร้างความหมายพื้นที่ของรัฐบรรณาการสู่การสวมทับทางวัฒนธรรมบนวีรบุรุษท้องถิ่น: กรณีหลวงพ่อทวดเหยียบน้ำทะเลจืด. รูสมิแล, 37(1), 6-37.

Geertz C. (1973). The Interpretation of Cultures. New York: Basic Books.

Hall, S. (1977). Representation: Cultural Representations and Signifying Practices. London: SAGE Publications.

Weber, M. (1970). Essays in Sociology. London: Oxford University Press.