การศึกษาสภาพและแนวทางการดำเนินการงานลูกเสือวิสามัญของสถานศึกษาสังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดพิษณุโลก

Main Article Content

วรวิทย์ หอมวงษ์
นงลักษณ์ ใจฉลาด

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพและแนวทางการดำเนินการงานลูกเสือของสถานศึกษาในสังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดพิษณุโลก เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี โดยการแจกแบบสอบถามที่มีค่าความเชื่อมั่น . 979 กับประชากรที่ใช้ในการวิจัยได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง คือ กลุ่มผู้บริหารสถานศึกษาและกลุ่มครูผู้ปฏิบัติงานจากสถานศึกษาสังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดพิษณุโลก ทั้ง 8 แห่ง ทั้งหมด 82 คน และการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 7 คน  โดยใช้แบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 1) สภาพการดำเนินการงานลูกเสือ ของสถานศึกษาในสังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดพิษณุโลก ในภาพรวม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการจัดกิจกรรมลูกเสือ และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด คือ ด้านปัจจัยสนับสนุน และ 2) แนวทางการดำเนินการงานลูกเสือ ของสถานศึกษาในสังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดพิษณุโลก พบว่า ในภาพรวม ด้านปัจจัยสนับสนุน สถานศึกษาควรมีการสนับสนุนงบประมาณในการพัฒนา ปรับปรุงสำนักงานลูกเสือเพื่อใช้สำหรับการปฏิบัติงานและจัดให้มีวัสดุ อุปกรณ์ที่ใช้ในกิจการลูกเสือเนตรนารีวิสามัญ

Article Details

How to Cite
Homwong, W., & ใจฉลาด น. . (2022). การศึกษาสภาพและแนวทางการดำเนินการงานลูกเสือวิสามัญของสถานศึกษาสังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดพิษณุโลก. วารสารวิจยวิชาการ, 5(5), 51–64. https://doi.org/10.14456/jra.2022.109
บท
บทความวิจัย

References

ชนก เชียงมูล. (2559). แนวทางพัฒนาการบริหารกิจกรรมลูกเสือของโรงเรียนสังกัดเทศบาลเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.

ชนาศิริ จันทร์น้ำด้วน. (2563). การศึกษาความต้องการจำเป็นและแนวทางการพัฒนาการดำเนินงานลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 3. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). คณะครุศาสตร์: มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม.

ชาญชัย ชุ่มเมืองเย็น. (2555). การบริหารกิจการลูกเสือในสถานศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 3. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.

ชูชาติ สกุณาคีรี. (2556). คุณภาพการบริหารงานลูกเสือของโรงเรียนบ้านแม่ต๋อม อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่. (การค้นคว้าอิสระศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ภัทรพร ครุตรารักษ์. (2559). ปัญหาและแนวทางการดำเนินกิจกรรมลูกเสือ เนตรนารี ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 32. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.

วิทยาลัยอาชีวศึกษาพิษณุโลก. (2563). การวางแผนการจดัการเรียนการสอนวิชากิจกรรม ลูกเสือวิสามัญ ครั้งที่1/2563. พิษณุโลก: วิทยาลัยอาชีวศึกษาพิษณุโลก.

วีรยา คำแหง. (2554). การศึกษาสภาพปัญหาและแนวทางการบริหารกิจการลูกเสือในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 3. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.

ศุภฤกษ์ ศิโรทศ. (2561). แนวทางการบริหารงานกิจกรรมลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 5. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

สมเกียรติ แถวไธสง. (2561). แนวทางการใช้กระบวนการลูกเสือสร้างระเบียบวินัยนักเรียน นักศึกษา ระดับอาชีวศึกษาของสถานศึกษาอาชีวศึกษา จังหวัดชัยภูมิ. เข้าถึงได้จาก http://www.Dsdw2016 .dsdw.go.th/doc_pr/ndc_2560-2561/PDF/8538s/%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0 %B8%A1.pdf

สัญญา โต๊ะหนู. (2559). การศึกษาความสัมพันธ์ของกิจกรรมลูกเสือกับการเป็นพลเมืองดีในโรงเรียนประถมศึกษาและมัธยมศึกษา สังกัดเมืองพัทยา. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยบูรพา.

สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. (2550). ระเบียบสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาว่าด้วยการจัดกิจกรรมลูกเสือ เนตรนารีวิสามัญ พ.ศ.2550. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา.

สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. (2552). ระเบียบสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาว่าด้วยการบริหารสถานศึกษา พ.ศ.2552. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา.

สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. (2556). มาตรฐานการประเมินคุณภาพงานลูกเสือวิสามัญในสถานศึกษาอาชีวศึกษา. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา.

สำนักงานลูกเสือแห่งชาติ. (2551). พระราชบัญญัติลูกเสือ พ.ศ.2551. กรุงเทพฯ: สำนักงานลูกเสือแห่งชาติ.