รูปแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้ต้องขังเรือนจำจังหวัดน่านเชิงพุทธบูรณาการ
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพคุณภาพชีวิตในปัจจุบันของผู้ต้องขังเรือนจำจังหวัดน่าน 2) ศึกษาการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้ต้องขังเรือนจำจังหวัดน่านตามนโยบายของกรมราชทัณฑ์ และ 3) นำเสนอรูปแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้ต้องขังเรือนจำจังหวัดน่านเชิงพุทธบูรณาการ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยมีการวิเคราะห์ข้อมูลจากคัมภีร์พระไตรปิฎกเอกสารวิชาการ รายงานการวิจัย วิทยานิพนธ์ และสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 40 คน เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนา ผลการวิจัย พบว่า 1) สภาพคุณภาพชีวิตในปัจจุบันของผู้ต้องขังเรือนจำจังหวัดน่าน อยู่อย่างแออัดล้นเรือนจำ โรงเลี้ยงอาหารคับแคบ เวชภัณฑ์ขาดแคลน สถานที่ศึกษาอบรมไม่เพียงพอ 2) การพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้ต้องขังเรือนจำจังหวัดน่านตามนโยบายของกรมราชทัณฑ์ มีการจัดการศึกษาอบรมให้กับผู้ต้องขัง คือหลักสูตรบังคับทั่วไป หลักสูตรบังคับตามลักษณะแห่งและหลักสูตรบังคับเลือก 3) รูปแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้ต้องขังเรือนจำจังหวัดน่าน คือด้านกายส่งเสริมให้มีการเล่นและแข่งขันกีฬา การดูแลรักษาสุขภาพอนามัย การรักษาพยาบาล การรับประทานอาหารที่สะอาดถูกสุขอนามัย ด้านจิตใจจัดการศึกษาอบรมวิชาธรรมศึกษา หลักสูตรสัคคสาสมาธิ การสวดมนต์ทำนองสรภัญญะ สวดมนต์ไหว้พระก่อนนอน ด้านสังคมจัดโครงการเยี่ยมญาติใกล้ชิด ประกวดร้อง ฝึกระเบียบแถว โครงการจิตอาสา โครงการเตรียมพร้อมก่อนปล่อย และด้านปัญญาจัดการศึกษาอบรมด้านธรรมะ บริการห้องสมุดพร้อมปัญญาให้ผู้ต้องขังได้ศึกษาค้นคว้าเพื่อเพิ่มพูนความรู้
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงพิมพ์กับวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นข้อคิดเห็น และความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิจยวิชาการ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่ง ส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อการกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวิจยวิชาการก่อนเท่านั้น
References
กรมราชทัณฑ์. (2559). บันทึกประวัติศาสตร์ 5 ก้าวย่างแห่งการเปลี่ยนแปลงราชทัณฑ์. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ราชทัณฑ์.
ชัยวัฒน์ รัตนวงค์. (2555). รูปแบบการจัดกิจกรรมสิ่งแวดล้อมสร้างสรรค์เพื่อสร้างเสริมคุณภาพชีวิตผู้ต้องขังสูงอายุ: กรณีศึกษาเรือนจำจังหวัดอุตรดิตถ์. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์, ฉบับพิเศษ, 95-102.
ชูชาติ สุทธะ. (2560). กระบวนการพัฒนาชีวิตเชิงพุทธบูรณาการ. (วิทยานิพนธ์พุทธศาตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระเทพวิสุทธิเมธี (ปัญญานันทภิขุ). (2552). ความสุขทำอย่างไรจึงจะพบสุข. กรุงเทพฯ: ธรรมสภา.
พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต). (2543). ทศวรรษธรรมทัศน์พระธรรมปิฎก หมวดศึกษาศาสตร์. กรุงเทพฯ: ธรรมสภา.
พระราชบัญญัติราชทัณฑ์ พุทธศักราช 2560. (2560, 18 กุมภาพันธ์). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 134 ตอนที่ 21 ก, หน้า 1-24.
พิรญาณ์ โคตรชมพู. (2561). การพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้ต้องขังเชิงพุทธบูรณาการ. (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
สวัสดิ์ จิรัฏฐิติกาล. (2556). การปฏิบัติธรรมของผู้ต้องขังในเรือนจำกลางคลองเปรม. (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
สุมนทิพย์ จิตสว่าง และนัทธี จิตสว่าง. (2559). การพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้ต้องขังสูงอายุในเรือนจำ. วารสารสังคมสงเคราะห์ศาสตร์, 24(2), 78-101.
อาภากร งามปลอด. (2558). การปฏิบัติตามมาตรฐานด้านคุณภาพชีวิตผู้ต้องขัง เรือนจำกลางจังหวัดสุราษฎร์ธานี. (วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการเมืองการปกครอง). คณะรัฐศาสตร์: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
เอื้อมอร ชลวร. (2553). การพัฒนาปัญญาในพระพุทธศาสนาเถรวาท. (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.