ปัจจัยที่มีส่งผลต่อความวิตกกังวลในการเรียนสาขาวิชา การบริหารการศึกษา ของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์

Main Article Content

ฐิตินันท์ ด้วงสุวรรณ
ทีปพิพัฒน์ สันตะวัน
สายทิตย์ ยะฟู

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับความวิตกกังวลในการเรียนสาขาวิชาการบริหารการศึกษาของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ 2) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความวิตกกังวลในการเรียนสาขาวิชาการบริหารการศึกษา และ 3) เปรียบเทียบความแตกต่างของปัจจัยที่ส่งผลต่อความวิตกกังวลในการเรียนสาขาวิชาการบริหารการศึกษา จำแนกตามเพศ อายุ และประสบการณ์ในการทำงาน ใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงปริมาณเก็บข้อมูลจากกลุ่มประชากร จำนวน  118 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .98 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบการทดสอบสมมุติฐาน t-test และ F-test (One–way ANOVA) ผลการวิจัย พบว่า 1) ระดับความวิตกกังวลในการเรียนสาขาวิชา การบริหารการศึกษา โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง (µ = 3.27) ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ด้านการทำวิทยานิพนธ์, การค้นคว้าอิสระ (µ= 4.00) รองลงมา คือ ด้านหมวดวิชา (ภาคบังคับ)  ( µ = 3.20) และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ วิชาเฉพาะด้าน (วิชาเลือก) (µ = 2.97) 2) ปัจจัยที่ส่งผลต่อความวิตกกังวลในการเรียนสาขาวิชาการบริหารการศึกษา โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง (µ= 3.15) ปัจจัยที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ปัจจัยทางกายภาพ (µ= 3.16)  รองลงมา คือ ด้านการสนับสนุนด้านการเรียนการสอนของครอบครัว (µ= 3.15) และปัจจัยที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ปัจจัยด้านส่วนตัว (µ  = 3.14) และ 3) ผลการเปรียบเทียบความแตกต่างของปัจจัยที่ส่งผลต่อความวิตกกังวลในการเรียนสาขาวิชาการบริหารการศึกษา จำแนกตามเพศ อายุ ประสบการณ์ในการทำงาน พบว่า อายุ มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ทั้งภาพรวมและรายด้าน ส่วนด้านเพศและประสบการณ์  ในการทำงาน ภาพรวมไม่แตกต่างกัน ด้านเพศ ปัจจัยส่วนตัวมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

How to Cite
ด้วงสุวรรณ ฐ., สันตะวัน ท., & ยะฟู ส. (2022). ปัจจัยที่มีส่งผลต่อความวิตกกังวลในการเรียนสาขาวิชา การบริหารการศึกษา ของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์. วารสารวิจยวิชาการ, 5(5), 289–302. https://doi.org/10.14456/jra.2022.125
บท
บทความวิจัย

References

เกศนีย์ มากช่วยและคณะ. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความวิตกกังวลในการพูดภาษาอังกฤษของนักศึกษาชั้นปีที่ 3. ใน การประชุมประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยทักษิณ ครั้งที่ 28 ประจำปี 2561. (น. 350-357). สงขลา: มหาวิทยาลัยทักษิณ.

มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ คณะครุศาสตร์. (2558). หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2558. นครสวรรค์: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ คณะครุศาสตร์. (2563). รายงานผลการดำเนินการหลักสูตร (มคอ7) หลักสูตรครุศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2563) ประจำปีการศึกษา 2563. นครสวรรค์: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

ณิรดา เวชญาลักษณ์. (2551). คู่มือการปฏิบัติงานการดำเนินการจัดฝึกอบรม ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงาน จังหวัดแพร่. แพร่: กรมพัฒนาฝีมือแรงงานกระทรวงแรงงาน.

เนาวรัตน์ เลิศมณีพงศ์. (2555). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการกำกับตนเองในการทำปริญญานิพนธ์ของนิสิตบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ. (ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการวิจัยและสถิติทางการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ.

บุญชม ศรีสะอาด. (2554). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

พิษณุ ฟองศรี. (2553). การเขียนรายงานประเมินโครงการ. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพ: เพชรรุ่ง การพิมพ์.

ไพรัช วงศ์ศรีตระกูล. (2554). ปัจจัยทางการศึกษาที่มีผลต่อความเครียดและความวิตกกังวลของนักศึกษามหาวิทยาลัยธนบุรี. ใน การประชุมวิชาการ มสธ. วิจัย ประจำปี 2554. (น. 124-135). นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ระชานนท์ ทวีผล และประสพชัย พสุนนท. (2558). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความวิตกกังวลของนักศึกษาสาขาวิชาการจัดการโรงแรม คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากร. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). คณะวิทยาการจัดการ: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ศศิธร รุ่งเรือง, ไพลิน พันธมิตร และทิพย์วรรณ ศิบุญนันท์. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการเรียนของนักศึกษาสาขาวิชาการบัญชี มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 5 สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (น. 711-717). กำแพงเพชร: มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.

สุรางค์ โค้วตระกูล. (2559). จิตวิทยาการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 12 ฉบับปรับปรุงแก้ไข.). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี. (2559) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่สิบสอง พ.ศ. 2560-2564. เข้าถึงได้จาก https://www.nesdc.go.th/ewt_dl_link. php? Ni d=6422

อภิญญา อิงอาจ, ณัฐพร กาญจนภูมิ และพรพรรณ เชยจิตร. (2563). ความกังวลในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโลน่า 2019 ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี. วารสารบริหารธุรกิจ เทคโนโลยีมหานคร, 7(2), 94-113.