ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัดชัยนาท

Main Article Content

ปรีชา ตุ้มโท
ทินกรณ์ ชอัมพงษ์
สายทิตย์ ยะฟู

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการของโรงเรียน 2) ศึกษาระดับการบริหารงานวิชาการ 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการกับการบริหารงานวิชาการ 4) สร้างสมการพยากรณ์การบริหารงานวิชาการ ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย ผู้บริหารและครู จำนวน 242 คน โดยการเปิดตารางเครจซี่และมอร์แกนและการสุ่มอย่างง่ายด้วยวิธีการจับฉลาก เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามปัจจัยผู้บริหารสถานศึกษา ปัจจัยครูผู้สอน ปัจจัยงบประมาณ ปัจจัยวัสดุอุปกรณ์ สื่อและเทคโนโลยี ปัจจัยสภาพแวดล้อมและอาคารสถานที่และปัจจัยผู้ปกครองและชุมชน มีค่าความเที่ยงเท่ากับ .92, .88, .92, .92, .90, .88 ตามลำดับและแบบสอบถามระดับการบริหารงานวิชาการมีค่าความเที่ยงเท่ากับ .99 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สันและค่าสัมประสิทธิ์การถดถอย ผลการวิจัย พบว่า 1) ระดับปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{X}=4.35, S.D. = 0.64) 2) ระดับการบริหารวิชาการของโรงเรียนโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{X} =4.37, S.D. = 0.59) 3) ค่าความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการกับการบริหารงานวิชาการมีความสัมพันธ์กันทางบวก โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่าง 0.66-0.73 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ 4) ปัจจัยผู้ปกครองและชุมชน (X6) ปัจจัยงบประมาณ (X3) ปัจจัยวัสดุอุปกรณ์ สื่อและเทคโนโลยี (X4) ปัจจัยผู้บริหารสถานศึกษา (X1) และปัจจัยครูผู้สอน (X2) ส่งผลต่อการบริหารวิชาการของโรงเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สามารถพยากรณ์การบริหารวิชาการของโรงเรียนได้ร้อยละ 66.00 ได้สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบ


สมการพยากรณ์ในรูปของคะแนนมาตรฐาน

Article Details

How to Cite
ตุ้มโท ป., ชอัมพงษ์ ท., & ยะฟู ส. (2022). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัดชัยนาท. วารสารวิจยวิชาการ, 5(5), 303–316. https://doi.org/10.14456/jra.2022.126
บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. กรุงเทพฯ: บริษัท พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.

ดาราวรรณ กลั่นเขตร์การณ์. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 3. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). คณะครุศาสตร์: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

ปพนสรรค์ โพธิพิทักษ์. (2560). แนวคิดสู่การปฏิบัติการบริหารสถานศึกษา. นครสวรรค์: คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

ปรารถนา แสงคำ. (2562). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนประถมศึกษาในกลุ่มตากสิน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 1. (งานนิพนธ์การศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). คณะศึกษา ศาสตร์: มหาวิทยาลัยบูรพา.

ปารณี เพชรสีช่วง. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 14. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาศึกษาศาสตรบริหารการศึกษา). คณะศึกษาศาสตร์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ภัทราภรณ์ คล้ายแก้ว. (2561). แนวทางการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาในจังหวัดชัยนาท สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 5. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). คณะครุศาสตร์: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

ศสิกรณ์ ศรีเขาล้าน. (2562). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนในสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2 กรุงเทพมหานคร. (งานนิพนธ์การศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). คณะศึกษา ศาสตร์: มหาวิทยาลัยบูรพา.

สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดชัยนาท. (2564). แผนปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564. ชัยนาท: กลุ่มนโยบายและแผน สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดชัยนาท.

สุกัญญา นิ่มพันธ์. (2563). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 5. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). คณะครุศาสตร์: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

อธิวัฒน์ พันธ์รัตน์. (2562). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). คณะครุศาสตร์: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

อภิเชษฐ์ บุญพะยอม. (2560). แนวทางการบริหารงานวิชาการโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 2. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). คณะครุศาสตร์: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.