แนวทางการเสริมศักยภาพการจัดการธุรกิจทางวัฒนธรรมของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนในพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี

Main Article Content

กัลญา แก้วประดิษฐ์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัญหา กระบวนการจัดการ และแนวทางการเสริมศักยภาพการจัดการธุรกิจทางวัฒนธรรมของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนในพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพใช้วิธีการสุ่มกลุ่มอย่างง่าย จำนวน 4 กลุ่ม เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการสำรวจ สังเกต สัมภาษณ์ สนทนากลุ่ม และประชุมเชิงปฏิบัติการ จากกลุ่มผู้รู้ ผู้ปฏิบัติและผู้ให้ข้อมูลทั่วไป จำนวน 80 คน นำเสนอผลการวิจัยเชิงพรรณนาวิเคราะห์ ผลการวิจัย พบว่า 1) สภาพปัญหาการจัดการธุรกิจทางวัฒนธรรมของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนในพื้นที่จังหวัด สุราษฎร์ธานี จำแนกออกเป็น 2 ปัจจัย คือ 1.1) ปัญหาภายใน ได้แก่ (1) ขาดการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน (2) ขาดความรู้และทักษะการใช้ภาษาอังกฤษ (3) ขาดความรู้ในการจัดการตลาดออนไลน์ (4) ขาดเงินทุนในการผลิต (5) วัตถุดิบมีราคาสูงและเทคโนโลยีในการผลิตไม่ทันสมัย และ 1.6) ขาดแคลนแรงงานและการสืบทอดภูมิปัญญา และ 1.2) ปัญหาภายนอก ได้แก่ (1) เกณฑ์กำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์ส่งออกต่างประเทศสูง (2) ปัญหาโครงสร้างพื้นฐานและการคมนาคม (3) การสนับสนุนของหน่วยงานของรัฐไม่มีความต่อเนื่อง และ (4) ตลาดการผลิตสินค้าทางวัฒนธรรมเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว 2) กระบวนการจัดการธุรกิจทางวัฒนธรรม มี 7 ขั้นตอน คือ 2.1) การประสานแนวคิดร่วมกัน 2.2) ประชุมและจัดทำแผนพัฒนาผลิตภัณฑ์ 2.3) ผลิตสินค้าและบริการทางวัฒนธรรม 2.4) ตรวจสอบควบคุมคุณภาพสินค้าให้ได้มาตรฐาน 2.5) วิเคราะห์พัฒนาผลิตสินค้าและบริการ 2.6) การบริหารจัดการตลาด และ 2.7) วิเคราะห์ผลดำเนินการผลิตสินค้าและบริการ และ 3) ผลการเสริมศักยภาพการจัดการธุรกิจทางวัฒนธรรม พบว่ามี 3 แนวทางสำคัญ ได้แก่ 3.1) เสริมศักยภาพทุนทรัพยากรบุคคล 3.2) เสริมศักยภาพทุนทรัพยากรสภาพแวดล้อมการจัดการธุรกิจ และ 3.3) คงอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมร่วมของคนในชุมชน

Article Details

How to Cite
Kaewpradit ก. (2022). แนวทางการเสริมศักยภาพการจัดการธุรกิจทางวัฒนธรรมของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนในพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารวิจยวิชาการ, 5(5), 79–92. https://doi.org/10.14456/jra.2022.111
บท
บทความวิจัย

References

กัลญา แก้วประดิษฐ์. (2556). กระจูด: การพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์ในชุมชนด้วยศิลปหัตถกรรมพื้นบ้านภาคใต้. (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวัฒนธรรมศาสตร์). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

คทาเทพ พงศ์ทอง. (2560). ตัวแบบการจัดการวัฒนธรรมของชุมชนบ้านหมากขาม และบ้านหมากม่วงในเขตเทศบาลตำบลไตรรัฐ. (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนาสังคมและการจัดการสิ่งแวดล้อม). คณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

จินตนา กาญจนวิสุทธิ์. (2558). เส้นทางวิสาหกิจชุมชนเพื่อการพัฒนาอาชีพและการ พึ่งพาตนเอง. กรุงเทพฯ : มีน เซอร์วิส ซัพพลาย.

นิตยา ตั้งศุภธวัช. (2561). การวิเคราะห์ศักยภาพวิสาหกิจชุมชนการวิเคราะห์ศักยภาพกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านน้อยพัฒนา. เข้าถึงได้จาก http://www.kcenter.Doae.go.th

วชิรวิทย์ วิชาสวัสดิ์. (2562). แนวทางการพัฒนาศักยภาพการบริหารและการจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชนโบราณบ้านเชียงเหียน จังหวัดมหาสารคาม. วารสารวิชาการการท่องเที่ยวไทยนานาชาติ, 15(2), 21-34.

สำนักงานเกษตรจังหวัดกาญจนบุรี. (2558). รายงานข้อมูลวิสาหกิจชุมชนจังหวัดกาญจนบุรี. กาญจนบุรี: สำนักงานเกษตรจังหวัดกาญจนบุรี กรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.

สำนักงานเกษตรจังหวัดสุราษฎร์ธานี. (2558). รายงานข้อมูลวิสาหกิจชุมชนจังหวัดสุราษฎร์ธานี. สุราษฎร์ธานี: สำนักงานเกษตรจังหวัดสุราษฎร์ธานี กรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.

สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา. (2565). พระราชบัญญัติวัฒนธรรมแห่งชาติ พ.ศ. 2553. เข้าถึงได้จาก https://www.mculture.go.th/mculture_th60/article_attach/article_fileattach_20200713155732.pdf

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2561). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11. เข้าถึงได้จาก www.ldd.go.th/Thai-html

สุดเฉลิม ศัสตราพฤกษ์ และไพศาล บรรจุสุวรรณ์. (2558). ธรรมาภิบาลเพื่อการจัดการและการพัฒนาวิสาหกิจชุมชน. วารสารการพัฒนาชุมชน และคุณภาพชีวิต, 3(3), 271-283.

อมราวรรณ ทิวถนอม. (2548). การเสริมสร้างทุนทางสังคมมุ่งสร้างสังคมใสสะอาดคนมีความสุข. วารสารเศรษฐกิจและสังคม, 42(6), 65-69.