พฤติกรรมทางการเมืองของพลเมืองตามวิถีประชาธิปไตยในจังหวัดนนทบุรี

Main Article Content

ยุทธนา ปราณีต

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความคิดเห็นที่มีต่อพฤติกรรมทางการเมือง 2) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมทางการเมือง และ 3) นำเสนอแนวทางการพัฒนาพฤติกรรมทางการเมืองของพลเมืองตามวิถีประชาธิปไตยในจังหวัดนนทบุรี วิธีดำเนินการวิจัยแบบผสานวิธี การวิจัยเชิงคุณภาพโดยการสัมภาษณ์จากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 18 รูป/คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการพรรณนาความ และการวิจัยเชิงปริมาณ เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามที่มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .891 จากลุ่มตัวอย่าง 400 คน จากประชาชนผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง ในพื้นที่จังหวัดนนทบุรี จำนวน 992,850 คน สถิติที่ใช้ในการวิจัยคือ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า 1) พฤติกรรมทางการเมืองของพลเมืองตามวิถีประชาธิปไตยในจังหวัดนนทบุรี โดยรวมอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{X}= 3.76) เมื่อพิจารณาโดยเรียงตามค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย พบว่าดังนี้ ด้านการมีส่วนร่วมทางการเมือง อยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{X}=4.03) ด้านการสังเกตการณ์ทางการเมือง อยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{X}=3.99) และด้านการเป็นหุ้นส่วนทางการเมือง อยู่ในระดับปานกลาง (gif.latex?\bar{X}= 3.27) ตามลำดับ 2) ปัจจัยด้านการเลือกตั้ง (X1), ด้านวัฒนธรรมทางการเมือง (X2), ด้านการกล่อมเกลาทางการเมือง (X3) ด้านการเลือกตั้ง (X4) และด้านพฤติกรรมทางการเมืองตามหลักพุทธธรรม ส่งผลต่อพฤติกรรมทางการเมืองของพลเมืองตามวิถีประชาธิปไตย (Y) ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.002 ซึ่งทั้ง 5 ปัจจัย สามารถอธิบายความผันแปรของพฤติกรรมทางการเมืองของพลเมืองตามวิถีประชาธิปไตยในจังหวัดนนทบุรี (Y) ได้ร้อยละ 97.0 โดยมีสัมประสิทธิ์การถดถอยมาตรฐาน (gif.latex?\beta4, gif.latex?\beta3, gif.latex?\beta5, gif.latex?\beta1, gif.latex?\beta2) เท่ากับ 0.652, 0.479, 0.413, 0.313 และ 0.309 ตามลำดับ และ 3) แนวทางการพัฒนาพฤติกรรมทางการเมืองของพลเมืองตามวิถีประชาธิปไตยในจังหวัดนนทบุรี โดยการส่งเสริมการมีส่วนร่วม เพื่อการสื่อสารทางการเมือง เพิ่มการเรียนรู้สร้างบทบาททางการเมืองแก่ประชาชน

Article Details

How to Cite
ปราณีต ผ. (2022). พฤติกรรมทางการเมืองของพลเมืองตามวิถีประชาธิปไตยในจังหวัดนนทบุรี. วารสารวิจยวิชาการ, 5(3), 225–234. https://doi.org/10.14456/jra.2022.71
บท
บทความวิจัย

References

วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี. (2564). การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562. เข้าถึงได้จาก https: //th.wikipedia.org/wiki/จังหวัดนนทบุรี

จำลอง พรมสวัสดิ์. (2554). พฤติกรรมทางการเมืองของชนชั้นกลางกับการเมืองในระบอบประชาธิปไตยของไทยในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลช่วงพุทธศักราช 2551-2552. (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาสื่อสารการเมือง). วิทยาลัยสื่อสารการเมือง: มหาวิทยาลัยเกริก.

พิกุล มีมานะ. (2560). รูปแบบพฤติกรรมการแสดงออกทางการเมืองตามวิถีประชาธิปไตย. วารสารสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 4(2), 135-149.

รสลิน ศิริยะพันธุ์ และคณะ. (2562). พฤติกรรมทางการเมืองของชนชั้นกลางกับพัฒนาการทางการเมืองไทย: ศึกษากรณีภาคเหนือ. (รายงานการวิจัย). นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

สัญญา เคณาภูมิ และกชพร ประทุมวัน. (2558). วิถีประชาธิปไตยของพลเมืองในระบอบประชาธิปไตย. วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์, 5(2), 181-199.

สิทธิชัย อินทร์บุญ. (2555). พฤติกรรมการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในอำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ต่อการเลือกตั้งทั่วไปในวันที่ 3 กรกฎาคม 2554. (วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการเมืองและการปกครอง). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สุรพล พรมกุล. (2559). พฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2557 ในจังหวัดขอนแก่น. วารสารธรรมทรรศน์, 15(3), 103-118.

องอาจ จัตุกูล. (2552). การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนใน เขตเทศบาลตำบลหนองแวงอำเภอละหานทราย จังหวัดบุรีรัมย์. (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.

Yamane, T. (1967). Statistic: An Introductory Analysis. New York: Harpen and Row.