สุขภาวะเชิงพุทธกับการพัฒนาความมั่นคงของมนุษย์

Main Article Content

สมาน ศิริเจริญสุข

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอสุขภาวะเชิงพุทธกับการพัฒนาความมั่นคงของมนุษย์ พบว่า สุขภาวะเป็นการดูแลรักษา การป้องกัน และการเยียวยาทั้งทางด้านร่างกาย สังคม และจิตใจ มนุษย์ทุกคนจำต้องปฏิบัติประยุกต์ใช้หลักธรรม เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการดูแล การป้องกันและการเยียวยาชีวิต โดยเฉพาะทางด้านจิตใจ การส่งเสริมกำลังใจให้ผู้ป่วยหนัก มีความหวังที่จะดูแลรักษาใจซึ่งถือว่าสำคัญที่สุด ขณะที่สุขภาวะเชิงพุทธเป็นทางเลือกหนึ่งในการพัฒนาความมั่นคงของมนุษย์ เนื่องจากเป็นหลักแห่งความจริงของธรรมชาติ โดยพิจารณาถึงองค์ประกอบในร่างกาย คือ ร่างกาย จิตใจ สังคม และจิตปัญญา ทุกคนสามารถเรียนรู้ด้วยตนเอง ทำให้เกิดการพัฒนาทางด้านร่างกาย จิตใจ และปัญญาไม่สามารถแยกออกจากกันได้และความสัมพันธ์ดังกล่าวต้องอยู่ในภาวะสมดุลเพื่อให้บรรลุเป้าหมายในการมีสุขภาวะที่ดี

Article Details

How to Cite
ศิริเจริญสุข ส. . (2022). สุขภาวะเชิงพุทธกับการพัฒนาความมั่นคงของมนุษย์. วารสารวิจยวิชาการ, 5(5), 331–342. https://doi.org/10.14456/jra.2022.128
บท
บทความวิชาการ

References

ประเวศ วะสี. (2548). การจัดการความรู้: กระบวนการปลดปล่อยมนุษย์สู่ศักยภาพ เสรีภาพ และความสุข. กรุงเทพฯ: สถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม.

ประเวศ วะสี. (2551). สุขภาวะที่สมบูรณ์ สุขภาวะ 4 x 4 = 16. เข้าถึงได้จาก https://www.doctor.or.th/article/detail/5694.

พระครูวิรุฬสุวรรณดิตห์ กนฺตธมฺโม. (2564). พระพุทธศาสนากับการพัฒนาสุขภาพแบบองค์รวม. ใน รายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับชาติครั้งที่ 7 “วิถีพุทธ วิถีชุมชน รากฐานชีวทัศน์เชิงสังคมล้านนาในสังคมวิถีใหม่” (น. 844-848). ลำพูน: วิทยาลัยสงฆ์ลำพูน มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระครูสุตพัฒนาภรณ์. (2563). แนวทางการส่งเสริมสุขภาวะในพระพุทธศาสนา ตามแนวทางพุทธเถรวาท. วารสารบัณฑิตสาเกตปริทรรศน์, 5(1), 57-68.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2548). สุขภาวะองค์รวมแนวพุทธ. พุทธจักร, 59(11), 5-10.

พระสุนทรกิตติคุณ. (2559). หลักพุทธธรรมกับการดูแลสุขภาพแบบองค์รวมในผู้สูงอายุ. วารสารมหาจุฬาวิชาการ, 3(1), 11-25

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สนิท สัตโยภาส. (2559). แรงงานต่างด้าวกับความมั่นคงทางสังคม. วารสารบัณฑิตวิจัย, 7(1), 193-207.

สมนึก หงษ์ยิ้ม. (2564). พุทธวิธีการสร้างเสริมสุขภาพแบบองค์รวมอย่างยั่งยืน. วารสารพุทธนวัตกรรมปริทรรศน์, 2(1), 212-220.

สำนักงานปฏิรูประบบสุขภาพแห่งชาติ (สปรส). (2546). สุขภาพทางจิตวิญญาณสู่สุขภาพทางปัญญา. กรุงเทพฯ: อุษาการพิมพ์.

เสาวนีย์ ฤดี. (2554). สุขภาวะองค์รวมแนวพุทธ: กรณีศึกษาผู้ป่วยโรคเบาหวานโรงพยาบาลราชวิถี. (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาชีวิตและความตาย). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

Hungelmann, J. et al. (1996). Focus on spiritual well-being harmonious interconnectedness of mind-body-spirit. Geratric Nursing, 17(6), 262-266.