การบริหารเวลาของผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3

Main Article Content

สุภาวดี ไตรโยธี
บุญมี ก่อบุญ
วันเพ็ญ นันทะศรี

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการบริหารเวลาของผู้บริหาร 2) ศึกษาระดับประสิทธิผลโรงเรียน 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารเวลาของผู้บริหารกับประสิทธิผลโรงเรียน 4) ศึกษาอำนาจพยากรณ์ของการบริหารเวลาที่มีต่อประสิทธิผลโรงเรียน และ 5) เสนอแนวทางพัฒนาการบริหารเวลาของผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหาร และครูผู้สอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 343 คน โดยใช้วิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับการบริหารเวลาของผู้บริหาร มีค่าอำนาจจำแนก ตั้งแต่ .63-.91 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .97 แบบสอบถามเกี่ยวกับประสิทธิผลโรงเรียนมีค่าอำนาจจำแนก ตั้งแต่ .55-.92 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .98 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัย พบว่า 1) การบริหารเวลาของผู้บริหาร โดยรวมอยู่ในระดับมาก 2) ประสิทธิผลโรงเรียน พบว่า โดยรวมอยู่ในระดับมาก 3) ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารเวลาของผู้บริหารกับประสิทธิผลโรงเรียน พบว่า โดยรวม มีความสัมพันธ์กันทางบวกในระดับสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 4) การบริหารเวลาของผู้บริหาร มีอำนาจพยากรณ์ประสิทธิผลโรงเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีอำนาจพยากรณ์ประสิทธิผลโรงเรียน เท่ากับ .809 หรือร้อยละ 80.90 และมีความคลาดเคลื่อนมาตรฐานของการพยากรณ์ .257 และ 5) การบริหารเวลาของผู้บริหาร ในโรงเรียนสังกัดสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3 ที่ควรได้รับการพัฒนา มีจำนวน 4 ด้าน คือ การตั้งเป้าหมาย การจัดลำดับความสำคัญของงาน การติดตามผลการใช้เวลา และการจัดองค์การ

Article Details

How to Cite
ไตรโยธี ส., ก่อบุญ บ. ., & นันทะศรี ว. (2022). การบริหารเวลาของผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3 . วารสารวิจยวิชาการ, 5(6), 151–164. https://doi.org/10.14456/jra.2022.142
บท
บทความวิจัย

References

ธัญชนิต มากมี. (2561). การใช้เวลาในการบริหารงานของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 3. (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยนเรศวร.

ธัณฐภรณ์ สิมมา. (2561). การบริหารเวลากับประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครปฐม เขต 1. (วิทยานิพนธ์การบริหารการศึกษามหาบัณฑิต). คณะศึกษาศาสตร์: มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์.

บรรจง คำหล้า. (2555). การบริหารเวลาของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 5. (การค้นคว้าอิสระศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

เรไร ประกอบผล. (2560). การบริหารเวลาในการปฏิบัติงานของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตคลองสามวา กรุงเทพมหานคร. วารสารออนไลน์บัณฑิตศึกษา คณะศึกษา ศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง. เข้าถึงได้จาก http://www.edu-journal.ru.ac.th/ index.php/abstractData/viewIndex/830.ru.

วาโร เพ็งสวัสดิ์. (2551). วิธีวิทยาการวิจัย. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

วิเชียร นิลเศษ. (2555). แนวทางพัฒนาการบริหารเวลาของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากำแพงเพชร เขต 2. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.

ศิริสุดา แก้วมณีชัย. (2563). รูปแบบความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงเส้นของปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารเวลาอย่างมีประสิทธิภาพของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. (วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

สาวิตรี บุญญะวัตร. (2554). การบริหารเวลาในการปฏิบัติงานของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเลย เขต 3. (สารนิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3. (2559). แผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐาน (พ.ศ.2559-2563). เข้าถึงได้จาก http://www.sakonnakhon3.go.th/

new/wp-content/uploads/2019/07/O4.pdf.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560-2564). เข้าถึงได้จาก https://www.nesdc.go. th/ewt_dl_link.php?nid=6422

เสวก สุขเสือ. (2550). การบริหารเวลาในการปฏิบัติภารกิจของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครสวรรค์ เขต 3. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี.

โสภา แซ่โง้ว. (2558). การบริหารเวลาในการบริหารงานของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในอำเภอโป่งน้ำร้อน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 2. (งานนิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). คณะศึกษาศาสตร์: มหาวิทยาลัยบูรพา.