การศึกษาสภาพและแนวทางทางการบริหารการจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560 ในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 1

Main Article Content

ศุภนิดา อินทร์สุข
ณิรดา เวชญาลักษณ์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาสภาพและแนวทางการบริหารการจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยพุทธศักราช 2560 ในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 1 ประชากร คือ สถานศึกษา จำนวน 113 แห่ง กำหนดจำนวนขนาดกลุ่มตัวอย่างจากตารางเครจซี่และมอร์แกน ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 92 แห่ง กลุ่มผู้ให้ข้อมูล ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 92 คน และครูผู้สอนระดับปฐมวัย จำนวน 92 คน รวมทั้งสิ้น 184 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .971 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า 1) สภาพการบริหารการจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยพุทธศักราช 2560 ในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการจัดสภาพแวดล้อม สื่อ และแหล่งเรียนรู้เพื่อส่งเสริมพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย ด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด คือ การจัดทำแผนการจัดประสบการณ์เรียนรู้ปฐมวัย และ 2) แนวทางการบริหารการจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยพุทธศักราช 2560 พบว่า การจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัยประกาศใช้อย่างถูกต้อง การจัดอบรมปฏิบัติการ การจัดทำแผนการจัดประสบการณ์เรียนรู้ปฐมวัย การสร้างหรือปรับปรุงแผนการจัดประสบการณ์การศึกษาปฐมวัย การจัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้ความเข้าใจกับพ่อแม่ ผู้ปกครอง การจัดสภาพแวดล้อม สื่อ และแหล่งเรียนรู้เพื่อส่งเสริมพัฒนาการภายในสถานศึกษาให้เป็นระบบ ใช้สื่อเทคโนโลยีนวัตกรรมและกิจกรรมที่หลากหลาย การวัดและประเมินผลที่เหมาะสมเป็นที่ยอมรับและสร้างความเข้าใจในหัวข้อของการประเมินร่วมกัน

Article Details

How to Cite
Insuk, S., & เวชญาลักษณ์ ณ. . (2022). การศึกษาสภาพและแนวทางทางการบริหารการจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560 ในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 1. วารสารวิจยวิชาการ, 5(6), 49–62. https://doi.org/10.14456/jra.2022.134
บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พุทธศักราช 2545. กรุงเทพฯ: คุรุสภา.

กิติชัย วงศ์ศิลปะกุล. (2563). การบริหารการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พ.ศ.2560 ของโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ธัญญาภรณ์ นุชเฉย. (2551). การนำเสนอรูปแบบแนวทางการบริหารงานวิชาการระดับปฐมวัยของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครสวรรค์ เขต 3. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

นันทนิตย์ อริยสัจ. (2555). การศึกษาสภาพและปัญหาการบริหารหลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัยของโรงเรียนเอกชนในจังหวัดจันทบุรี. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). คณะครุศาสตร์: มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.

บุญเชิด ชำนิศาสตร์. (2556). การพัฒนารูปแบบการบริหารวิชาการ ในการจัดการศึกษาปฐมวัยของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา เพชรบุรี. (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยสยาม.

พระราชบัญญัติการพัฒนาเด็กปฐมวัย พ.ศ. 2562. (2565, 30 เมษายน). ราชกิจจานุเษกษา. เล่มที่ 136 ตอนที่ 56 ก, หน้า 5-16.

มัทนา ฉวนพยัคย์. (2558). ปัญหาและแนวทางการพัฒนาการจัดการศึกษาระดับปฐมวัยในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 1. (งานนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). คณะศึกษาศาสตร์: มหาวิทยาลัยบูรพา.

รัตติยา พงษ์ปลัด. (2555). การจัดสภาพแวดล้อมสถานศึกษาสำหรับเด็กปฐมวัยตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา และครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลพบุรี เขต 2. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). คณะครุศาสตร์: มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี.

รัตนาภรณ์ เตปินตา. (2555). ปัญหาการจัดการศึกษาระดับปฐมวัยในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 2. (งานนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). คณะศึกษาศาสตร์: มหาวิทยาลัยบูรพา.

สำนักประเมินผลการจัดการศึกษา. (2552). รายงานความก้าวหน้าการจัดการเรียนรู้ระดับปฐมวัยปี 2551-2552. กรุงเทพฯ: เพลิน สตูดิโอ.

สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2561). คู่มือหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560 สำหรับเด็ก อายุ 3-6 ปี. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

สิทธินนท์ ห้อยพรมราช. (2557). แนวทางการบริหารงานวิชาการโรงเรียนในอำเภอปางศิลาทอง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากําแพงเพชร เขต 2. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

สุริยา คงมั่น. (2559). การจัดการศึกษาปฐมวัยกับประสิทธิภาพการบริหารจัดการโรงเรียน สังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 2. (วิทยานิพนธ์การศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

อนุรักษ์ มาสเนตร. (2552). ศึกษาการดำเนินงานการบริหารด้านการศึกษาตามาตรฐานศูนย์เด็กเล็กกรมอนามัยของสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยในเขตบางซื่อ. (สารนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

Krejcie, R.V. and Morgan, D.W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.