ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุของบุคลากร องค์การบริหารส่วนตำบลบึงพะไล อำเภอแก้งสนามนาง จังหวัดนครราชสีมา

Main Article Content

วันชัย จันคำ
สมปอง สุวรรณภูมา
ณัฐดนัย แก้วโพนงาม

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุของบุคลากร 2) ศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุของบุคลากร และ 3) หาแนวทางการพัฒนาการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุของบุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบลบึงพะไล อำเภอแก้งสนามนาง จังหวัดนครราชสีมา เป็นการวิจัยแบบผสานวิธีระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้แบบสอบถามประมาณค่า 5 ระดับ ที่มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .83 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ บุคลากรในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลบึงพะไล อำเภอแก้งสนามนาง จังหวัดนครราชสีมา โดยคำนวณหาจำนวนตัวอย่างตามสูตรทาโรยามาเน่ จำนวน 270 คน และการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 10 คน มาใช้หาข้อมูลในการสัมภาษณ์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยแบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ได้แก่ การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณโดยใช้วิธีการคัดเลือกตัวแปรแบบเป็นลำดับขั้น และการพรรณนา จำแนกข้อมูล ผลการวิจัย พบว่า การส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุของบุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบลบึงพะไล อยู่ในระดับปานกลาง ( gif.latex?\bar{X} =3.07) โดยเรียงลำดับด้านมากไปหาน้อยได้ดังนี้ ด้านการมีส่วนร่วมการประเมินนโยบายส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ (gif.latex?\bar{X}  =3.11) ด้านการกำหนดนโยบายส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ (gif.latex?\bar{X}  =3.07) และด้านการมีส่วนร่วมการนำนโยบายส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุไปปฏิบัติ (gif.latex?\bar{X}  =3.02) ตามลำดับ ตัวแปรปัจจัยแต่ละด้านที่ส่งผลต่อปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุของบุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบลบึงพะไล อำเภอแก้งสนามนาง จังหวัดนครราชสีมา โดยรวมทุกด้าน พบว่า มีนัยสำคัญที่ระดับ .05

Article Details

How to Cite
จันคำ ว. ., สุวรรณภูมา ผ. ด., & แก้วโพนงาม ณ. . (2022). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุของบุคลากร องค์การบริหารส่วนตำบลบึงพะไล อำเภอแก้งสนามนาง จังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิจยวิชาการ, 5(6), 265–276. https://doi.org/10.14456/jra.2022.150
บท
บทความวิจัย

References

กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น. (2548). คู่มือการปฏิบัติงานการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น. เข้าถึงได้จาก http://www.dla.go.th/work/planlocal.

กฤตวิทย์ สวัสดิ์มงคล (2551). บทบาทในการดูแลผู้สูงอายุขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองบัว อำเภอศรีนคร จังหวัดสุโขทัย. (การศึกษาอิสระรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2542). การวิเคราะห์สถิติ: สถิติเพื่อการตัดสินใจ. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์วิทยาลัย.

จังหวัดนครราชสีมา. (2562). รายงานผลการดำเนินงานตามประเด็นการพัฒนาจังหวัดนครราชสีมา. (อัดสำเนา).

ปริญญา ชูเลขา. (2554). รายได้และรายจ่ายผู้สูงอายุในประเทศไทย. (สารนิพนธ์เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

พระปิยวัฒน์ ปิยสีโล (จักรแต). (2554). การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาล ของเทศบาลเมืองแพร่ จังหวัดแพร่. (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มยุรี พงษ์นาค. (2555). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อระดับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี. วารสารคหเศรษฐศาสตร์, 56(3), 10-17.

สุธรรม นันทมงคลชัย และคณะ. (2553). ภาวะสุขภาพและความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองของผู้สูงอายุหญิงที่เลี้ยงหลานในเขตชนบทภาคเหนือของประเทศไทย. วารสารสาธารณสุขศาสตร์, 41(1), 29-37.