ผลกระทบของความเหลื่อมล้ำในการเข้าศึกษาต่อระดับอุดมศึกษาของนักเรียนไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความเหลื่อมล้ำในปัจจัยหลักที่มีส่วนต่อการเข้าศึกษาต่อระดับอุดมศึกษาของนักเรียนไทย และ 2) ศึกษาผลกระทบของความเหลื่อมล้ำต่อการเข้าศึกษาต่อระดับอุดมศึกษาของนักเรียนไทย โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการคัดเลือกกลุ่มเป้าหมายและการสัมภาษณ์เชิงลึกจากกรณีศึกษานักเรียนในกรุงเทพมหานครและต่างจังหวัดที่มีความเป็นตัวแทนจำนวน 12 คน และวิเคราะห์ผ่านทฤษฎีความเหลื่อมล้ำในสำนักคิดแนวสมรรถภาพมนุษย์ ผลการวิจัย พบว่า 1) ความเหลื่อมล้ำในการเข้าศึกษาต่อระดับอุดมศึกษาของนักเรียนไทยประกอบด้วยปัจจัยหลักความเหลื่อมล้ำที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ 1.1) ด้านทุนทางเศรษฐกิจ 1.2) ด้านทุนทางสังคม 1.3) ด้านสถาบันการศึกษาขั้นพื้นฐานของรัฐหรือเอกชน และ 1.4) ด้านระบบการคัดเลือกเข้าศึกษาต่อระดับอุดมศึกษา และ 2) ผลกระทบของความเหลื่อมล้ำจากปัจจัยหลักได้กระทำการต่อนักเรียนในรูปแบบต่อเนื่องโดยได้กระทำการลิดรอนสมรรถภาพและลดทอนโอกาสในการศึกษาต่อระดับอุดมศึกษาโดยมีผลกระทบต่อโอกาสของนักเรียนสองด้าน ได้แก่ 2.1) โอกาสด้านการศึกษา 2.2) โอกาสด้านเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นผลให้นักเรียนขาดอิสรภาพทางโอกาสไปด้วยเหตุที่ไม่สามารถเข้าถึงการศึกษาต่อระดับอุดมศึกษาได้อย่างเท่าเทียมและเสมอภาค
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงพิมพ์กับวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นข้อคิดเห็น และความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิจยวิชาการ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่ง ส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อการกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวิจยวิชาการก่อนเท่านั้น
References
ชัยยุทธ ปัญญสวัสดิ์สุทธิ์. (2563). เหลื่อมล้ำในวัยเรียน: สองทศวรรษของความเหลื่อมล้ำทางคุณภาพการศึกษา และการจัดสรรทรัพยากรระดับพื้นที่ของประเทศไทย. (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ชาญชัย ฤทธิร่วม. (2562). วิเคราะห์ความเหลื่อมล้ำทางสังคมด้านการศึกษาของพลเมืองชายขอบ. วารสารวิชาการวิทยาลัยบริหารศาสตร์, 2(4), 49-60.
ดิเรก ปัทมสิริวัฒน์. (2558). ทุนมนุษย์ การเลือกอาชีพ และความเสี่ยงที่จะเป็นคนจน. วารสารเศรษฐศาสตร์และนโยบายสาธารณะ, 6(11), 38-60.
นิภาภรณ์ ธรรมสอนและสรบุศย์ รุ่งโรจน์สุวรรณ. (2560). การเรียนกวดวิชา:การบริโภคสัญญะของนักเรียนไทย. วารสาร MFU-Connection, 6(2), 127-158.
ปธาน สุวรรณมงคล. (2562). การสร้างความเป็นธรรม ลดความเหลื่อมล้ำในท้องถิ่น: ภารกิจที่ท้าทายองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. วารสารสถาบันพระปกเกล้า, 17(3), 135-154.
มัทยา บุตรงาม. (2555). ความสัมพันธ์ระหว่างความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาและความเหลื่อมล้ำทางรายได้ในประเทศไทย. (วิทยานิพนธ์เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต). คณะเศรษฐศาสตร์: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วินิจ ผาเจริญ, ภัทรชัย อุทาพันธ์, กรวิทย์ เกาะกลาง และสุรชัย พุดชู. (2564). ความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาของพลเมืองไทยวัยเรียนกับสถานการณ์การเรียนออนไลน์ในยุคไวรัสโควิด-19. วารสารปัญญาปณิธาน, 6(1), 1-14.
วิโรจน์ ณ ระนอง และคณะ. (2560). โครงการทบทวนตัวชี้วัดศักยภาพชุมชนเพื่อการติดตามยุทธศาสตร์การสร้างความเป็นธรรมและลดความเหลื่อมล้ำในสังคมภายใต้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12. (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.
สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (2563). โครงการศึกษาวิจัยประเด็นนโยบายเชิงลึกด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนและสังคมไทยภายใต้บริบทการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมและการเปลี่ยนแปลงในโลกยุคใหม่หลังวิกฤติเศรษฐกิจ. เข้าถึงได้จาก http://social.nesdb.go.th/
สฤณี อาชวานันทกุล. (2554). ความเหลื่อมล้ำฉบับพกพา. กรุงเทพฯ: เปนไทพับลิชชิ่ง.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2557). รายงานการวิเคราะห์สถานการณ์ความยากจนและความเหลื่อมล้ำในประเทศไทย. เข้าถึงได้จาก http:// social.nesdb.go.th/
สิทธิพร ประวัติรุ่งเรือง. (2556). สิทธิมนุษยชนทางด้านการศึกษาของเด็กไร้สัญชาติ. กรุงเทพฯ: สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ.
สุริยานนท์ พลสิม. (2563). แนวคิดและทฤษฎีการศึกษานโยบายสังคม. ขอนแก่น: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
อรอนงค์ ทวีปรีดา. (2559). การกระจายและความเท่าเทียมของโอกาสทางการศึกษาและบทบาทการใช้จ่ายของภาครัฐ. (วิทยานิพนธ์เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต). คณะเศรษฐศาสตร์: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
Sandel, M.J. (2014). Justice: what's the right thing to do. Bangkok: Open Worlds.