แรงจูงใจที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของฝ่ายปกครองอำเภอท่าวุ้ง จังหวัดลพบุรี

Main Article Content

นิลวรรณ บุญสันต์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน 2) ศึกษาระดับประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน และ 3) ศึกษาแรงจูงใจที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของฝ่ายปกครองอำเภอท่าวุ้ง จังหวัดลพบุรี เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ คำนวณขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตร Taro Yamane ได้ 207 คน จากประชากร จำนวน 428 คน เครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม ค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่างข้อคำถามกับวัตถุประสงค์การวิจัย .906 ค่าสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาคเท่ากับ .955 สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุคูณ โดยมีแรงจูงใจในการปฏิบัติงานเป็นตัวแปรอิสระ และประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานเป็นตัวแปรตาม ผลการวิจัย พบว่า 1) แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของฝ่ายปกครองอำเภอท่าวุ้ง จังหวัดลพบุรี ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านความสำเร็จในการทำงาน ด้านการได้รับการยอมรับนับถือ ด้านความรับผิดชอบในงาน ด้านลักษณะของงานที่สร้างสรรค์และท้าทาย และด้านความก้าวหน้าในอาชีพอยู่ในระดับมาก ตามลำดับ 2) ประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของของฝ่ายปกครองอำเภอท่าวุ้ง จังหวัดลพบุรีในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านความประหยัดความคุ้มค่าในการใช้ทรัพยากร ด้านคุณภาพงาน ด้านเวลาที่งานสำเร็จทันการณ์ และด้านปริมาณงานอยู่ในระดับมากตามลำดับ และ 3) ผลการวิเคราะห์ถดถอยพหุของแรงจูงใจที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของฝ่ายปกครองอำเภอท่าวุ้ง จังหวัดลพบุรีโดยมีแรงจูงใจในการปฏิบัติงานด้านความสำเร็จในการทำงาน ด้านการได้รับการยอมรับนับถือ ด้านความรับผิดชอบในงาน และด้านความก้าวหน้าในอาชีพเป็นแรงจูงใจที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพ ในการปฏิบัติงานของฝ่ายปกครองอำเภอท่าวุ้ง จังหวัดลพบุรี เขียนเป็นสมการได้ดังนี้ ประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของฝ่ายปกครองอำเภอท่าวุ้ง จังหวัดลพบุรี = .667 โดยมีความสามารถในการทำนายความมีประสิทธิภาพ  = 66.90 %  (R2)

Article Details

How to Cite
Boonsan ์. (2022). แรงจูงใจที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของฝ่ายปกครองอำเภอท่าวุ้ง จังหวัดลพบุรี. วารสารวิจยวิชาการ, 5(6), 99–110. https://doi.org/10.14456/jra.2022.138
บท
บทความวิจัย

References

กรมการปกครอง. (2562). อำนาจหน้าที่. เข้าถึงได้จาก https://www.dopa.go.th /info_ organ /about6/topic30

เกศณรินทร์ งามเลิศ. (2559). แรงจูงใจที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานและลูกจ้างองค์การคลังสินค้า. (การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

ชรัลชิดา ชินคำ. (2560). แรงจูงใจที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานระบบบัญชีคอมพิวเตอร์ขององค์การบริหารส่วนตำบลในเขตจังหวัดอุดรธานี. วารสารบัณฑิตศึกษา มหา วิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 10(1), 54-64.

ชาคริต ขันตี. (2562). ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของข้าราชการและบุคลากรกรุงเทพมหานครกรณีศึกษาสำนักงานระบบควบคุมน้ำสำนักการระบายน้ำ. (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ที่ทำการปกครองอำเภอท่าวุ้ง. (2564). แผนพัฒนาอำเภอ 5 ปี (พ.ศ.2561-2565) ฉบับทบทวนปี พ.ศ. 2564 อำเภอท่าวุ้ง จังหวัดลพบุรี. (อัดสำเนา).

นราศรี ไววนิชกุล. (2552). ระเบียบวิธีวิจัยธุรกิจ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ปัญญาพร ฐิติพงศ์. (2558). แรงจูงใจที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรในบริษัทก่อสร้าง: กรณีศึกษาบริษัทอินเตอร์เอ็กซ์เพิร์ทคอนสตรัคชั่นจำกัด. (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ปิยวรรณ บรรพชาติ. (2563). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของข้าราชการในสำนักงานที่ดินกรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). บัณฑิตวิทยาลัย: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Best, J. W. (1981). Research in Education. (4th ed.). New Jersey: Prentice-Hall Inc.