พุทธวิธีการจัดการเวลาในยุคนิวนอร์มัล
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบที่เปลี่ยนไปของการใช้ชีวิตและการทำงานในสถานการณ์ใหม่ที่ไม่คุ้นชิน การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการจัดการเวลาให้เกิดความเหมาะสมโดยอาศัยหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา พบว่า การจัดการเวลาที่จะส่งผลไปถึงการจัดการตนเอง ต้องมีการเผื่อเวลา โดยการจัดสรรเวลาอย่างไม่ประมาท ไม่ขาดสติ เกิดสมาธิ ใช้โยนิโสมนสิการ เพื่อการวางแผนในการทำงานหรือกิจกรรมอย่างยืดหยุ่น ต้องใช้เวลาในการศึกษาหาความรู้เพื่อพัฒนาตนเอง ตามหลักปัญญา 3 โดยเฉพาะภาวนามยปัญญา ให้สามารถแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้ เป็นการสร้างความคุ้นเคยกับการพึ่งพาตนเอง ต้องจัดสรรเวลาตามหลักมัชฌิมาปฏิปทา เพื่อสร้างสมดุลให้เกิดขึ้นระหว่างการใช้ชีวิต การทำงาน การพักผ่อน ให้มีความเหมาะสมต่อบุคคล เพื่อไม่ให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพกายและใจ และการปรับเวลาให้มีความเหมาะสม ด้วยการยอมรับความเปลี่ยนแปลงของเวลาซึ่งเป็นอนิจจตา ความไม่แน่นอนของสถานการณ์ที่ไม่อาจคาดเดาได้ เพื่อให้งานและกิจกรรมสามารถดำเนินได้อย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้การจัดการเวลาจะนำไปสู่การจัดการตนเอง
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงพิมพ์กับวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นข้อคิดเห็น และความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิจยวิชาการ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่ง ส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อการกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวิจยวิชาการก่อนเท่านั้น
References
กรุงเทพธุรกิจออนไลน์. (2563). New Normal คืออะไร? เมื่อโควิด-19 ผลักเราสู่ชีวิต ปกติวิถีใหม่. เข้าถึงได้จาก https://www.bangkokbiznews.com/lifestyle/882508
กิตติพงษ์ เรือนทิพย์, จารุวัลย์ เหล่าสัมฤทธิ์ และพัชรพจน์ นันทรามาศ. (2563). เจาะพฤติกรรมการท่องเที่ยวใน New Normal: เมื่อโควิดทำชีวิตเปลี่ยน. เข้าถึงได้จาก https:// krungthai.com/th/financial-partner/economy-resources/business-digest
เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2545). บริหารเวลาเพื่อความสำเร็จ. กรุงเทพฯ: ซัคเซสมีเดีย.
ธวัชชัย พืชผล. (2553). เวลาคือโชค. กรุงเทพฯ: Dดี.
ธิติวัฒน์ ศรีประสารน์. (2564). การปฏิบัติตัวเมื่อจำเป็นต้องมาโรงพยาบาลในช่วงโควิด-19. เข้าถึงได้จาก https://chulalongkornhospital.go.th/kcmh/line/.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2559). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. (พิมพ์ครั้งที่ 34). กรุงเทพฯ: มูลนิธิการศึกษาเพื่อสันติภาพพระธรรมปิฎก.
พัชรี แช่มช้อย. (2560). การบริหารเวลาเชิงพุทธบูรณาการ. (ดุษฎีนิพนธ์ศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพุทธศาสน์ศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย.
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกฉบับภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ราชบัณฑิตยสถาน. (2556). พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2556. กรุงเทพฯ: บริษัท นานมีบุ๊คส์ พับลิเคชั่นส์.
ราชบัณฑิตยสภา. (2563). ระบบฐานข้อมูลคำทับศัพท์ของสำนักงานราชบัณฑิตยสภา. เข้าถึงได้จาก https://transliteration.orst.go.th/search.
สุรีพร พึ่งพุทธคุณ. (2549). การบริหารจัดการเวลา (Time Management). กรุงเทพฯ: เอ็กซ์เปอร์เน็ท.