การวางแผนผังของวัดฝ่ายอรัญวาสีในสังคมไทย

Main Article Content

พระครูชยพัฒนาทร (ใน สุนฺทโร)
สามารถ สุขุปราการ
วัฒนะ กัลยาณ์พัฒนกุล

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาประวัติ และพัฒนาการของวัดในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท 2) ศึกษาการวางแผนผังของวัดฝ่ายอรัญวาสีในสังคมไทย และ 3) วิเคราะห์แนวทางการวางแผนผังของวัดฝ่ายอรัญวาสีในสังคมไทย เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยวิธีการวิเคราะห์เชิงพรรณนา เกี่ยวกับวัดที่ปรากฏในคัมภีร์พระไตรปิฎก คัมภีร์อรรถกถา คัมภีร์วิสุทธมรรค รวมถึงงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำเสนอแนวทางการวางแผนผังของวัดฝ่ายอรัญวาสีในสังคมไทย ผลการวิจัย พบว่า 1) จากที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาตอารามแล้วพระเจ้าพิมพิสารจึงถวายสวนป่าไผ่ คือวัดเวฬุวัน ต่อมามีผู้ศรัทธาสร้างวิหารถวายภายในวัดเวฬุวัน พัฒนาการของวัดก็ยิ่งมีมากขึ้นโดยที่อนาถบิณฑิกเศรษฐีสร้างเสนาสนะมากมายถวายในวัดเชตวัน และรวมถึงปราสาทขนาดใหญ่ในวัดบุพพาราม ของนางวิสาขามหาอุบาสิกาอีกด้วย 2) วัดฝ่ายอรัญวาสี ทั้งฝ่ายมหานิกาย และฝ่ายธรรมยุต นิยมตั้งอยู่ในบริเวณที่เป็นป่าเขา ไม่มีแผนผังตายตัวในการสร้างวัด แต่นิยมการอยู่อย่างกลมกลืนกับธรรมชาติ เสนาสนะส่วนใหญ่มีเพียงศาลาอเนกประสงค์ ซึ่งใช้เป็นโบสถ์ เป็นศาลา ในที่เดียวกัน มีกุฏิกรรมฐาน มีห้องน้ำ เป็นต้น 3) แนวทางการวางแผนผังของวัดฝ่ายอรัญวาสี ควรเว้นจากอสัปปายะ แต่ควรใช้แนวทางของสัปปายะ 7 ซึ่งหมายถึงการสร้างวัดในลักษณะที่เอื้อสภาวะที่เกื้อหนุน สถานที่หรือบุคคลซึ่งเป็นที่สบายเหมาะกันเกื้อกูลกันโดยเฉพาะที่จะช่วยเกื้อหนุนการปฏิบัติธรรมบําเพ็ญภาวนา

Article Details

How to Cite
พระครูชยพัฒนาทร (ใน สุนฺทโร), สุขุปราการ ส. ., & กัลยาณ์พัฒนกุล ว. . (2023). การวางแผนผังของวัดฝ่ายอรัญวาสีในสังคมไทย . วารสารวิจยวิชาการ, 6(1), 1–14. https://doi.org/10.14456/jra.2023.1
บท
บทความวิจัย

References

พระครูสันติธรรมาภิรัต (บุญชัย สนฺติกโร). (2557). ศาสนสถานแหล่งท่องเที่ยวในพระพุทธศาสนา. วารสารวิทยาลัยนครราชสีมา, 8(1), 89-96.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2552). พุทธธรรม. (พิมพ์ครั้งที่ 11). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระพุทธโฆสเถระ. (2560). คัมภีร์วิสุทธิมรรค. สมเด็จพระพุฒาจารย์ (อาจ อาสภมหาเถร) แปลและเรียบเรียง. (พิมพ์ครั้งที่ 12). กรุงเทพฯ: บริษัท ธนาเพรส จำกัด.

พระราชรัตนมุนี (ชัยวัฒน์ ปญฺญาสิริ). (2538). การจัดสาธารณูปการและสาธารณะสงเคราะห์ของวัด. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์การศาสนา.

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สุนทร ณ รังสี. (2539). การปกครองคณะสงฆ์: อดีต ปัจจุบัน อนาคต. วารสารพุทธศาสน์ศึกษา, 3(3), 6-15.