แนวทางการอนุรักษ์โบราณสถานทางพระพุทธศาสนาของพระสังฆาธิการ ในจังหวัดสุพรรณบุรี

Main Article Content

พระครูสิทธิปัญญากร (ทองลอย ธนปญฺโญ)
สามารถ สุขุปราการ
วัฒนะ กัลยาณ์พัฒนกุล

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาประวัติ และความสำคัญของโบราณสถานทางพระพุทธศาสนา 2) ศึกษาสภาพปัจจุบันของการอนุรักษ์โบราณสถานทางพระพุทธศาสนาในจังหวัดสุพรรณบุรี และ 3) เสนอแนวทางการอนุรักษ์โบราณสถานทางพระพุทธศาสนาของพระสังฆาธิการในจังหวัดสุพรรณบุรี โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ โดยทำการวิจัยเชิงเอกสาร และการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ให้ข้อมูลสำคัญที่ถูกเลือกแบบเจาะจงจากผู้ที่มีคุณลักษณะสอดคล้องกับสาระสำคัญของการวิจัย จำนวน 15 รูป/คน ใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 1) โบราณสถานทางพระพุทธศาสนา เป็นสถานที่หรือสิ่งก่อสร้างที่ที่พบร่องรอยของกิจกรรมของมนุษย์ในอดีตที่มีคุณค่าในทางพระพุทธศาสนา พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถานกล่าวไว้ว่า โบราณสถานหมายถึงสิ่งที่เคลื่อนที่ไม่ได้ เช่น พระพุทธรูป เจดีย์ โบสถ์ วิหาร สถานที่อันเกี่ยวข้องทางพระพุทธศาสนา ที่มีอายุเกินกว่า 100 ปี โบราณสถานทางพระพุทธศาสนาเป็นมรดกวัฒนธรรมในทางพระพุทธศาสนาที่สูงค่า เป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่นที่แสดงให้เห็นถึงประวัติความเป็นมา ความเชื่อ ศาสนา ขนบธรรมเนียมประเพณี และความเจริญรุ่งเรืองของชุมชนใดชุมชนหนึ่งรวมไปถึงของชาติ 2) สภาพปัจจุบันของการอนุรักษ์โบราณสถานทางพระพุทธศาสนาในจังหวัดสุพรรณบุรี พระสังฆาธิการควรเน้นในด้านการปลูกฝังจิตสำนึกของชุมชนในท้องถิ่นให้รู้จักรักษาโบราณสถานทางพระพุทธศาสนา ไม่ให้ขุดทำลายหลักฐานสำคัญทางประวัติศาสตร์ให้เกิดความเสียหาย วัดที่มีโบราณสถานทางพระพุทธศาสนา ควรดูแลรักษาไม่ให้ทรุดโทรม ไม่ก่อสร้างอาคารอื่นในบริเวณโบราณสถาน ซึ่งอาจมีผลให้โบราณสถานเกิดความเสียหายได้ และ 3) พระสังฆาธิการในจังหวัดสุพรรณบุรี พึงมีบทบาทในการเสริมสร้างศักยภาพในการอนุรักษ์โบราณสถานทางพระพุทธศาสนา อย่างเป็นรูปธรรม พระสังฆาธิการในจังหวัดสุพรรณบุรี ควรเน้นในด้านการปลูกฝังจิตสำนึกของชุมชนในท้องถิ่นให้รู้จักรักษาโบราณสถานทางพระพุทธศาสนา พระสังฆาธิการในจังหวัดสุพรรณบุรี ควรประสานกับหน่วยงานราชการที่รับผิดชอบโบราณสถานทางพระพุทธศาสนาโดยตรง ซึ่งมีบทบาทในการจัดทำแผนแม่บทเพื่อการอนุรักษ์โบราณสถานทางพระพุทธศาสนา

Article Details

How to Cite
พระครูสิทธิปัญญากร (ทองลอย ธนปญฺโญ), สุขุปราการ ส. ., & กัลยาณ์พัฒนกุล ว. . (2023). แนวทางการอนุรักษ์โบราณสถานทางพระพุทธศาสนาของพระสังฆาธิการ ในจังหวัดสุพรรณบุรี . วารสารวิจยวิชาการ, 6(1), 15–28. https://doi.org/10.14456/jra.2023.2
บท
บทความวิจัย

References

กรมศิลปากร สำนักโบราณคดี. (2547). คู่มือการปฏิบัติงานการดูแลรักษาโบราณสถาน. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น.

กรมศิลปากร. (2538). แนวทางการจัดการโบราณสถานในบัญชีมรดกทางวัฒนธรรมของโลก. กรุงเทพฯ: บริษัท สำนักพิมพ์สัมพันธ์ จำกัด.

กรมศิลปากร. (2544). พระราชบัญญัติโบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และพิพิธภัณฑสถาน แห่งชาติ พ.ศ. 2504 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 พร้อมด้วยกฎหมายที่เกี่ยวข้อง. (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: บริษัทสำนักพิมพ์สัมพันธ์ จำกัด.

กรมศิลปากร. (2555). แนวทางการอนุรักษ์โบราณสถานสำหรับพระสงฆ์. กรุงเทพฯ: อัมรินทร์ พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด มหาชน.

กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย. (2555). มาตรฐานการดูแลโบราณสถาน. กรุงเทพฯ: สำนักมาตรฐานการบริหารงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น.

ชูศักดิ์ แซ่เอี๊ยะ และคณะ. (2532). การศึกษาพฤติกรรมของพระสงฆ์ที่เกี่ยวข้องกับหลักฐาน โบราณคดี. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

นิลรัตน์ กลิ่นจันทร์์ และคณะ. (2552). ศึกษาศาสนสถานที่สำคัญต่อการอนุรักษ์การท่องเที่ยวของวัดในกรุงเทพมหานคร. (รายงานการวิจัย). คณะมนุษยศาสตร์: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระมหาสำราญ ฐานุตฺตโม (ประเสริฐซึ้ง). (2562). การจัดการวัดให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม จังหวัดสมุทรสงคราม. (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

วีระ เปล่งรัศมี. (2543). บทบาทของพระสงฆ์ต่อการอนุรักษ์โบราณสถานในจังหวัดเชียงราย. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

สุรสวัสดิ์ สุขสวัสดิ์. (2539). ปัญหาการอนุรักษ์โบราณสถาน และวัดในจังหวัดเชียงใหม่. (รายงานการวิจัย). เชียงใหม่: คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.