ปัจจัยความสำเร็จในการจัดการธุรกิจออนไลน์ในวิถีความปกติใหม่
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความสำเร็จในการจัดการธุรกิจออนไลน์ ในวิถีความปกติใหม่ และ 2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยในการจัดการธุรกิจออนไลน์กับความสำเร็จในการจัดการธุรกิจออนไลน์ ในวิถีความปกติใหม่ ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยมีกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้ประกอบการธุรกิจค้าปลีกออนไลน์ที่จำหน่ายสินค้าออนไลน์ จำนวน 400 คน ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบไม่ใช้ความน่าจะเป็นโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง และกำหนดขนาดตัวอย่างด้วยการใช้ตารางกำหนดขนาดตัวอย่างของทาโรยามาเน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการใช้แบบสอบถามที่มีความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ได้ค่า IOC เท่ากับ .985 และค่าความเชื่อมั่นโดยใช้สูตรการหาค่าสัมประสิทธิ์ของครอนบาค .963 และส่งให้กลุ่มตัวอย่างตอบแบบสอบถาม โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป Google Form เมื่อได้รับแบบสอบถามที่ผ่านการตรวจสอบความสมบูรณ์แล้วจะวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมทางสถิติประกอบด้วย ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัย พบว่า 1) ความสำเร็จในการจัดการธุรกิจออนไลน์ ในวิถีความปกติใหม่ มุมมองทั้ง 4 ด้าน มีค่าเฉลี่ยรวมเท่ากับ 3.94 อยู่ในระดับมาก และเมื่อแยกเป็นรายด้าน พบว่า มุมมองด้านการเรียนรู้และพัฒนา มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมาเป็นมุมมองด้านกระบวนการภายใน มุมมองด้านลูกค้า และมุมมองด้านการเงิน ตามลำดับ และ 2) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยในการจัดการธุรกิจออนไลน์กับความสำเร็จในการจัดการธุรกิจออนไลน์ ในวิถีความปกติใหม่ พบว่า จำนวนของผู้ติดตามในธุรกิจออนไลน์ มีความสัมพันธ์ต่ำมากหรือแทบไม่มีความสัมพันธ์กับความสำเร็จในการจัดการธุรกิจออนไลน์ ในวิถีความปกติใหม่ (New Normal) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงพิมพ์กับวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นข้อคิดเห็น และความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิจยวิชาการ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่ง ส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อการกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวิจยวิชาการก่อนเท่านั้น
References
กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม. (2560). การกำหนดตัวชี้วัดความสำเร็จของฝ่ายขาย. เข้าถึงได้จาก https://bsc.dip.go.th/th/category/2017-10-27-07-51-56/2017-12-08-02-01-08.
จิดาภา แจ่มจันทร์ชนก. (2554). ปัจจัยสู่ความสำเร็จของผู้ประกอบการค้าปลีกเสื้อผ้าผู้หญิงในตลาดนัดสวนจตุจักร. (สารนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการตลาด). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ชัยนาท ชัยมะลิ และสืบชาติ อันทะไช. (2564). ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในจังหวัดอุดรธานี. วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 11(1), 14-28.
ชุติมา หวังเบ็ญหมัด และธนัชชา บินดุเหล็ม. (2555). ปัจจัยแห่งความสำเร็จของการประกอบการธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ในอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา. วารสารวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี, 1(1), 109-123.
ธนกฤต เงินอินต๊ะ, ประทานพร จันทร์อินทร์ และแคทลียา ชาปะวัง. (2563). ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารการตลาดออนไลน์กับความสำเร็จของการตลาดออนไลน์ของธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทย. วารสารการบัญชีและการจัดการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 12(2), 26-36.
ภิญญาพัชญ์ มุณีแก้ว และคณะ. (2563). ใช้หลักการของการวัดผลการดำเนินงานแบบสมดุลในการประเมินความสำเร็จของการส่งเสริมการท่องเที่ยว. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี, 14(3), 735-751.
สมทบ แก้วเชื้อ, บัณฑิต ผังนิรันดร์ และธนพล ก่อฐานะ. (2562). ปัจจัยแห่งความสำเร็จของผู้ประกอบการธุรกิจออนไลน์ในยุคดิจิทัล. วารสารวิชาการเทคโนโลยีอุตสาหกรรม, 15(2), 33-44.
สวลี วงศ์ไชยา. (2560). อิทธิพลกลยุทธ์ธุรกิจและคุณลักษณะของผู้ประกอบการที่ส่งผลต่อความสำเร็จของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs). (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). คณะบริหารศาสตร์: มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.
สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.). (2564). รายงานสถานการณ์วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ปี 2564. เข้าถึงได้จาก https://www.sme.go.th/upload /mod_download/download-20210825103300.pdf
SMEONE. (2563). 8 เหตุผล “SME” สำคัญกับระบบเศรษฐกิจประเทศไทยอย่างไร. เข้าถึงได้จาก https://www.smeone.info/posts/view/284.
Kaplan, R.S. & Norton, D.P. (1996). Using the Balanced Scorecard as a Strategic Management System. Harvard Business Review, 74(1), 75-85.