รูปแบบการบริหารการส่งเสริมด้านศิลปวัฒนธรรมไทยของผู้บริหารโรงเรียน ขยายโอกาสทางการศึกษา ตามหลักฆราวาสธรรม 4

Main Article Content

วิทวัส ศาสกุล
พระราชวชิรเมธี (วีระ วรปญฺโญ)
วรกฤต เถื่อนช้าง

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการบริหารการส่งเสริมด้านศิลป วัฒนธรรมไทย 2) สร้างรูปแบบการบริหารการส่งเสริมด้านศิลปวัฒนธรรมไทย และ 3) ประเมินรูปแบบการบริหารการส่งเสริมด้านศิลปวัฒนธรรมไทยของผู้บริหารโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา ตามหลักฆราวาสธรรม 4 เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพภาคสนาม โดยใช้แบบสัมภาษณ์กับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 25 คน การสนทนากลุ่มโดยผู้เชี่ยวชาญจำนวน 8 รูป/คน ประเมินรูปแบบโดยผู้เชี่ยวชาญจำนวน 15 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ผลการวิจัย พบว่า 1) สภาพการบริหารการส่งเสริมด้านศิลปวัฒนธรรมไทย ด้านการวิจัยและพัฒนาศิลปวัฒนธรรม สภาพทั่วไปมีการประชุมปรึกษาระดมความคิดเห็นแนวทางพัฒนา ด้านการอนุรักษ์และฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรม ผู้บริหารสถานศึกษา ส่งเสริมให้มีบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับศิลปวัฒนธรรมไทยในสถานศึกษาอย่างเป็นระบบ ด้านการเผยแพร่และถ่ายทอดศิลปวัฒนธรรม ผู้บริหารส่งเสริมให้มีการยกย่องเชิดชูเกียรติครู นักเรียน และบุคคลในชุมชนที่ช่วยส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม ด้านการเฝ้าระวังศิลปวัฒนธรรม ผู้บริหารมีการรณรงค์ให้ความรู้แก่ชุมชนเพื่อตระหนักรู้ถึงปัญหาและผลกระทบทางศิลปวัฒนธรรมต่างชาติที่มีต่อสถานศึกษา 2) ผลการสร้างรูปแบบการบริหารการส่งเสริมด้านศิลปวัฒนธรรมไทย ตามหลักฆราวาสธรรม 4 พบว่า ด้านการวิจัยและพัฒนาศิลปวัฒนธรรม มี 9 รูปแบบ ด้านการอนุรักษ์และฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรม มี 9 รูปแบบ ด้านการเผยแพร่และถ่ายทอดศิลปวัฒนธรรม มี 8 รูปแบบ ด้านการเฝ้าระวังศิลปวัฒนธรรม มี 13 รูปแบบ และ 3) ผลการประเมินรูปแบบการบริหารการส่งเสริมด้านศิลปวัฒนธรรมไทยทุกด้าน มีความถูกต้อง ร้อยละ 98.33 อยู่ในระดับดีมาก ความเหมาะสมร้อยละ 100 อยู่ในระดับดีมาก ความเป็นไปได้ในการปฏิบัติ ร้อยละ 97.49 อยู่ในระดับดีมาก ประโยชน์ ร้อยละ 91.16 อยู่ในระดับดีมาก

Article Details

How to Cite
ศาสกุล ว. ., พระราชวชิรเมธี (วีระ วรปญฺโญ), & เถื่อนช้าง ว. . (2023). รูปแบบการบริหารการส่งเสริมด้านศิลปวัฒนธรรมไทยของผู้บริหารโรงเรียน ขยายโอกาสทางการศึกษา ตามหลักฆราวาสธรรม 4. วารสารวิจยวิชาการ, 6(3), 215–228. https://doi.org/10.14456/jra.2023.65
บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2554). แผนพัฒนาการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2555-2559). กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.

ปรีดา เหลือบแล, นงลักษณ์ ใจฉลาด และอนันต์ นามทองต้น. (2557). แนวทางการส่งเสริมการดำเนินงานด้านวัฒนธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา จังหวัดตาก.วารสารวิชาการเครือข่ายบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ, 4(6), 28-40.

ปวีณา ผาแสง. (2558). กระบวนการเรียนรู้และการมีส่วนร่วมของชุมชนเพื่อการอนุรักษ์ สืบสานศิลปวัฒนธรรมพื้นถิ่นน่าน: กรณีศึกษา ตำบลดู่ใต้ อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน. (รายงานการวิจัย). สถาบันวิทยาลัยชุมชน: วิทยาลัยชุมชนน่าน.

พระมหายศวิภรณ์ เปมสีโล (ตั้งคำ) และคณะ. (2561). การบูรณาการหลักฆราวาสธรรมกับการปฏิบัติตนของครอบครัวไทย ยุคไทยแลนด์ 4.0. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 3(2), 31-44.

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทยฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มัณฑริกา วิฑูรชาติ. (2551). การพัฒนากลยุทธ์การบริหารสถานศึกษาเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนการสอน ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของสถานศึกษาเอกชนขั้นพื้นฐาน ช่วงชั้นที่ 1-2 ในเขตกรุงเทพมหานคร.(ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษาและภาวะผู้นำ). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 2. (2563). แผนปฏิบัติการประจำปี 2563. (อัดสำเนา).

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2551). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: คุรุสภา.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2553). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ. (2552). คู่มือศูนย์วัฒนธรรมในสถานศึกษา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.